รู้จักกับ Public Domain คอนเทนต์ รูป หรือวิดีโอ ที่เอาไปใช้ได้ฟรี

เมื่อเราทำงานในสายคอนเทนต์ เรื่องของ License หรือ Permission ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เราต้องรู้ไว้อย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะทุกชิ้นงานล้วนแต่มีลิขสิทธ์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ บทความ หรือแม้กระทั่งตัวอักษร ซึ่งสัญญาการอนุญาตนำไปใช้ก็จะแตกต่างกัน ทำให้เราต้องคอยระวังให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจจะโดนฟ้องหรือเสียเงินได้

เราน่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าผลงานทุกอย่างมีลิขสิทธ์ิซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการสรรค์สร้างผลงานนั้น ๆ โดยไม่ต้องไปจดทะเบียนอะไรแต่อย่างใด ดังนั้นงานทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจ้าของว่าจะให้เอาไปใช้อะไรได้บ้าง ก็จะมีรูปแบบคอนเทนต์รูปแบบนึงที่เราเรียกว่า Public Domain หรือว่าสมบัติสาธรณะ ซึ่งหมายความว่า ผลงานชิ้นนั้น ๆ เจ้าของได้ยกตัวอย่างให้เป็นของสังคม คนทั่วไป สามารถเอาไปใช้ได้ตามที่ต้องการ โดยที่ไม่ต้องขอหรือแจ้งให้ทราบ

แล้วงานอะไรบ้างที่เป็น Public Domain

สำหรับงาน Public Domain นั้นขึ้นอยู่กับการประกาศของเจ้าของว่าให้งานชิ้นนี้เป็น Public Domain ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Elon Musk ได้ประกาศให้ภาพถ่าย และ Footage ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของ SpaceX บริษัทอวกาศส่วนตัวของ Elon Musk เป็น Public Domain นั่นหมายความว่าคอนเทนต์ของ SpaceX สามารถนำไปทำซ้ำ อัพโหลดใหม่ หรือนำไปใช้ทำการค้าเช่นเอาไปสกรีนเสื้อได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย เพราะจริง ๆ แล้วถ้าไม่ประกาศว่าเป็น Public domain ถ้าเราเอามาใช้เราอาจจะถูกฟ้องได้ รวมถึงการเอามาเขียนข่าว ทำบทความต่าง ๆ ด้วย (จริง ๆ จะมีข้อยกเว้นเรื่องนี่ถ้าหากรูปถูกปล่อยออกมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการ PR หรืองานสำหรับ Press เอาไปลงต่าง ๆ)

อีกหนึ่งงาน Public Domain ที่โด่งดังที่สุดก็คืองานของ NASA ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปถ่าย ภาพของดวงดาวหรือกาแล็กซี่ต่าง ๆ ตรงนี้เป็น Public Domain เช่นกัน เนื่องจาก NASA เป็นหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่เผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน ดังนั้นงานของ NASA สามารถเอาไปใช้ได้ฟรี และเราเป็นคนไทยก็สามารถไปใช้ได้ฟรีเช่นกัน เพราะไม่จำกัดอยู่แค่พลเมืองของสหรัฐฯ

ดังนั้น ให้ลองนึกว่าถ้าเราเข้าเว็บ Stock Photo ต่าง ๆ แล้วเจองานของ SpaceX หรือ NASA ก็ให้รู้ไว้เลยว่าเป็นเพียงการเอาต้นฉบับมาปรับแต่งเท่านั้น ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้ สามารถไปหาภาพต้นฉบับมาปรับแต่งตามที่ตัวเองต้องการได้โดยไม่ต้องกลัวโดนฟ้อง

อีกอย่างก็คือข่าวสารต่าง ๆ ข้อเท็จจริง นับเป็น Public Domain เนื่องจากทุกคนเห็นพ้องต้องกัน และอีกอย่างที่น่าสนใจก็คือ งานที่เคยมีลิขสิทธิ์ แต่เจ้าของผลงานเสียชีวิตไปแล้วเป็นเวลา 50 ปี งานนั้นจะกลายเป็น Public Domain หรือสมบัติสาธรณะ ทำให้เราเห็นการนำภาพทางศิลปะสมัยก่อนมาใช้ค้าขายหรือทำซ้ำกันได้อย่างไม่ต้องกลัวว่าจะโดนฟ้อง

แม้จะเป็น Public Domain แต่ก็ต้องใช้อย่างมีมรรยาท เพื่อตัวเอง

ทีนี้เราอาจจะคิดว่า ดังนั้นถ้าเราเจองานที่เขียนว่าอันนี้เป็น Public Domain แปลว่าเราเอามาเป็นของตัวเองได้เลย ไม่ต้องให้เครดิตก็ได้ ถามว่าแบบนั้นใช่ไหม ก็ใช่ ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่อย่าลืมว่าเรายังคงมีบรรทัดฐานของสังคมเป็นกรอบที่คอยกำหนดอยู่ สมมติว่าเราเอาบทละครที่แต่งเมื่อ 300 ปีที่แล้วมา แต่งใหม่ แก้ใหม่ หรือเอามาแสดง อันนี้ก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไร เพราะทุกคนเข้าใจ แต่ถ้าสมมติว่าเราเอางานที่คนทำมาแล้วแต่มาบอกว่าเป็นผลงานใหม่ของตัวเองอันนี้ก็ไม่ควร และอาจจะโดนสังคมมองว่าแอบอ้างก็ได้ สุดท้ายเราก็จะดูไม่ดีอยู่ดี

สรุปก็คือเวลาที่เราเจองานที่ระบุไว้ว่าเป็น Public Domain เราสามารถเอามาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องขอลิขสิทธ์ิหรือไปบอกเจ้าของก่อน แต่อย่างไรก็ตามควรใช้อย่างมีมรรยาท และเป็นไปได้ก็ควรอ้างอิง เนื่องจากวัตถุประสงค์ของคนที่ปล่อยงานให้เป็น Public Domain ก็เพื่อต้องการให้คนกลุ่มมากได้เข้าถึงได้ การนำงานของผู้ผลิตมาใช้และยังช่วยบอกแหล่งที่มา อาจจะไม่ต้องถึงกับจริงจังเท่าข้อตกลงของงานลิขสิทธ์ิ แต่เราก็ช่วยเหลือเจ้าของเป็นการช่วยกระจายผลงานเพื่อให้งานที่เขาปล่อยออกมาเกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

 

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

 

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save