5 สเต็ป สร้าง ​Brand Community ที่ดีบนโซเชียลมีเดีย

วิธีการสร้าง Brand Community

Brand Community หมายถึง การที่มีกลุ่มเป้าหมายติดตามโซเชียลมีเดียของแบรนด์ และมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่แบรนด์โพสต์หรือแชร์อยู่เสมอ รวมถึงการสนับสนุนสิ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์ด้วยเช่นกัน

เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความภักดี หรือ Brand Loyalty ได้ดีมากที่สุดนั่นเอง เนื่องจากผู้คนในคอมมูนิตี้ไม่เพียงแต่ซื้อสินค้าและบริการจากแบรนด์ แต่ยังรวมไปถึงการเสพคอนเทนต์ และการมีส่วนร่วมต่าง ๆ กับแบรนด์อีกด้วย

แต่ Brand Community นั้นแตกต่างจาก Brand Awareness เพราะแค่การที่มีคนรู้จักหรือซื้อสินค้าและบริการจากแบรนด์ ไม่ได้แปลว่าพวกเขาคือส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้เสมอไป

การสร้างแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้แบรนด์สามารถพัฒนาต่อไปได้ เนื่องแบรนด์สามารถขอความร่วมมือในการทำการทดสอบ หรือสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ได้ ซึ่งจะทำให้แบรนด์ได้รับฟีดแบ็กมาพัฒนา และวนลูปฟีดแบ็กอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาต่ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด

วันนี้เราเลยนำ 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการสร้าง Brand Community อันเหนียวแน่นบนโซเชียลมีเดีย เพื่อให้แบรนด์สามารถพัฒนาตัวเองจนแข็งแกร่ง และตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดมากขึ้นมาฝากกันค่ะ

Build a brand

การสร้างแบรนด์เริ่มจากการนิยามจุดเด่นของแบรนด์ กำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ต่าง ๆ ของแบรนด์ให้ชัดเจน ให้มีความแข็งแรง มั่นคง และแตกต่าง จากนั้นจึงนำสิ่งเหล่านั้นที่สะท้อนความเป็นแบรนด์มาถ่ายทอดผ่านสินค้าและบริการ หรือคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแบรนด์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจในแบรนด์ มีส่วนร่วม ไปจนถึงการเกิดพฤติกรรมการซื้อในที่สุด

Engage customers

มีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค โดยการดึงดูดให้ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์หรือมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากที่สุด ผ่านการสร้างคอนเทนต์ที่ตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการรับชม กดไลก์ กดแชร์ และคอมเมนต์มากขึ้น รวมถึงการมีส่วนร่วมในการส่งข้อความติดต่อผ่านแบรนด์โดยตรง หรือการตอบโพลสำรวจที่แบรนด์สร้างขึ้นมา

Feedback

หมั่นเปิดรับฟีดแบ็กของผู้บริโภคจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นยอดเอนเกจเมนต์ตามโพสต์ ทั้งยอดการรับชม ไลก์ แชร์ และคอมเมนต์ หรือฟีดแบ็กแบบส่วนตัวที่ผู้บริโภคส่งถึงแบรนด์โดยตรง เช่น แชตผ่านข้อความ อีเมล หรือการตอบโพลสำรวจ เป็นต้น

เพราะฟีดแบ็กก็เป็นส่วนหนึ่งของยอดเอนเกจเมนต์ และยังช่วยให้แบรนด์เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น แถมยังนำข้อแนะนำหรือคำติชมต่าง ๆ ไปพัฒนาทั้งสินค้าและบริการ หรือคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย

Observe

สังเกตฟีดแบ็กจากผู้บริโภค เพราะความคิดเห็นเหล่านั้นนับเป็นแหล่งข้อมูลอันมีค่าสำหรับแบรนด์ จึงควรเรียนรู้และวิเคราะห์สิ่งที่ได้มาว่าผู้บริโภคชอบหรือไม่ชอบอะไรเกี่ยวกับแบรนด์ จากนั้นนำมาพัฒนาแก้ไข ปรับปรุงกลยุทธ์ใหม่ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและสร้างความแตกต่างให้แบรนด์มากขึ้น

Implement

นำฟีดแบ็กที่ได้รับจากผู้บริโภคมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง ใช้ในการพัฒนาแบรนด์ในด้านต่าง ๆ แล้ว เพื่อให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

การรับฟังข้อติชมและนำไปปรับปรุงพัฒนาจริง นอกจากจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ย่างตรงจุดมากขึ้นแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าแบรนด์ได้ให้ความสำคัญ และจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดี

รวมถึงยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจและมีโอกาสทำให้กลายเป็น Brand Loyalty ได้ในที่สุด

และขั้นตอนทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนที่ช่วยสร้างให้ Brand Community มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือเมื่อแบรนด์สามารถสร้างคอมมูนิตี้ได้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะหยุดแต่เพียงเท่านั้น แต่ควรที่จะพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อย ๆ คอยรับฟีดแบ็กจากผู้บริโภคอยู่เสมอ และปรับปรุงกลยุทธ์วนลูปเป็นวงจรไปแบบนี้ เพื่อให้แบรนด์ยังสามารถครองใจผู้บริโภคได้อย่างยาวนานนั่นเอง

ที่มา: Social Media Today

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save