ส่องโอกาสใหม่ด้าน ‘เสียงดนตรี’ สำหรับแบรนด์
จากงาน AD ADDICT Unwrapped #4 LIA 2024 MELODIES OF BRANDS
โดย คุณศรัณย์ ภิญญรัตน์ Founder & CEO, Fangjai และคุณปัณณ์ ภูติมหาตมะ Business Head, Spotify – MediaDonuts Thailand
อุตสาหกรรมเพลงเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตยังไงบ้าง
จากในอดีตจนถึงปัจจุบัน นิสัยของคนมีการเปลี่ยนแปลง เช่น คนเลิกซื้อแผ่นซีดี และหันมาใช้ช่องทางสตรีมมิงแทน รวมถึงสมัยนี้จะเจอเพลงใหม่ ๆ ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งเราอาจจะไม่รู้ว่าเป็นเพลงของใคร แต่เพลงก็ติดหูของเรา
และถ้าเราย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ยากมากที่ศิลปินจะทำเพลงอะไรก็ได้แล้วจะแมส เทียบกับในปัจจุบันที่ศิลปินสามารถลงเพลง และติดต่อกับผู้ฟังได้ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยตรง
นอกจากผู้ฟังจะสามารถเข้าถึงเพลงได้ง่าย ศิลปินยังมีอิสระในการทำเพลงมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีใครฟัง ทำให้ในฝั่งผู้ฟังเองก็จะมีความหลากหลายในการเลือกฟังเพลงมากขึ้น
ส่องภาพรวมวงการ T-POP
ในปัจจุบันเทรนด์ T-POP มาแรง และมีผู้ฟังมากที่สุดใน Spotify ตามมาด้วย K-POP โดยแบรนด์ที่ต้องการมีส่วนร่วมสามารถเข้ามาสปอนเซอร์ในเพลย์ลิสต์นั้น ๆ ได้
ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้เข้าเพลย์ลิสต์ก็จะมี Banner ชื่อแบรนด์ขึ้น เช่น Sponsored by ซึ่งแบรนด์ก็จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการรับรู้ต่อวงการ T-POP
แบรนด์กับการเป็นส่วนหนึ่งของดนตรี
- Songwriting & Recording: แบรนด์สามารถทำ Storytelling ผ่านเนื้อเพลงได้ รวมถึงการทำ jingles ให้ติดหู
- Audio Production: สามารถใช้เพลงในการสร้างความทรงจำ รวมถึงเรียกความทรงจำให้มีความรู้สึก Nostalgia ประกอบกับการทำ Advertorial
- Distribution: สามารถใช้ Big Data เพื่อเผยแพร่สิ่งที่ต้องการสื่อสารอย่างแม่นยำ
- Artists Identity: แบรนด์ใช้ Brand Ambassador และ Influencer Marketing ร่วมกับเพลงได้
- Live Performances: แบรนด์สามารถเป็นสปอนเซอร์ผ่านรายการ หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ
- Music Community: การใช้ Community จากคนในวงการเพลงเพื่อสร้างเอนเกจ
วิธีการสร้างเอนเกจจากดนตรีสู่แบรนด์
- Spotify มีการสร้างเพลย์ลิสต์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ เช่น กาแฟพันธุ์ไทยมีเพลย์ลิสต์เป็นเพลงฟังสบาย สำหรับผู้ฟังที่กำลังดริปกาแฟได้เพลิดเพลินกับเพลง
- Fangjai มีการทำ CSR ร่วมกับแบรนด์เพื่อช่วยนักดนตรี: กาแฟ Amazon ได้ภาพลักษณ์ในการสนับสนุนศิลปิน และสามารถนำเพลงไปใช้ในร้านกาแฟ ซึ่งศิลปินก็จะได้เงินสนับสนุนในช่วงลำบากโควิด และร้านกาแฟก็ไม่ต้องเสียลิขสิทธิ์เปิดในร้านกาแฟ
แล้วทำไมคอนเสิร์ตต้องมีแบรนด์สนับสนุน
แน่นอนว่าแบรนด์จะต้องได้ Awareness และเอนเกจจากผู้ชมทุกคน แต่นอกจากนั้นผู้ชมจะได้ทดลองใช้แบรนด์จริง ๆ ในพื้นที่ของผู้คนที่แบรนด์เลือกให้เป็นกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ ซึ่งถ้าผู้ชมชอบสินค้า หรือบริการนั้น ๆ จะทำให้เกิดการย้อนกลับมาซื้อ หรือได้รับความสนใจมากขึ้นนั่นเอง
Insight ของสตรีมมิง
- จุดเริ่มต้นของ Spotify: ค่อนข้างเป็นคนเมืองเกือบ 100% แต่ในตอนนี้กำลังกระจายไปตามหัวเมืองต่าง ๆ มากขึ้น
- iOS และ Android: ผู้ใช้ iOS เป็นผู้ฟัง Spotify กว่า 60% ถึงจะเป็น Apple Users แต่ก็ยังเลือกใช้สตรีมมิงนี้
- การ Collaborate ระหว่าง Spotify กับแบรนด์: นอกจากจะทำให้เกิดเอนเกจเพิ่ม ยังทำให้วงการเพลงเติบโตยิ่งขึ้นอีกด้วย
- กำแพงของเพลงแต่ละประเภทเริ่มขยายบน Fangjai: โดยคำว่าแมส หรืออินดี้ เริ่มจางลง และผู้ฟังเริ่มเปลี่ยนการฟัง ซึ่งจะเลือกเพลงที่ชอบมากกว่าหมวดหมู่ของเพลง ทำให้มีความหลากหลายมากขึ้น
แบรนด์จะได้อะไรถ้าร่วมงานกับ Spotify
เพราะ Spotify มีข้อมูลจากหลากหลายประเทศ ทำให้แต่ละแบรนด์สามารถใช้ข้อมูล และนำเสนอแบรนด์ในหลากหลายประเทศ ไม่เพียงแต่ประเทศไทย รวมถึง Spotify ค่อนข้างมีระบบ Advertising ที่เสถียร และสามารถ Target เฉพาะผู้ฟังในแต่ละหมวดหมู่เพลงได้
แบรนด์จะได้อะไรถ้าร่วมงานกับ Fangjai
Fangjai ใกล้ชิดกับ Community ของผู้ผลิต และสามารถทำงานได้กับทุกค่าย แม้แต่ศิลปินตัวเล็ก ๆ รวมถึงแบรนด์สามารถสร้างแคมเปญได้ในแพลตฟอร์ม ทั้งออนไลน์ และออนไซต์ ตามทรัพยากรที่ Fangjai มีได้อีกด้วย