Instagram กลายเป็นเครื่องมีที่ไม่เรียนรู้ไม่ได้สำหรับคนทำคอนเทนต์และ Publisher เพราะอัตราการเติบโตของ Instagram แสดงว่ามันกำลังจะกลายเป็น Social Media แห่งอนาคต แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบคอนเทนต์ของ Instagram ที่ถูกเรียกว่าเป็น Visual Base หรือเน้นการมองเห็นภาพเป็นหลัก ทำให้ใครหลาย ๆ คนที่เติบโตมาจากยุค Blogging หรือ Text Base Social Media อาจจะไม่อินเท่าไหร่ ตัวผู้เขียนเองก็เป็นคนในกลุ่มนี้ที่โตมาพร้อมกับการเขียน Blog จะให้ไปทำคอนเทนต์ลง IG Story ก็ดูจะขัด ๆ แต่สุดท้ายก็ปฏิเสธไม่ได้ (ฮา)
ถามว่าแล้วทำไมต้องฝืนตัวเอง เราไม่ได้ฝืนตัวเอง แต่ด้วยหน้าที่ต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้เราต้องดูแล Social Media ที่อาจจะไม่ได้ถนัดในตอนแรก สมมติว่าเราทำ Publishing ที่จำเป็นต้องตามติดกับ Platform หรือแม้กระทั่งการที่ Audience ของเราย้ายไปอยู่บน Instagram เราเองหากยังมองพวเขาเหล่านั้นเป็น Audience อยู่การตามไปที่ Instagram ก็เป็นเรื่องที่มองว่าสมควรทำ
วันนี้ผู้เขียนมี 5 เทคนิคในการค่อย ๆ ปรับตัวให้เข้ากับ Instagram และ IG Story แม้ว่าเราจะไม่ได้ชอบเล่น IG เป็นทุนเดิมก็ตาม
1. มีบัญชีที่ Active เป็นของตัวเองจริง ๆ มีตัวตนอยู่บน Platform นั้นจริง ๆ
สิ่งแรกที่ต้องทำเลยก็คือเราต้องเล่นจริง ๆ โดยมีบัญชีที่ active จริง ๆ ปกติแล้วบัญชี Instagram ของเราสามารถ Log-in ไว้หลาย ๆ ตัวพร้อมกันได้ การที่เราจะเข้าใจธรรมชาติของ Platform เลยก็คือเราต้องเล่นมันจริง ๆ ดังนั้น ถ้าเราอยากจะคุ้นชินกับอะไรก็ต้องพาตัวเราไปอยู่ตรงนั้นเสียก่อน
2. Follow บัญชีของแบรนด์หรือ Blogger, Publisher ในสายเดียวกับเรา
นอกจากเพื่อนแล้ว เราอาจจะฟอลเพื่อดู Story ของ Blogger, Publisher อื่น ๆ ที่อยู่ในสายทางเดียวกับเรา หรือที่มีคอนเทนต์ใกล้เคียงกับเรา วัตถุประสงค์อย่างแรกเลยก็คือ ถ้าเราใหม่กับ Story ก็หมายความว่าเราอาจจะยังไม่รู้ว่าปกติ Story เขาลงอะไรกัน ทำคอนเทนต์แบบไหน การได้ดูตัวอย่างก็อาจจะช่วยให้เราพอมีไอเดียว่าจะเล่นอย่างไรได้บ้าง รูปแบบของคอนเทนต์ออกมาก็จะไม่แข็งมากเป็นธรรมชาติ
อีกอย่างก็คือ การที่ได้รู้ว่าคนอื่นเขาหันมาทำ Story กันจริงจังแล้ว ก็มีโอกาสช่วยเป็นแรงผลักดันให้เราพยายามกับมันจริง ๆ ก็ได้
3. พยายามเล่น คุยกับเพื่อน จะได้เข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของ Platform ใช้ Story กระตุ้นบนทนทนา จนเกิดความ Addictive
ขยายความจากข้อแรก ในการ active บน Instagram นั้น อย่าแค่ว่าลง ๆ ส่ง ๆ ไป ปกติแล้ว Social Media ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram ออกแบบมาบนฐานแนวคิดเดียวกันคือ Addictive หรือทำยังไงก็ได้ให้ติด เล่นแล้ววางไม่ลง หรือถ้าวางลงแล้วก็จะต้องหาโอกาสกลับเข้าไปเช็คบ่อย ๆ เพราะได้เห็นสิ่งที่เราอยากเห็น และมีความคาดหวังว่าจะได้เห็นสิ่งที่ตัวเองคาดหวังไว้ (ลองจินตนาการดูว่าในแต่ละวันเราหยิบมือถือมาเช็คทำไม) IG Story ก็เหมือนกัน ภาวะนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าเราไม่ได้ฟอลในสิ่งที่เราอยากจะดู หรือได้เห็น ได้พูดคุยในสิ่งที่เราอยาก การที่รอคนมา Reply Story ก็เช่นกัน
ดังนั้นถ้าเราสามารถไปถึงภาวะที่ Addictive กับคอนเทนต์ที่เราทำหรือเป็นส่วนหนึ่งบน Instagram ได้แล้ว ก็แปลว่าเรากำลังจะเป็นชาว Instagram จริง ๆ และงานที่ออกมาบนฐานของความเข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของ Platform ก็จะดีขึ้นแน่ ๆ
4. อย่าแค่รู้สึกว่า Story ลงไปวันเดียวก็หายจะลงทำไม ลงไปเถอะให้เป็นนิสัย และลองเก็บ Story ที่ชอบเป็น Highlight ดู
ผู้เขียนได้ลองพูดคุยกับหลาย ๆ คนที่ใหม่กับ Story หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ลงแล้ววันเดียวก็หายแล้วจะได้อะไร จริง ๆ แล้ว ลองมองมุมกลับดูในแง่ของผู้ใช้ มันหมายความว่าเราเลือกที่จะจดจำ “เฉพาะเรื่องราวที่สำคัญ” ต่างหาก สิ่งนี้คือความ Selective คนเลือกที่จะ Reply หรือเจ้าของ Story เลือกที่จะเก็บเป็น Highlight ไว้ดู และความ Selective นี้เองที่ทำให้ Story ตอนที่เราเดินอยู่บนถนนแถวบ้าน กับเดินอยู่บนถนนที่ญี่ปุ่น มี Value แตกต่างกันโดยที่ทั้งคู่มาจากมุมมองเดียวกันคือเดินบนถนน และเรารู้สึกว่าเราต้องเก็บเวลานี้ไว้แชร์ ในขณะที่เราก็อยากบอกเพื่อนด้วยว่าวันนี้เราเดินอยู่บนถนนแถวบ้าน แต่ก็แค่ให้มันสำคัญแค่ ณ ตอนนั้นเท่านั้นเอง
มองไปถึงการทำ Content ในฝั่งของ Publisher เองก็ด้วย ลองมองหาความ Selective ของคอนเทนต์แนวนี้แล้วนำไปปรับใช้ดู
5. ใช้แอคของเรา (ที่เป็น Pubisher, Blogger, แบรนด์) คุยกับคนจริง ๆ แล้วจะรู้ว่า Instagram คือสุดยอดเครื่องมือของการเก็บ Feedback ในระดับ Intimate
จริง ๆ แล้ว Story นี่แหละ แทบจะเป็นเครื่องมือในการสร้างและกระตุ้นบทสนทนาชั้นดี ย้อนกลับไปดูบทความ แชร์ประสบการณ์ ทำถามตอบใน Story ของ Instagram เครื่องมือชั้นดีในการวิเคราะห์ Audience และ 5 เทคนิค ใช้ Instagram Story ช่วยทำ Survey รู้จักผู้ติดตามเรามากขึ้น เราจะพบว่าความสามารถในการสื่อสารในระดับที่ค่อนข้าง Intimate กับผู้ติดตามช่วยให้มันสร้างบทสนทนาได้ดีในระดับเดียวกับการ Chat (แม้ว่ามันจะเป็นการ Reply Story ก็ตาม) แต่สามารถควบคุมภาพรวมของการสนทนาได้ดีในระดับ Social Media เป็นแนวโน้มใหม่ที่ก็เพิ่งเกิดขึ้นมาในยุคนี้ ไม่ใช่แค่การ Comment ปกติแบบเว็บบอร์ด หรือบน Facebook แต่มีความเป็นส่วนตัวสูง
ดังนั้น การใช้ IG คุยกับคนจริง ๆ อาจจะช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองต่อการทำคอนเทนต์บน IG เลยก็ว่าได้
จะเห็นว่าทั้งหมดนี้เรามุ่งเน้นไปที่ความเข้าในตัว Platform มากกว่าวิธีการหรือเครื่องมือ เพราะสุดท้ายแล้ว การที่เราจะทำคอนเทนต์ดี ๆ ลงในไหนได้ก็แปลว่าเราเข้าใจพื้นฐาน ธรรมชาติของมันได้เป็อย่างดี และสามารถตั้งวัตถุประสงค์ เลือกเครื่องมือ และประเมิน ในการทำคอนเทนต์แต่ละตัวได้ IG Story แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่หลายคนคิดว่ายังใหม่อยู่ แต่ถ้ามองในแค่ของ Future Proof แล้ว การเรียนรู้ไว้สำหรับคนที่ยังอยากสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่อาจจะย้ายมาอยู่บน Instagram ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากเลยทีเดียว
เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER