10 ทิปส์ง่าย ๆ เขียนแคปชันเฟซบุ๊กยังไงให้คนไม่เลื่อนผ่าน

ในการทำ Social Marketing มีหลากหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง การเขียนแคปชันเองก็นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ เพราะถือว่าเป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านการเขียนแคปชัน ซึ่งมีส่วนช่วยสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นนั่นเอง

สำหรับวันนี้เราจะพูดถึงแคปชันบนเฟซบุ๊ก ที่เป็นหนึ่งช่องทางโซเชียลมีเดียหลักสำหรับทั้งแบรนด์และครีเอเตอร์ โดยที่ทุกคนสามารถนำทิปส์ง่าย ๆ ที่เรากำลังจะบอกนี้ไปปรับใช้ในการเขียนแคปชัน เพื่อเสริมให้คอนเทนต์น่าสนใจมากยิ่งขึ้น จนคนต้องหยุดอ่าน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

ลองคิดในมุมมองผู้อ่าน

แทนที่จะคิดแต่ในสิ่งที่เราอยากจะนำเสนอออกไป ให้ลองคิดในมุมผู้อ่านว่าพวกเขาอยากรู้อะไร อยากได้อะไรจากการอ่านคอนเทนต์ของเราให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และเขียนคอนเทนต์ออกมาได้ตอบสนองความต้องการมากที่สุด

ระลึกไว้เสมอว่าเป้าหมายของการทำคอนเทนต์คือให้ประโยชน์และคุณค่าแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด

ใช้คีย์เวิร์ดและติดแฮชแท็ก

เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผลลัพธ์ในการค้นหาปรากฏมากขึ้น ควรใช้คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับบทความมาเป็นคีย์เวิร์ดทั้งใน Headline และในตัวแคปชันเอง และใช้แฮชแท็กเพื่อแท็กคำที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับเรื่องที่เขียน เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนค้นหาได้มากขึ้นนั่นเอง

ปล่อยฮุกตั้งแต่บรรทัดแรก

แน่นอนว่า Headline จะเป็นบรรทัดแรกที่ผู้อ่านเห็น เพราะฉะนั้นประโยคแรกถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยดึงให้ผู้อ่านอ่านบทความต่อจนจบได้ เปรียบเสมือนการปล่อยฮุกที่ดึงความสนใจผู้อ่านให้อยู่หมัด ให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้น สงสัย มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งที่เราต้องการจะบอกในต่อไป

อาจเริ่มจากการถามตัวเองว่า ผู้อ่านจะได้ประโยชน์อะไรจากการอ่านสิ่งนี้? และนำคำตอบนั้นมาช่วยในการตั้ง Headline เพื่อตอบคำถามหรือข้อสงสัยให้กับผู้อ่านตั้งแต่เริ่มนั่นเอง

คำแนะนำเพิ่มเติมคือ ก่อนจะเลือกหัวข้อพาดหัวที่น่าสนใจสักหนึ่งอัน ควรลิสต์จากหลาย ๆ อันเพื่อเปิดโอกาสให้ได้ลองใช้ความคิดสร้างสรรค์และเลือกอันที่เหมาะสมที่สุด ในการใช้งานจริงว่าสอดคล้องและสามารถดึงดูดผู้อ่านได้แค่ไหน

เนื้อหาครอบคลุมและตอบคำถามทุกประเด็น

แคปชันเป็นการเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้อ่าน บอกสิ่งที่ผู้อ่านสงสัยและต้องการหาคำตอบ สำหรับความยาวของคอนเทนต์นั้นขึ้นกับวัตุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และมาตรฐานของตัวเอง

แต่ที่สำคัญคือควรให้ความสำคัญกับประโยชน์และคุณค่าที่ส่งไปยังผู้อ่าน และสารจะต้องสามารถตอบปัญหาหรือคำถามให้กับผู้อ่านได้ทันที เมื่ออ่านจบผู้อ่านต้องได้ประโยชน์ หรือมีบทสรุปสำหรับประเด็นนั้น ๆ

ไม่หลงประเด็นที่ต้องการจะสื่อ

ชัดเจนในประเด็นที่ต้องการจะสื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้ แม้ว่ามีเรื่องที่ต้องการจะสื่อสารมากแค่ไหน แต่ต้องชัดเจนในประเด็นหลักที่ต้องการจะสื่อสารก่อนเสมอ เพราะหากเขียนทุกอย่างเยอะมากไป อาจทำให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลอย่างท่วมท้นเกินความจำเป็นก็ได้

ควรระบุวัตถุประสงค์ และแบ่งประเด็นสำคัญออกเป็นหัวข้อย่อยที่ยังคงอยู่ภายใต้เรื่องเดียวกันอยู่ หรือหากแบ่งประเด็นได้ออกมาเยอะมากก็อาจจะแบ่งไปทำอีกโพสต์นึงไปเลย

สามารถใช้วิธีการเขียนวัตถุประสงค์ในการเขียนออกมา, ทำ Mindmap เพื่อให้เห็นภาพในสิ่งที่ต้องการจะพูด หรือตัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับไอเดียหลัก เป็นต้น เพื่อช่วยลดทอนให้เหลือประเด็นสำคัญ และป้องกันการหลงประเด็น

ใช้ภาษาในระดับที่เหมาะสมกับผู้อ่าน

ผู้อ่านสามารถรับสารการอ่านได้ในระดับที่แตกต่างกันออกไป ควรจะรู้ระดับผู้อ่านของตัวเองเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้ปรับให้เข้ากับลักษณะการอ่าน และเข้าถึงผู้อ่านได้มากขึ้น สามารถสังเกตได้จาก Persona Profile ของผู้อ่าน ดูบุคลิกลักษณะว่าผู้อ่านของเราเป็นคนยังไง เพื่อปรับภาษา บทความคอนเทนต์ให้เข้ากับผู้อ่านมากขึ้น

เนื่องจากกลุ่มผู้อ่านนั้นแตกต่างกันออกไป กับบางกลุ่มการใช้ระดับภาษาที่เป็นทางการหรือคำศัพท์ทางเทคนิคต่าง ๆ ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการอ่าน กลับกันกับผู้อ่านบางกลุ่มที่มีแนวโน้มในการเปิดรับการใช้ระดับภาษาที่ธรรมดา เป็นกันเองมากกว่า

จัดพารากราฟให้กระชับและแยกประเด็นชัดเจน

การจัดหน้าพารากราฟในการเขียน นอกจากจะเป็นมิตรกับสายตา และช่วยให้สะดวกในการอ่านแล้ว ยังเป็นการช่วยแบ่งประเด็นย่อยออกอย่างเป็นระเบียบอีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงควรจัดพารากราฟให้สั้นกระชับ เพื่อผู้อ่านจะได้สามารถไล่สายตา จับประเด็นในแต่ละพารากราฟได้ดีกว่าพารากราฟที่ยาวเป็นพืด ความยาวของแต่ละพารากราฟที่แนะนำคือ 2-4 บรรทัด

คงความเป็นเอกลักษณ์ผ่านตัวอักษร

เอกลักษณ์ของเราจะถูกส่งผ่านการสื่อสาร แคปชันเองก็ถือเป็นอีกช่องทางที่สามารถใส่ความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองออกไปได้ การมีเอกลักษณ์หรือมีโทนเป็นของตัวเอง และใช้ในการสื่อสารเป็นประจำ จะทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการจดจำภาพของเราได้

แนะนำว่าในทุกประเด็นหรือบทความที่เขียน อย่าลืมใส่ความคิดเห็นหรือมุมมองของตัวเองลงไปบ้าง เพื่อแสดงให้เห็นทัศนคติหรือแนวคิดจากตัวเอง ที่จะสามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของเราได้นั่นเอง

ใส่ลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับบทความ

ไม่ว่าจะพูดหรือกล่าวถึงอะไรที่เกี่ยวข้องและสามารถเชื่อมโยงไปได้ ให้ใส่ลิงก์ทิ้งไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถกดเข้าไปดูได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น แถมยังเป็นการอ้างอิงแหล่งที่มา แสดงให้เห็นว่าข้อมูลครบถ้วนจบที่คอนเทนต์เดียวโดยที่ผู้อ่านไม่ต้องไปหาเพิ่มเองอีกด้วย

ใส่ Call-to-action

Call-to-action จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายสามารถติดตามช่องทางอื่น ๆ ของเราได้ง่ายขึ้น หรือถ้าเป็นแบรนด์ก็สามารถตามลิงก์ที่ทิ้งไว้เพื่อเข้าไปดดูรายละเอียด ซื้อสินค้าและบริการได้อย่างง่ายดาย แถมการใส่ CTA ไว้ท้ายบทความยังเป็นตัวย้ำให้เกิดการจดจำชื่อของเราในแต่ละแพลตฟอร์มได้อีกด้วย

ที่มา: Semrush Blog

 

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save