5 ทิปการ ‘Live Video’ ฉบับ Meta เคล็ด (ไม่ลับ) ของครีเอเตอร์สายไลฟ์

ในยุคที่การไลฟ์สตรีมมิงและคอนเทนต์วิดีโอต่างกำลังเป็นไวรัลในโลกโซเชียลสมัยนี้ โดยเฉพาะกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ YouTube ต่างก็ต้องปรับตัวให้สมน้ำสมเนื้อกับคู่แข่งอย่าง TikTok ด้วย ดังนั้นวันนี้เราจึงมีทิปการไลฟ์ฉบับ Meta มาฝากกัน!

ความมาแรงของโลกคอนเทนต์วิดีโอและไลฟ์สตรีมนี้ ทำให้แบรนด์ อินฟลูเอนเซอร์ และเหล่าครีเอเตอร์ต้องเรียนรู้ที่จะสร้างคอนเทนต์ที่เป็นภาพ และแสดงความเป็นตัวเองออกมาให้ได้มากที่สุด

โดยเฉพาะกับการไลฟ์สตรีมที่ดูเหมือนจะทำง่าย เพราะเป็นเพียงแค่การพูดคุยกับคนที่ติดตาม หรือหาเรื่องที่น่าสนใจมาเป็นตัวตั้งตัวตีของบทสนทนาเพื่อเชื่อความสัมพันธ์ระหว่างครีเอเตอร์หรือแบรนด์ กับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ได้เริ่มต้นง่ายแบบนั้น แต่เราก็ยังเชื่อว่าไม่ว่าใครก็สามารถเป็นครีเอเตอร์ได้ ถ้าหากรู้จักเตรียมตัว และเรียนรู้พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายให้เป็น แต่ทิปเหล่านั้นจะมีอะไรบ้าง? มาเช็กและนำไปประยุกต์ใช้พร้อม RAiNMaker เลยจ้า!

แจ้งเตือนตารางเวลาไลฟ์ของตัวเอง 

 หากพูดถึงการแจ้งเตือน ก็นับว่าเป็นตัวกระตุ้นที่ดีในการเตือนว่าสิ่งสำคัญหรือสิ่งที่เรารอคอยนั้นกำลังจะมาถึงในไม่ช้า! 

ซึ่งเหตุผลนี้แหละ เลยทำให้การใส่ตารางเวลาที่เราจะทำการไลฟ์ลงไป พร้อมกับขึ้นแจ้งเตือนให้กลุ่มเป้าหมายรู้จึงสำคัญมาก เพราะไม่ใช่แค่เป็นการบอกว่าการรอคอยสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้เวลาพวกเขาเตรียมพร้อมหรือเตรียมตัวในการรับชมไลฟ์ได้อย่างคล่องตัวล่วงหน้าได้อีกด้วย

นอกจากนี้การที่กลุ่มเป้าหมายของเราว่างพร้อมกันแบบมีการนัดหมาย ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ไปในตัวด้วยนะ

เลือกหัวข้อที่กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมได้ 

การเลือกหัวข้อมาเป็นตัวชูโรงในการนำบทสนทนาตลอดทั้งการไลฟ์สตรีมนั้นสำคัญมาก เพราะหากเทียบการไลฟ์เป็นการล่องเรือ หัวข้อที่ใช้คุยก็เหมือนกัปตันที่คอยขับและนำทางให้เรือนี้ไปยังทิศทางที่ถูกต้องในมหาสมุทรนั่นเอง

ฉะนั้นการเลือกหัวข้อมาคุยอาจไม่ได้คัดสรรมาจากกระแส หรือเรื่องที่คนในสังคมกำลังให้ความสนใจเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเป็นเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายของเราสามารถเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการคอมเมนต์ระหว่างไลฟ์กับเราได้อีกด้วย

เตรียมสคริปต์เพิ่มโฟลว์การพูดคุย 

แม้การเตรียมสคริปต์ก่อนทำการไลฟ์สตรีมอาจจะฟังดูเครียดหรือจริงจังไปเสียหน่อย แต่เชื่อเถอะว่ากันไว้ดีกว่าแก้ เพราะสำหรับครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างไลฟ์เพื่อมาพูดคุย หรือแชร์ชีวิตประจำวันของตัวเองกับผู้ติดตามแล้ว หากมีแบรนด์เข้ามาช่วยซัพพอร์ตคอนเทนต์ และเป็นสปอนเซอร์มากขึ้น การทำสคริปต์เป็นข้อย่อย (Bullet) ไว้ จะช่วยทำให้ไลฟ์โฟลว์มากขึ้น

เพราะการเตรียมสคริปต์มีไว้เพื่อให้เรารู้กับตัวเองว่าควรพูดอะไรช่วงไหนบ้าง และยังเป็นอีกวิธีสำหรับดูภาพรวมและโฟลว์ในการไลฟ์ที่ดีด้วย แต่หากมีเรื่องของสปอนเซอร์เข้ามา เราก็ควรจัดช่วงให้เหมาะสมว่าควรแบ่งส่วนพูดถึงสปอนเซอร์อย่างไร ถึงจะไม่ทำให้ผู้ติดตามของเราเบื่อหรือให้ความสนใจน้อยลง

โปรโมตไลฟ์ลงโพสต์และสตอรี 

ต่อให้ไม่ได้เป็นครีเอเตอร์ อินฟลุเอนเซอร์หรือแบรนด์ที่ไลฟ์สตรีมบ่อยนัก ก็ควรมีการโปรโมตเพื่อเรียกยอดเอ็นเกจเมนต์เสียหน่อย โดยเฉพาะกับแพลตฟอร์มที่มีทั้งโพสต์ สตอรี และไลฟ์ในที่เดียว ก็ควรลงโปรโมตทุกช่องทางเพื่อให้ผู้ติดตามรับรู้

เนื่องจากผู้ติดตามของเรามีวิธีการเข้าสู่แพลตฟอร์มต่างกัน บางคนเปิดแอปเข้ามาที่สตอรีอย่างเดียวในระหว่างวัน หรือบางคนเข้ามาแล้วเลือกที่จะไถฟีดไปเจอโพสต์ก่อน ดังนั้นเราจึงต้องโปรโมตดักไว้ทุกช่องทางเลยนั่นเอง

แต่ก็ระวังอย่าให้มากจนเกินไปนะ ทางที่ดี RAiNMaker แนะนำว่าให้ศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายก่อนว่าดูอัปเดตจากช่องของเราทางไหนมากที่สุดแล้วค่อย ๆ กระจายช่องทางไปจะดีกว่า

จัด Q&A เซกชันให้ดูเข้าถึงง่าย 

เซกชัน Q&A เรียกได้ว่าเป็นเซกชันที่ผู้ติดตามจะถูกใจมาก เพราะได้ถามคำถามที่อยากถามกับคนที่ชื่นชอบและเลือกติดตามได้ ซึ่งในฐานะแบรนด์หรือครีเอเตอร์ก็ควรคัดเลือกคำถามที่การตอบออกไปจะเป็นประโยชน์หรือเพิ่มข้อมูลใหม่ ๆ เป็นการอัปเดตให้พวกเขาได้รู้ด้วย

ซึ่งระยะเวลาในการไลฟ์ควรแบ่งช่วงออกให้ชัดเจนภาย โดยมีเวลาไม่น้อยไปกว่า 20 นาที แต่เซกชันถามตอบนี้จะเอาไว้ช่วงแรกก่อนเข้าเรื่องที่จะพูดหรือไว้ช่วงหลังก่อนปิดไลฟ์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุประสงค์ของการเปิดไลฟ์แต่ละครั้งคืออะไร

รู้จักคอลแลปกับครีเอเตอร์คนอื่น 

การคอลแลปนอกจากจะเป็นโอกาสที่ดีในการไปเยือนคอมมูนิตี้ของครีเอเตอร์ที่คอลแลปด้วยแล้ว การคอลแลปข้ามสาย หรือคอลแลปกับแบรนด์ก็ถือว่าเป็นอีกพื้นที่ที่ทำให้ช่องของเรามีคนรู้จักเพิ่มขึ้นอีกด้วย

แต่นอกจากการคอลแลปกับแบรนด์หรือครีเอเตอร์ด้วยกันเองแล้ว การสุ่มคอลแลปกับผู้ติดตามที่คอยตามซัพพอร์ตเราตลอดที่เปิดช่องหรือทำคอนเทนต์มาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้คอมมูนิตี้ของเราดูเข้าถึงง่าย และตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้เช่นกัน

เซอร์วิสผู้ติดตามให้เป็น 

การคอยสนับสนุนครีเอเตอร์ หรือแสดงความภักดีต่อแบรนด์อยู่เสมอ อาจไม่ได้ต้องการสิ่งตอบแทน เพราะพวกเขาสนับสนุนจากความจริงใจ และความชอบส่วนตัว แต่การเซอร์วิสแฟน ๆ หรือผู้ติดตามของเรา ก็นับเป็นสิ่งหนึ่งที่แบรนด์และครีเอเตอร์ควรคำนึงถึงเพื่อรักษาให้พวกเขาอยู่กับคอมมูนิตี้ของเราต่อไป

เช่นการสร้างโอกาสพิเศษอย่าง การพูดชื่อหรือกล่าวถึงขณะไลฟ์ หรือการสุ่มเป็นผู้โชคดีเพื่อมาคอลแลปกันในช่วงไลฟ์สตรีมก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ครีเอเตอร์และแบรนด์ดูเข้าถึงง่าย ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายอยากมีส่วนร่วมด้วยตัวเอง

ชี้ช่องทางที่สร้างคอนเทนต์ 

จากทิปการไลฟ์มาทั้งหมด สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ การชื้ช่องทางของเราทั้งหมด ไม่ว่าครีเอเตอร์และแบรนด์จะสร้างช่องทางที่มีคอนเทนต์ไว้แพลตฟอร์มไหนบ้าง ก็อย่าลืมที่จะป่าวประกาศมันออกมาในไลฟ์สตรีม เพื่อให้เกิดการติดตามต่อไปเป็นทอด ๆ ด้วยนะ

ไม่ว่าในฐานะที่คุณเป็นครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์หรือแบรนด์ การประยุกต์ใช้ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามคอมมูนิตี้ของแต่ละคน แต่ถ้าเรารู้จักกลุ่มเป้าหมายที่คอยติดตามและซัพพอร์ตเรามาตลอดมากพอ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้ทิปทั้ง 8 ข้อนี้เลย

แต่หากคุณเป็นครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์มือใหม่ ทาง RAiNMaker ก็หวังว่าทิปเหล่านี้จะช่วยเป็นไกด์นำทางไปสู่การไลฟ์สตรีมที่สนุก และสร้างคอมมูนิตี้ของพวกคุณให้เติบโตขึ้นได้ในสักวันหนึ่งนะ

ที่มา: Social Media Today

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save