GoogleSocial

Avatar

Nokkaew November 25, 2019

Fact Check Explorer เครื่องมือเช็กข่าวปลอมจาก Google เช็กข่าวปลอมได้ทั่วโลก

Fact Check Explorer เป็นเครื่องมือจาก Google สำหรับเช็กข่าวปลอม โดยนำข้อมูลมาจาก APIs ขององค์กรที่ดูแลเรื่องข่าวปลอมและสื่อชื่อดังทั่วโลก ทำให้เราสามารถค้นหาเรื่องราวที่เราสงสัยได้จากเครื่องมือตัวนี้

ลองใช้งาน Fact Check Explorer

การใช้งาน Fact Check Explorer นั้นง่ายมาก เพียงแค่เข้าไปที่ https://toolbox.google.com/factcheck จากนั้นใส่ keywords เกี่ยวกับเนื้อข่าวที่เราต้องการลงไปในช่องค้นหา คล้ายกับการค้นหาผ่าน Google เลย

หากมีองค์กรหรือสื่อที่เคยพูดถึงเรื่องดังกล่าว ก็จะขึ้น list รายการขึ้นมา มีรายละเอียดตั้งแต่หัวข้อข่าว, เนื้อหาข่าว, รูปภาพ, rating (ระดับการเผยแพร่) และองค์ที่ยืนยันข่าวนี้ว่าเป็น true หรือ false

 

Fact Check Explorer นำข้อมูลมาจากไหน?

รายการข่าวปลอมที่ปรากฏขึ้นมาหลังจากที่เราค้นหา ไม่ได้มาจาก Google เอง แต่มาจากสำนักข่าวใหญ่ที่ดูแลเรื่อง Fake News ในแต่ละพื้นที่ ที่ทาง Google คัดเลือกเข้ามา ซึ่งเชื่อถือได้แน่นอน

อย่างเช่น AFP Fact Check เครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับโลก (International Fact Checking Network หรือ IFCN) ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หรือ India Today สื่อสำนักใหญ่ของประเทศอินเดีย

 

Fact Check Markup Tool สามารถ claim reviews บทความบนเว็บไซต์เราได้

เราสามารถนำบทความของเว็บไซต์ตัวเองเพื่อเข้าไปให้องค์กร claim review ได้ด้วย ว่าเนื้อหานั้นเป็นเรื่องจริง ที่เมนู Markup Tool

แต่ไม่ใช่อยู่ๆ จะใส่ URL ของเว็บอะไรลงไปก็ได้นะ ต้องแสดงความเป็นเจ้าของเว็บไซต์ผ่าน Google Search Console ซะก่อน จากนั้น login ด้วย Google account ที่ใช้งานกับ Google Search Console จะพบกับลิสต์เว็บไซต์ที่เราสามารถนำ URL ของเว็บเราไปใส่ได้

 

Fact Check Explorer ใช้กับภาษาไทยได้ด้วยนะ

ตอนนี้บ้านเรามีสื่อที่อยู่ในลิสต์ของ Google เรียบร้อย อย่างชัวร์ก่อนแชร์ของ mcot และอย่างที่เราทราบกันว่า AFP Fact Check กำลังจะเริ่มทำข่าวในประเทศไทยแล้ว (อ่านเพิ่ม : สำนักข่าว AFP เปิดรับสมัครตำแหน่ง Fact Checker ในไทย) เดี๋ยวเราจะนำมาอัปเดตกันอีกครั้ง

แต่เท่าที่ลองค้นหาด้วย keywords ภาษาไทย ยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก ไม่แน่ใจว่าเป็นปัญหาที่ส่วนไหน แต่ถ้าค้นหาข่าวล่าสุดโดยเลือกภาษาไทย พบว่ามีข่าวที่เป็นภาษาไทยเยอะอยู่เหมือนกันนะ คาดว่าอนาคตน่าจะใช้ได้ดีมากขึ้น


เรื่องของ Fake News เป็นเรื่องใกล้ตัว และเป็นหน้าที่ของทุกคนที่รู้เท่าทันในการสร้างภูมิคุ้มกันในการเสพสื่อให้กับคนรอบตัว ทุกวันนี้ข่าวปลอมยังเป็นอาวุธราคาถูกที่มีศักยภาพสูงอยู่ คงจะไม่ดีหากต้องมีหน่วยงานหรือสื่อมาคอยจิ้มให้ดูว่าอันไหนเป็นข่าวปลอมตลอดไป มันจะต้องเป็นแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน?

ดังนั้น ผู้เขียนเชื่อว่าการให้ความรู้เป็นการป้องกันที่ดีและยั่งยืนที่สุด มาช่วยกันครับ

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save