เรียกได้ว่า ZOOM เป็นอีกหนึ่งโปรแกรม Video Conference ที่ตอบโจทย์การประชุมออนไลน์ในช่วง Work From Home ได้เป็นอย่างดี ด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลายพร้อมเติมเต็มประสบการณ์การประชุมให้สมจริง แม้ประชุมผ่านวิดีโอ
ด้วยความสะดวกสบายที่สามารถใช้งานได้ทั้งบนเดสก์ท็อป โทรศัพท์ หรือบนเว็บเบราว์เซอร์ ทั้งยังมีรูปแบบการประชุมให้เลือกตามจำนวนคน ได้ตั้งแต่การประชุมแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ไปจนถึงการประชุมระดับองค์กรเลยทีเดียว
แต่คราวนี้หลายคนคงสงสัยกันใช่มั้ยล่ะคะ ว่า ZOOM Meetings มันมีกี่แบบกันแน่ แล้วแบบฟรีกับแบบเสียเงินมันต่างกันยังไง วันนี้ RAiNMaker จะมาสรุปรูปแบบการประชุมแต่ละแบบให้เห็นชัดๆ กันไปเลย จะได้นำไปพิจารณาเลือกให้เข้ากับการใช้งานกันค่ะ
Basic
เริ่มกันที่แบบเบสิกหรือแบบฟรี! เป็นการประชุมแบบสร้างห้องประชุมส่วนตัวขึ้นมา สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมกันได้ถึง 100 คน และประชุมในนานสุด 40 นาทีด้วยกันค่ะ แต่หากเป็นการประชุมแบบหนึ่งต่อหนึ่ง สามารถประชุมได้แบบไม่จำกัดเวลาเลย! ซึ่งแบบนี้ก็จะเหมาะกับการประชุมในระยะเวลาสั้นๆ และจำนวนคนไม่เยอะมาก หรืออาจจะเหมาะกับวัยเรียนที่ใช้เวลาคุยงานกลุ่มบ้างเป็นครั้งคราว
PRO
ต่อมาอัปเกรดขึ้นมาหน่อย เป็นการประชุมที่รองรับผู้เข้าร่วมประชุมสูงสุดได้ 100 คนเหมือนกัน แต่! สามารถประชุมได้นานสุดถึง 30 ชั่วโมงด้วยกัน แถมยังสามารถสตรีมมิงผ่านโซเชียลมีเดียทั้ง Facebook และ YouTube ได้อีกต่างหาก
ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านั้นแบบ Pro ยังสามารถเก็บข้อมูลการระชุมบน Cloud ได้ โดยมีพื้นที่เก็บ 1GB ต่อ 1 License ซึ่งอัดได้ประมาณ 3-5 ชั่วโมงต่อ 1GB เรียกว่าเหมาะกับการประชุมที่ยกระดับขึ้นมาหน่อย แน่นอนว่ามีฟีเจอร์เพิ่มขึ้นมาแบบนี้ก็ต้องเสียเงินค่ะ ราคาอยู่ที่ 149.90 ดอลลาร์ต่อปี หรือประมาณ 4,500 บาทต่อปีนั่นเอง
BUSINESS
เข้าสู่การประชุมระดับธุรกิจ เป็นแพ็คเกจที่เหมาะกับธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เพราะสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้สูงสุดถึง 300 คน แถมยังมีฟีเจอร์ Managed Domains ที่สามารถลงทะเบียนใช้งานด้วยอีเมลของบริษัทได้ มี Company Branding ที่สร้าง Landing Page เป็นรูปโลโก้หรือพื้นหลังของบริษัทตัวเองก็ยังได้!
ทั้งยังสามารถ Single Sign-On ล็อกอินบัญชีที่มีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องสร้างซ้ำ รวมถึงมีฟีเจอร์อื่นๆ แพ็คเกจโปร สำหรับราคาจะอยู่ที่ 199.90 ดอลลาร์ หรือประมาณ 6,000 บาทต่อปี
ZOOM UNITED BUSINESS
เหมาะกับทั้งการประชุม โทรศัพท์ และแชต ราคาอยู่ที่ 350 ดอลลาร์ หรือประมาณ 10,500 บาทต่อปี
โทรศัพท์
โดยบนโทรศัพท์มือถือจะรวมทุกฟีเจอร์ที่มีใน Zoom United Pro มีการรองรับการโทรแบบไม่จำกัดภายในประเทศที่เลือก หรือจะเลือกตัวเลือกเสริมเพื่อเพิ่มการโทรแบบไมจำกัดได้มากสุดถึงอีก 18 ประเทศก็ได้เช่นเดียวกัน
การประชุม
สามารถประชุมพร้อมกันได้สูงสุดถึง 300 คน มีระบบ Single Sign-On, Managed Domains และ Company Branding ที่เหมือนกับแพ็คเกจ Business แต่จะมีฟีเจอร์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาคือ Recording Transcripts ระบบแปลงเสียงการประชุมให้เป็นตัวหนังสืออัตโนมัติ เพื่อจดบันทึกการประชุม ทำให้สะดวกในการค้นหาประเด็นที่ประชุมได้อย่างง่ายดาย
ENTERPRISE
แบบสุดท้าย เหมาะกับการประชุมขนาดใหญ่แบบองค์กร สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้สูงสุดถึง 500 คน สามารถใช้งาน Cloud Storage แบบได้แบบไม่จำกัด งานนี้จะอัดการประชุมนานขนาดไหนก็ไม่ต้องกลัวพื้นที่ไม่พอแล้วค่ะ! และมีฟีเจอร์ Recording Transcripts รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ แบบ Business เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยัง Customer Success Manager เพิ่มขึ้นมาโดยเฉพาะอีกด้วย ราคาสำหรับแพ็คเกจนี้อยู่ที่ 240 ดอลลาร์ หรือประมาณ 7,200 บาทต่อปี
นอกจากนี้ ZOOM ยังมีฟีเจอร์และข้อดีอื่นๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็น ความชัดระดับ HD เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตที่น้อยกว่าโปรแกรม Video Conference อื่นถึง 2 เท่า หรือแม้แต่ฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การควบคุมผู้เข้าร่วมประชุมโดยสามารถปิดเสียงหรือกล้องได้, การแชร์หน้าจอที่สามารถแชร์ได้หลายจอ, ใส่พื้นหลังได้, สร้างห้องประชุมแยกได้ ตั้งค่าให้ใช้งานร่วมกับ Calendar ได้ รวมถึงสามารถรองรับ 49 คนต่อหน้าจอแสดงผล เป็นต้น
เรียกได้ว่า ZOOM เป็นอีกหนึ่งโปรแกรม Video Conference ที่อำนวยความสะดวกและตอบโจทย์การประชุมออนไลน์ในช่วง Work From Home แบบนี้ได้ดีเลยทีเดียว
ที่มา: ZOOM