7 ข้อผิดพลาดของการทำคอนเทนต์บน Social Media ที่หลายคนยังทำอยู่

ทุกวันนี้กลายเป็นว่าการทำ Social Media กลายเป็นทักษะของทุกคน จากเดิมที่การสื่อสารจะมีผู้พูดและผู้ฟัง แต่บน Social Media เราจะต้องเจอกับความซับซ้อน อัลกอริทึมต่าง ๆ ที่ทำให้เราที่แม้ว่าจะเป็นนักสื่อสารที่เก่งอยู่แล้วพลาดได้เหมือนกัน ไม่ว่าเราจะเป็นคนทำคอนเทนต์ หรือแบรนด์ที่ใช้ Social Media เป็นเครื่องมือในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ แต่ก็ยังมีข้อผิดพลาดที่เชื่อว่าใคร ๆ ก็เลยทำ แต่ยังไม่ปรับปรุงแก้ไขกันซักที

เว็บไซต์ Social Media Today ได้รวบรวม 7 ข้อผิดพลาด ที่คนทำคอนเทนต์หรือแบรนด์พลาดกันบ่อย ๆ ไว้ในบทความ 7 Common Social Media Mistakes Brands are Still Making in 2018 ซึ่งเนื่องจากก็จะเข้าใกล้ปีใหม่แล้ว ก็อยากจะชวนคนทำ Social Media มาลองดูกันว่าเรายังทำอยู่หรือเปล่า แล้วลดพฤติกรรมที่อาจจะส่งผลเสียกัน

1. ไม่มีแผน ทำไปวัน ๆ

อย่างที้ผู้เขียนเคยย้ำไปหลาย ๆ บทความ ว่าการจะทำอะไรก็ตามควรมีวัตถุประสงค์ว่าทำไปเพื่ออะไร เช่น สร้าง Awareness ให้กับแบรนด์ หรือใช้เป็น Market Place หรือเพื่อใช้ในการ Support ซึ่งการรู้ว่าเรามีบัญชี Social Network นั้น ๆ ไว้ทำอะไร ก็จะช่วยให้เราสามารถออกแบบแผน และวงกลยุทธ์ในการทำงานได้

หลาย ๆ เพจหรือหลาย ๆ แบรนด์ รู้ว่าเราจำเป็นต้องมี Facebook, YouTube, Instagram หรือ Twitter แต่เชื่อว่ามีไม่มากที่รู้ว่าวัตถุประสงค์ของการมีนั้นมีไปเพื่ออะไร ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้เข้าไปอัพเดทหรือมีผลงานอะไรลง หรือลงไปวัน ๆ ทำให้ไม่มีตัวชี้วัด ไม่รู้ว่า Performance ดีหรือไม่ดี และยิ่งถ้าเป็นการจ้างพนักงานมาดูแลแล้วล่ะก็ ย่อมเป็นการสิ้นเปลืองเพราะคนดูแลเองก็จะไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร

2. ไม่มีความเป็นแบรนด์ ภาพลักษณ์ สี ความรู้สึก

ภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ภาพลักษณ์นั้นไม่ใช่แค่รูป สี หรือตัวอักษร แต่ไปจนถึงความรู้สึก หลาย ๆ บัญชีบน Social Media พลาดไม่ได้คิดว่าจะควบคุมความรู้สึกของคนที่เข้ามาอ่านอย่างไร นั่นทำให้คนที่เข้ามาอ่านหรือดูอาจจะไม่ได้จดจำหรือเข้าถึงสิ่งที่แบรนด์หรือคนทำคอนเทนต์ต้องการจะสื่อออกมา

3. ไม่ยอมใส่รายละเอียดโปรไฟล์

ผู้เขียนเคยเขียนบทความชื่อ 5 เทคนิคการเขียน Bio และ About บน Social Media ให้น่าสนใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เนื่องจาก Social Media ส่วนมากมีลักษณะเป็น Timeline เราอาจจะเคยโพสต์แนะนำตัวหรือตอกย้ำความเป็นตัวเราเอาไว้แล้ว แต่โพสต์นั้นก็อาจจะเลือนหายไปตามกาลเวลา แต่ละ Social Network ก็จะมีช่อง Bio หรือ About ให้เราใส่อธิบายความเป็นตัวเราหรือระบุช่องทางการติดต่อ, ชื่อผู้เขียน หรือคนที่ดูแล ไว้ซึ่งจะช่วยทำให้คนที่เข้ามาอ่านรู้จักเรามากขึ้น หรือยิ่งถ้ามีงานเข้ามาเขาก็จะได้รู้ว่าจะต้องติดต่อใคร ที่ไหน

4. ไม่รู้ว่าทำให้ใครดู อ่าน หรือจะสื่อสารกับใคร

การไม่รู้วัตถุประสงค์ว่าทำไปเพื่ออะไรอาจจะฟังดูแย่แล้ว แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเลยก็คือ ต้องรู้ว่าเราจะสื่อสารกับใคร การที่เราไม่รู้ว่า Follower, Subscriber หรือ Reader ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่า Audience ของเราคือใคร จะทำให้เราไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่าพวกเขาต้องการอะไร อย่างที่เคยบอกไปว่า การทำคอนเทนต์คือการทำให้ Audience พอใจ แต่การที่เราจะรู้ว่า Audience เราต้องรู้ก่อนว่าเขาคาดหวังอะไร (expectation) ศาสตร์นึงที่สำคัญมากก็คือการ Create และ Manage Expectation ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักคนอ่าน เราก็จะไม่รู้เลยว่าพวกเขาต้องการอะไร และไม่เป็นผลดีต่อการทำคอนเทนต์แน่ ๆ

media-4

5. โพสต์บ่อยไป หรือไม่โพสต์เลย ไม่มีตารางเวลา

เว็บไซต์เคยนำเสนอบทความชื่อ แจกตาราง โพสต์ Facebook เลือกเวลาดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ซึ่งพูดถึงการจัดการตารางเวลา และความถี่ของแต่ละโพสต์ว่าควรโพสต์ช่วงไหน ตอนไหนดี เราโพสตบ่อยเกินไปจนคนอ่านรำคาญหรือเปล่า หรือไม่โพสต์เลยคนคนอ่านเข้าใจว่าจะไม่ทำเพจต่อแล้ว ซึ่งหลายคนก็คงเคยเจอกับสถานการว่า ไม่มีคนมาไลค์หรือ Engage กับโพสต์ของเราเลย การที่เราโพสต์แบบ Unpredictable ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดสิ่งนี้เช่นกัน

6. ไม่ยอมใช้เครื่องมือหรือคุณสมบัติของ Social Media นั้น ๆ

แต่ละ Social Media นั้นมีคุณสมบัติและวิธีการใช้งานแตกต่างกันออกไป เหมือนเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ ไมโครโฟน, ปากกา, โทรโข่ง, จดหมาย ซึ่งสืบเนื่องจากข้ออแรก เราก็มีวัตถุประสงค์บางอย่าง Social Media คือเครื่องมือที่จะมาทำให้เราบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้ และส่ง Message ไปยัง Audience ได้ ซึ่งนั่นก็คือเหตุผลที่เรานำเสนอบทความ เหตุผลที่ไม่ควรโพสแบบเดียวกันในแต่ละโซเชียล ใครกำลังก็อปวางเลิกซะ เนื่องจากแต่ละโซเชียลก็จะมีธรรมชาติของมันแตกต่างกันออกไปนั่นเอง

7. ไม่อ่านคอมเม้น ไม่ตอบแชท เมินคนที่มาบ่น

เป็นสิ่งที่เรียกว่าไม่ควรทำเลย เนื่องจากเป็นการทำลายความคาดหวัง การที่มีคนมาคอมเม้นหรือว่าเล่าปัญหาให้ฟังนั้นแปลว่า audience ของเราคาดหวังว่าเราจะช่วยเขาแก้ปัญหาให้เขาได้ แม้ว่าวิธีการของพวกเขาจะเป็นการบ่น การด่า หรือใช้อารมณ์ แต่จริง ๆ แล้วนั่นคือสิ่งที่เป็นเปลือกนอกเท่านั้น สามารถลองอ่านบทความ 5 วิธีรับมือกับเสียงตอบรับด้านลบบนโซเชียลมีเดีย สำหรับคนทำคอนเทนต์ ได้

สุดท้ายแล้วก็น่าจะได้รู้ว่าจุดที่น่าสนใจที่สุดก็คือการที่เรารู้จักการใช้งาน Social Media และเข้าใจธรรมชาติของมัน เพราะเมื่อเรามองภาพใหญ่แล้ว Social Media ก็เป็นแค่เครื่องมือที่จะช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น ไม่ได้เป็นแบบแผนหรือวิธีการทำงาน ที่สุดท้ายแล้วถ้าเราเริ่มต้นจากการทำคอนเทนต์เพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่างแล้วรู้จักการใช้ Social Media อย่างมีประสิทธิภาพแล้วล่ะก็ เราก็ย่อมสร้างผลงานที่มีเพียงแต่เราเท่านั้นที่ทำได้

 

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save