แชร์ 6 วิธีคำนวณยอด ‘Engagement’ เกณฑ์สำหรับแบรนด์และนักการตลาด

ถ้าในโลกของความเป็นจริงแต่ละประเทศมีเงินตราเพื่อวัดมูลค่าของสิ่งต่าง ๆ สำหรับโลกโซเชียลก็คงมียอดเอ็นเกจเมนต์ (Engagement) เป็นหน่วยวัดโพสต์ต่าง ๆ ว่ามีมูลค่ามากน้อยเพียงใดในตลาดโซเชียลมีเดียเป็นแน่ ทั้งยอดไลก์ ยอดแชร์ คอมเมนต์ และจำนวนผู้ติดตามต่างก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักสร้างคอนเทนต์ทั้งหลายได้วัดระดับของตัวเองในโลกโซเชียล แต่จะคิดอย่างไรได้บ้าง? ทาง RAiNMaker จะมาแชร์วิธีการคำนวณให้!

ในยุคปัจจุบันมีสูตรคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์ในโซเชียลมีเดียมากมาย เพราะยอดวัดมูลค่าของโพสต์เหล่านี้ สามารถสร้างอิมแพคให้กับตลาดคอนเทนต์ได้นั่นเอง รวมถึงวัดได้ด้วยว่าคุณบรรลุเป้าหมายของตัวเองสำเร็จหรือไม่ ซึ่งการคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์ของโซเชียลมีเดียจะประกอบไปด้วย

  • Reactions
  • Likes
  • Comments
  • Shares
  • Saves
  • Messengers
  • Direct Messages
  • Mentions (Tagged / Untagged)
  • Click
  • Profile Visits
  • Retweets
  • Replies
  • Quote Tweets
  • Sticker Taps
  • Link Clicks
  • Views

โดยองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยให้สามารถเปลี่ยนการรับรู้ระหว่างแบรนด์ และกลุ่มเป้าหมายได้ รวมถึงได้นำไปพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ เข้ามาด้วย แต่ก่อนที่จะเริ่มก็คงต้องทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของเราให้ดีเสียก่อนนะ เพราะพวกเขาจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการทำให้คุณรู้ไทม์ไลน์การโพสต์ของตัวเองว่าควรโพสต์เวลาไหนจึงจะได้ยอดเอ็นเกจเมนต์ดีที่สุด

และวันนี้ทาง RAiNMaker ได้สรุปมาให้ถึง 6 วิธีการคำนวณกันเลยทีเดียว แต่ต้องขอเตือนไว้ก่อนว่าแต่ละสูตรจะต้องใช้ประกอบกับเกณฑ์ และมาตรฐานของคุณที่ตั้งเอาไว้ และนำไปประยุกต์ใช้ให้ถูกสูตร และเหมาะสมกับแบรนด์ได้ ดังนี้

Rate by reach (ERR) 

คำนวณจากยอด Reach

เป็นสูตรดั้งเดิมที่นิยมนำมาใช้ในการคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์มากที่สุด เพราะสามารถวัดจากผู้คนที่เลือกจะมามีส่วนร่วมกับโพสต์ของเราได้โดยตรงหลังจากได้เห็นคอนเทนต์แล้ว โดยเหมาะใช้กับโพสต์เดี่ยว และคำนวณค่าเฉลี่ยของมัลติโพสต์

ข้อดี: การคำนวณยอด Reach มีความแม่นยำกว่าการคำนวณจากยอดผู้ติดตาม เพราะว่าไม่ใช่ผู้ติดตามทุกคนจะมองเห็นคนเทนต์ของคุณ และบางคนที่ไม่ได้ติดตามก็สามารถมองเห็นคอนเทนต์จากการแชร์ได้เช่นกัน

ข้อควรระวัง:  ยอด Reach มีการขึ้นลงเพราะหลากหลายปัจจัย เลยทำให้ยากที่จะควบคุมได้ เพราะวันที่ยอด Rech น้อย ก็สามารถนำไปสู่ค่าคำนวณที่ต่ำกว่าปกติได้

Rate by posts (ER post) 

คำนวณจากยอดโพสต์

สูตรคำนวณนี้ค่อนข้างคล้ายกันกับการคำนวณจากยอด Reach เพียงแต่เปลี่ยนจากยอด Reach เป็นคำนวณจากยอดผู้ติดตามเท่านั้น โดยการบ่งบอกว่ามีผู้ติดตามจำนวนกี่คนที่สร้างยอดเอ็นเกจเมนต์ให้กับคอนเทนต์ของคุณ

ข้อดี: ถ้าการคำนวณแบบ ERR เป็นวิธีที่ดีในการบอกว่ามีผู้คนจำนวนเท่าไรที่มองเห็นโพสต์ของคุณ แต่สูตรนี้จะแทนที่ด้วยยอดผู้ติดตามจากผู้คน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นตัววัดที่มั่นคงกว่า

ข้อควรระวัง:  การคำนวณจากยอดผู้ติดตามต้องมีการอัปเดตอยู่เสมอ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนยอดผู้ติดตาม และแม้ผู้ติดตามจะเพิ่มขึ้น แต่ก็อาจทำให้การเข้าถึงหรือมีส่วนร่วมกับโพสต์ลดลงได้เช่นกัน

Rate by impressions (ER impressions) 

คำนวณจากยอดการมองเห็น

ยอด Impression หรือยอดที่ทำให้รู้ว่ามีคนมองเห็นคอนเทนต์ของคุณเท่าไร ซึ่งแม้การกลับมาดูคอนเทนต์ซ้ำ ๆ ของคนเดิมก็จะถูกนับด้วยเช่นกัน ซึ่งการคำนวณด้วยสูตรนี้จะต้องนับยอดหรือความถี่ที่คนมองเห็นนั่นเอง

ข้อดี: สูตรการคำนวณนี้จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับคอนเทนต์ที่จ่ายเพื่อเพิ่มการมองเห็น (Paid Content) และเป็นคอนเทนต์ที่เน้นการประเมินตามประสิทธิภาพตามที่แสดงผล

ข้อควรระวัง:  การใช้สูตรนี้ที่มียอด Impression เป็นสิ่งยืนพื้นสูตร อาจจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต่ำกว่าการคำนวณแบบ ERR และ ER รวมกัน เพราะยอด Reach และยอด Impression มักจะไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอีกไอเดียหนึ่งในการใช้ก็คือการคำนวณรวมกันไปเลย

Daily engagement rate (Daily ER) 

คำนวณจากยอดรายวัน

ในขณะที่ยอดเอ็นเกจเมนต์มักจะคำนวณตามยอดที่เรามองเห็น การได้คำนวณจากจำนวนครั้งที่ยอดผู้ติดตามเข้ามามีส่วนร่วมกับแอคเคานท์ของเราก็เป็นอะไรที่ดีเช่นกัน

ข้อดี: การคำนวณสูตรนี้ไม่ได้คำนวณเฉพาะโพสต์ แต่เป็นการคำนวณจากยอดทั้งหมดรายวันของโซเชียล ดังนั้นผลลัพธ์จึงขึ้นอยู่กับโพสต์ใหม่และเก่ารวมกันได้เลย ซึ่งเหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการประเมินรายวันเป็นอย่างมาก

ข้อควรระวัง:  ในสูตรไม่ได้คำนึงถึงเวลาที่ผู้ติดตามคนเดิมเข้ามามีส่วนร่วมกับโพสต์ซ้ำ ๆ เพราะมันให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกับเวลาที่มีผู้ติดตามไม่ซ้ำกันมามีส่วนร่วมกับโพสต์ ซึ่งจำนวนโพสต์ที่แชร์ต่อวันก็มีผลด้วย

Rate by views (ER views) 

คำนวณจากยอดวิว

หากแบรนด์ของคุณมีแพลตฟอร์มวิดีโอเป็นคอนเทนต์หลัก การคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์ข้อนี้ก็คงเหมาะสมที่สุดแล้ว เพราะหลาย ๆ คนก็คงอยากรู้ว่ามีผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมและสร้างยอดเอ็นเกจเมนต์ให้คอนเทนต์ของคุณเท่าไร

ข้อดี: เป็นสูตรที่เหมาะแก่การคำนวณโพสต์หรือคอนเทนต์แบบวิดีโอ โดยเฉพาะกับคอนเทนต์ที่คุณต้องการเก็บยอดเอ็นเกจเมนต์

ข้อควรระวัง:  ยอดวิวมักจะมาพร้อมกับยอดวิวที่ถูกสะสมยอดเอ็นเกจเมนต์จากการรับชมซ้ำ และเกิดเป็นมัลติวิวขึ้นมาได้ เพราะแม้จะมีคนที่ดูวิดีโอหลายครั้ง แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องนับซ้ำ

Factored Engagement Rate 

คำนวณแบบแยกส่วน

บางกรณีการคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์แยกส่วนก็เหมาะกับแบรนด์ที่อยากคิดยอดเอ็นเกจเมนต์แบบเจาะจง และให้น้ำหนักกับการประเมินบางแบบมากกว่า เช่น ยอดเอ็นเกจเมนต์จากคอมเมนต์ เป็นต้น

ข้อดี: ได้คำนวณเฉพาะจุดที่อยากเจาะจง และนำไปต่อยอดในการตลาด

ข้อควรระวัง: สูตรคำนวณนี้อาจเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมของยอดเอ็นเกจเมนต์ได้ และทำให้เกิดการเข้าใจผิดในการคำนวณ ฉะนั้นต้องคำนวณอย่างรอบคอบ ซึ่งถ้าไม่จำเป็นนักก็เป็นวิธีที่ควรเลี่ยงที่สุด

จากสูตรคำนวณทั้ง 6 อาจจะดูเป็นแบบแผนสำหรับการวางแผนโซเชียลมีเดียต่อไปให้ดีขึ้น แต่ยอดเอ็นเกจเมนต์ไม่ใช่ทุกอย่างเสมอไป เพราะบางครั้งเราก็เกิดความกังวลในเรื่องของตัวเลขเกินไปจนอาจลืมว่าความสนุกในคอนเทนต์ และการชอบในสิ่งที่ทำก็สำคัญ เพราะฉะนั้นควรให้น้ำหนักกับทั้งตัวเลข และคุณค่าของทางจิตใจไปพร้อม ๆ กันด้วยนะ

แต่สำหรับบางแบรนด์ที่ยังไม่เคยคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์ของตัวเองมาก่อน จนไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน ทางเราแนะนำว่าให้หาตัวเลขที่คุณรู้สึกพึงพอใจกับมันมากที่สุดมาตั้งเป็นเกณฑ์ของตัวเอง และรักษามันไว้อบ่างสม่ำเสมอก็เพียงพอแล้ว

ที่มา: Hootsuite

 

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save