กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา อิตาลี และญี่ปุ่น ร่วมด้วยสหภาพยุโรป บรรลุข้อตกลงเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติ ซึ่งรวมถึง Facebook, Google และ Amazon
ข้อตกลงภาษีมีผลอะไรบ้าง?
ข้อตกลงดังกล่าวจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกัน
ประการแรก บริษัทข้ามชาติซึ่งดำเนินการในหลายประเทศ จะต้องจ่ายภาษีที่มากขึ้นไม่ว่าจะขายผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไรก็ตาม
เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทข้ามชาติสร้างรายได้หลายพันล้านดอลลาร์ในแต่ละประเทศ แต่กลับเสียภาษีเพียงเล็กน้อย ด้วยการเลือกตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่าและนำผลกำไรไปเก็บไว้
อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข้อตกลงภาษี G7 บริษัทต่างๆ จะต้องถูกเก็บภาษีในทุกประเทศที่มีผลกำไรมากกว่า 10% ของรายได้ ซึ่งจะต้องจ่ายภาษี 20% จากผลกำไร
ประการที่สอง อัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ 15% บังคับใช้ทั่วโลก
เป้าหมายของข้อตกลงคือเพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกหยุดตัดราคาภาษีกันเองในการดึงดูดเงินลงทุนของบริษัทข้ามชาติ
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไอร์แลนด์ดำเนินนโยบายดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ โดยให้ตั้งสำนักงานใหญ่ที่นั่น ด้วยข้อเสนออัตราภาษีนิติบุคคลที่ 12.5% ขณะที่สหราชอาณาจักรอยู่ที่ 19% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 25% ภายในปี 2566
ข้อตกลงนี้สำคัญอย่างไร?
บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่แตกต่างจากอุตสาหกรรมแบบเก่า เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์และบริการไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นไปได้ยากสำหรับแต่ละประเทศที่จะดำเนินการเก็บภาษีเพียงลำพัง
หากประเทศใดประเทศหนึ่งพยายามขึ้นภาษีนิติบุคคล บริษัทต่างๆ ย้ายสำนักงาน และมักจะได้รับการต้อนรับจากประเทศอื่นด้วย
ข้อตกลงนี้จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยควบคุมผลประโยชน์ของทุกประเทศ ซึ่งเชื่อว่าทุกบริษัทต้องรับผิดชอบในการเสียภาษีจากผลกำไรที่ได้จากประชาชนในแต่ละประเทศ
แม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวยังจำกัดอยู่ในกลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ แต่เชื่อว่าในการประชุม G20 รวมถึงอื่นๆ จะเริ่มพูดถึงประเด็นนี้ และอีก 139 ประเทศจะพิจารณาเข้าร่วมข้อตกลงนี้มากขึ้น
ที่มา