ในตอนนี้ไม่ว่าจะเปิดทีวี หรือเข้าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็จะเจอ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน หรือ เฮียวิทย์ อยู่ในหลากหลายแวดวงทั้งธุรกิจ กีฬา การเงิน และประวัติศาสตร์ ที่สร้างชื่อให้เฮียวิทย์ไปไกลถึงจอ Netflix และมีหนังสือรวบรวมประวัติศาสตร์เล่มแรกเป็นของตนเอง รวมถึงเป็นหนึ่งในครีเอเตอร์ที่โดดเด่นด้านในเรื่อง Storytelling อีกด้วย
โดยกว่าจะถึงจุดนี้เฮียวิทย์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ รวมถึงประสบการณ์ทั้งหมดหลอมรวมเป็นผู้รู้ลึกรู้จริงและได้เป็นที่ยอมรับในหลากหลายวงการ ซึ่งวันนี้ RAiNMaker ก็รวบรวมจุดเริ่มต้นและเส้นทางกว่าจะมาเป็น ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ให้ทุกคนได้ลองนำไปปรับใช้ได้เลย
🏠 จุดเริ่มต้นของเฮียวิทย์
เฮียวิทย์ ผ่านประสบการณ์มากมายในแบบที่หลายคนอาจไม่รู้ว่าเฮียวิทย์ทำอะไรมาบ้าง กว่าจะเป็นครีเอเตอร์ที่มีผู้ติดตามจนมี Talk Show ลงแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง Netflix เป็นของตัวเอง และเป็นที่ยอมรับในหลากหลายแวดวง
โดยจุดเริ่มต้นการทำงานของเฮียวิทย์ เริ่มจากวงการกีฬาอย่างการเป็นผู้สื่อข่าวฟุตบอลยุโรป ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และตามมาด้วยการทำงานเป็น ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร ในบริษัทระดับโลกอย่าง BMW รวมถึงการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ อีกด้วย
นอกจากนี้เฮียวิทย์ยังเป็นอยู่ในสื่อจากหลากหลายประเภท ทั้งการเป็นผู้ประกาศข่าวใน Nation TV และ Bright TV ผู้ดำเนินรายการ All Around Tech ทางช่อง MCOT รายการเกี่ยวกับนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์จากทั่วโลก
รวมถึงรายการคุยรอบวง APEC Talk ช่อง NBT, ทุบโต๊ะข่าว ช่อง Amarin TV และข่าว 5 หน้า 1 ช่อง ททบ.5 เรียกได้ว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาได้หล่อหลอมให้เฮียวิทย์โดดเด่นในเรื่องของ Storytelling
🖥️ ติดตามเฮียวิทย์ได้ที่นี่เลย!
ซึ่งปัจจุบันเฮียวิทย์มีรายการออนไลน์เป็นของตัวเองบนช่อง THE STANDARD ดำเนินรายการที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และการลงทุนที่ติดตามได้ทางทีวีอีกด้วย นอกจากนี้ยังรับบทบาทเป็นนักเขียนหนังสือเล่มแรกของตนเอง ซึ่งใครที่อยากติดตามสามารถตามไปที่ช่องทางเหล่านี้ได้เลย
- 8 Minute History: สายพอดแคสต์ที่อยากติดตามประวัติศาสตร์จากทุกมุมโลกต้องรู้จักรายการ 8 Minute History ที่เอาเรื่องราวมาเล่าให้ง่ายใน 8 นาที ใน The Standard Podcast
- Morning Wealth และ Wealth History: ในส่วนของสายนักธุรกิจ และการลงทุนสามารถติดตามอัปเดต รวมถึงวิเคราะห์สถานการณ์สดประจำวันใน The Standard Wealth ที่นำประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ มาวิเคราะห์เบื้องหลังที่ทำให้เราได้ข้อคิดมาต่อยอดได้
- Thai PBS: ผู้ดำเนินรายการทางช่องทางทีวีในเศรษฐกิจติดบ้าน รายการที่ทำให้ทั้งข่าว และประเด็นทางเศรษฐกิจที่อาจเป็นเรื่องที่ดูซับซ้อน ออกมาเข้าใจง่าย และไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเรา
- The Race of Civilizations (อารยะแข่งขัน): จากรายการ 8 Minute History สู่หนังสือเขียนโดยเฮียวิทย์ที่เป็นผู้ดำเนินรายการที่จะมาตั้งคำถามเกี่ยวกับการแข่งขันทางอารยธรรม และมาถอดรหัสประวัติศาสตร์ตามสไตล์ของเฮียวิทย์เอง
- วิทยากร และนักบรรยาย: อีกหนึ่งบทบาทสำคัญกับการเป็นวิทยากร และพูดบรรยายในหัวข้อที่เฮียวิทย์มีประสบการณ์อย่างโชกโชน รวมถึงเฮียวิทย์ยังร่วมงานกับ iCreator Conference 2024 ในปีนี้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันอีกด้วย
📢 สรุปเฮียวิทย์พูดได้กี่ภาษา?
เป็นที่สงสัยกันในวงของคนที่ติดตาม หรือเห็นเฮียวิทย์ตามรายการต่าง ๆ ว่าตกลงเฮียวิทย์สามารถสื่อสารได้กี่ภาษา เพราะในคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่ เฮียวิทย์ก็มักจะยกข้อคิดเป็นภาษาจีนมาประกอบด้วยเสมอ
ในความจริงแล้ว เฮียวิทย์สามารถพูดได้ถึง 5 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาจีน โดยเคล็ดลับในการพูดได้หลายภาษาของเฮียวิทย์ คือ การฟัง และพยายามสื่อสารเพื่อฝึกฝนการใช้ภาษา
ซึ่งเฮียวิทย์ได้เรียนรู้ภาษาอิตาลี จากสิ่งที่ชื่นชอบอย่างทีมฟุตบอลในลีกอิตาลี และเรียนภาษาจีนจากความชอบหนังจีน รวมถึงวรรณกรรมจีน ทำให้เกิดพรแสวงในการเริ่มศึกษาภาษาจากความชอบของตนเอง ซึ่งใครที่ต้องการเรียนภาษาให้ได้แบบเฮียวิทย์สามารถนำวิธีการเรียนรู้ของเฮียวิทย์ไปปรับใช้กับการเรียนรู้ของตนเองได้เช่นกัน
❤️ ครีเอเตอร์คนแรกที่อยู่บนหน้าจอ Netflix
จากรายการประวัติศาสตร์ 8 Minute History สู่ทอล์กโชว์ ‘8 Minute History Onstage’ ที่เอาความสนุกจากรายการมานำเสนอในรูปแบบ Edutainment ซึ่งเป็นทอล์กโชว์ประวัติศาสตร์ครั้งแรกในไทย ที่มีความยาวกว่า 2 ชั่วโมง จัดเต็ม แสง สี เสียง จนสามารถขายบัตรหมดทั้ง 2 รอบ ทำให้ต้องเพิ่มรอบที่ 3 อีกด้วย
นอกจากนี้เฮียวิทย์ ยังเป็นครีเอเตอร์คนแรกที่ได้อยู่บนหน้าจอ Netflix จากเวทีทอล์กโชว์ในรูปแบบออนไซต์มาสู่ช่องทางสตรีมมิงระดับโลก ที่ได้นำการแสดงสดจากทอล์กโชว์ 8 Minute History Onstage มานำเสนอให้รับชมย้อนหลัง
✏️ เจาะลึกเทคนิค Storytelling แบบเฮียวิทย์
นอกจากการเป็นครีเอเตอร์แล้ว เฮียวิทย์ยังชำนาญในการเล่าเรื่อง และการจับใจความที่สะสมมาจากประสบการณ์การทำงานที่เป็นประจักษ์ให้เห็นว่าเฮียวิทย์เป็นคนที่เล่าเรื่องได้ครบถ้วน น่าฟัง และกระชับได้ใจความที่สุดคนหนึ่ง
ซึ่งวันนี้เราจะพาไปเจาะลึกเทคนิคการสร้าง Storytelling ของเฮียวิทย์ ดังนี้
“เล่าเรื่องให้เข้าไปอยู่ในใจผู้ฟัง”
- เรียงลำดับ Timeline เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพ: การเรียงลำดับเรื่องราวให้ผู้ฟังได้คิดเป็นภาพจะทำให้ผู้ฟังสามารถเชื่อม Timeline ของเรื่องราว และเข้าใจเรื่องที่เรากำลังเล่าอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
- เข้าใจ Background และหาจุดเชื่อมโยงกับผู้ฟัง: ถ้าเราเข้าใจภูมิหลัง และระดับความสนใจของผู้ฟังจะทำให้เราสามารถเล่าเรื่องออกมาได้ตรงจุด รวมถึงเชื่อมโยงกับสิ่งที่ผู้ฟังสนใจเพื่อผู้ฟังเกิดประสบการณ์ร่วม
“เราต้องมีทักษะย่อความแต่ยัง Understandable”
- พูดเฉพาะหัวข้อสำคัญเพื่อให้ผู้ฟังหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเอง: ถ้าต้องพูดแบบกระชับ และสั้น เราจะต้องเลือกหัวข้อที่สำคัญ รวมถึงเป็นหัวข้อที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสงสัย และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองต่อไป
“สิ่งใดที่มีคำถาม สิ่งนั้นย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้”
- ตั้งคำถามเพื่อให้เกิดคำตอบ และนำไปถ่ายทอดให้ผู้ฟัง: หากเราต้องการเป็นผู้พูดก็ต้องหา Story ก่อนที่จะไป Telling ให้กับผู้ฟัง ซึ่งการตั้งคำถามในหัวข้อที่เราสนใจ และไปค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จะทำให้เราสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกไปได้อย่างเป็นธรรมชาติ
“รับบทผู้ฟังก่อนจะเป็นผู้พูด”
- เปลี่ยนจาก Information Sharing เป็น Storytelling: การเป็นผู้พูดที่ต้องทำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่อาจจะเยอะ และมีรายละเอียดครบถ้วนเป็นสิ่งที่ยาก หากเรานำเสนอแบบไม่ใช้ Storytelling ผู้ฟังอาจจะจับประเด็นไม่ได้ รวมถึงเกิดอาการ Information Overload ขึ้นได้อีกด้วย
- ลองสวมบทเป็นผู้ฟัง เพื่อเรียนรู้และพัฒนาตนเอง: การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการที่เราเอาตัวเองเข้าไปสวมบทบาทผู้ฟัง จะทำให้เราสามารถเข้าใจเป้าหมายของเราได้ดีที่สุด
📍 ช่องทางติดตาม ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน
- Facebook: Wit Sittivaekin (วิทย์ สิทธิเวคิน)
- Instagram: witsittivaekin
- THE STANDARD Podcast
- THE STANDARD Wealth
เรียกได้ว่า ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน เป็นตัวอย่างของคนที่พยายามจนประสบความสำเร็จ จากการอยู่ในหลากหลายวงการกว่าจะมาถึงช่วงที่มีผู้ติดตามมากมาย มีทั้งรายการ, หนังสือ และทอล์กโชว์ จนเป็นที่ยอมรับในฐานะวิทยากรในแวดวงต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการที่เฮียวิทย์ได้หาเส้นทางในการเล่าเรื่องราวของตนเองเจอจากประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมาจนได้เป็นคนที่มีวิธีการ และแนวทางในการเล่า Storytelling ของตนเอง สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะอายุเท่าไร เราก็สามารถมี Prime Time ของตนเองได้เสมอ