ทวิตเตอร์แชร์ 6 เทรนด์ฮิตดันแบรนด์ยืนหนึ่ง เผยบทสนทนาโตกว่า 191%

ทวิตเตอร์ได้วิเคราะห์ทวีตในช่วง ปีที่ผ่านมา (ก.ค. 2018 – มิ.ย. 2021) และได้เจาะลึกลงไปในบทสนทนาของทวิตเตอร์ว่า พวกเขาเป็นใคร มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร รวมถึงเทรนด์ที่กำลังมาแรงคืออะไร จึงจัดทำรายงานชื่อว่า ‘Thailand TwitterTrends Report 2021′ ขึ้นมา

จากรายงานพบว่า 6 เทรนด์ที่กำลังเป็นหัวข้อบทสนทนาด้วยกัน ซึ่งเทรนด์ต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และหาวิธีการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มเอ็นเกจมากขึ้นจนนำแบรนด์ไปสู่ความสำเร็จ ซึ่ง 6 เทรนด์ที่กล่าวไป มีดังนี้

Wellbeing

ผู้คนจะไม่ปล่อยให้ชีวิตผ่านไปแบบง่าย ๆ อีกแล้ว บทสนทนาส่วนใหญ่พบว่าผู้คนใส่ใจเกี่ยวกับการมีชีวิตที่ดีขึ้น ถึง 16% ทั้งในด้านสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงการลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย การมองร่างกายตัวเองในเชิงบวก และการค้นหาตัวเอง

ดังนั้นแบรนด์จึงควรใส่ใจเรื่อง Wellbeing มากขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับความคิดของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจเรื่องความเครียด, Mental Health และสุขภาพ เป็นต้น

Creator Culture

วัฒนธรรมของครีเอเตอร์เติบโตมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่ครีเอเตอร์หน้าใหม่จนครีเอเตอร์มืออาชีพ จนทำให้บทสนทนาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของครีเอเตอร์เพิ่มขึ้นถึง 26% โดยเฉพาะเกมเมอร์ก็เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ทำให้ทวิตเตอร์กลายเป็นแพลตฟอร์มของคนที่ชื่นชอบการเล่นเกม

การที่คนล็อกดาวน์ ทำให้คนกลายเป็นเชฟที่บ้าน หรือเป็นฟรีแลนซ์ ซึ่งส่งผลให้มีบทสนทนาที่เกี่ยวกับครีเอเตอร์อาชีพต่าง ๆ มากขึ้นถึง 48% ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของแบรนด์ในการสร้างแรงบันดาลใจในการมอบเครื่องมือ หรือมอบโอกาส เพื่อช่วยสนับสนุนผลงานของเหล่าครีเอเตอร์

Everyday Wonder

ผู้คนบนทวิตเตอร์พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพิ่มขึ้นถึง 45%  ที่มีการพูดถึงวิธีการรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงมุมมองแง่บวกเกี่ยวกับอนาคต ด้วยการที่คนไทยอยากหลีกหนีจากความเครียดในชีวิตประจำวัน และก้าวออกไปยังโลกแฟนตาซี จึงทำให้เกิดบทสนทนาเกี่ยวกับโลกจินตนาการเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้บทสนทนาเกี่ยวกับซีรีส์วายยังเพิ่มขึ้นถึง 381% ในส่วนของการดูดวง สายมู และข้อความที่ให้กำลังใจก็ช่วยให้คนไทยปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บทสนทนาที่เกี่ยวกับด้านจิตวิญญาณในชีวิตประจำวันจึงเพิ่มขึ้น 10%

แบรนด์สามารถใช้โอกาสตรงนี้ช่วยสร้างความสุข เพื่อให้ผู้บริโภคหลีกหนีจากสถานการณ์ตึงเครียด ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายด้วยทวีตที่มีอารมณ์ขัน สนุกสนาน

One Planet

บทสนทนาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนลายเป็นเรื่องที่อยู่ในกระแสหลัก บทสนทนาที่เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นถึง 200% ซึ่งเป็น ทวีตเกี่ยวกับเรื่องขยะ คุณภาพอากาศที่เลวร้าย และการขนส่ง เนื่องจากคนไทยอยากหันมาใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แบรนด์มีโอกาสที่จะเป็นผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์และคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน โดยการสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างความยั่งยืน

Tech Life

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้คนไทยก้าวไปข้างหน้าตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้บทสนทนาเกี่ยวกับชีวิตด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 31% ซึ่งสามารถแบ่งเป็นเทรนด์ได้ 3 เรื่อง คือ ชีวิตแบบดิจิทัล การใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสิ่งดี ๆ

รวมถึงข้อจำกัดในการเดินทาง และการ Work from Home ทำให้ผู้คนไม่จำเป็นต้องมีรูทีนแบบเดิม ๆ อย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป ทำให้ผู้คนมองหาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ

เช่น มีการพูดคุยเกี่ยวกับ Smart Home,  ตัวช่วยด้านความบันเทิงในบ้าน, การชอปปิงออนไลน์ รวมถึงการสั่งอาหารเดลิเวอรีมากขึ้น

ดังนั้นแบรนด์จึงควรโฟกัสในสิ่งที่ตัวเองทำได้ดีที่สุดและให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียด เนื่องจากทุกสิ่งคือโอกาสในการสร้างความประหลาดใจและสร้างความสุขให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เสมอ

แต่ขณะเดียวกันก็ควรปรับปรุงประสิทธิภาพและปรับปรุงการมอบประสบการณ์ให้กลุ่มเป้าหมายด้วยการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน อาจใช้ AI มาช่วย เพื่อเสริมชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ เช่น การเรียนหรือทำงานออนไลน์

My Identity

ผู้คนมีความมั่นใจมากขึ้นและสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง บทสนทนาที่เกี่ยวกับ My Identity หรืออัตลักษณ์ของตนเอง จึงเติบโตขึ้น 72% นอกจากนี้ บทสนทนาที่เกี่ยวกับพลังของแฟนคลับเพิ่มขึ้น 21% เนื่องจากคนไทยให้การสนับสนุนไอดอลอยู่แล้ว

รวมทั้งบทสนทนาที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น เรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม, สิทธิมนุษยชน, LGBTQ+ และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีบทสนทนาที่เกี่ยวกับตัวเองและประเทศเติบโตขึ้นสูงถึง 260% เนื่องจากคนไทยมีความคาดหวังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับสังคม

แบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้ในการเชื่อมต่อระหว่างผู้คน โดยการแบ่งปันความสนใจและให้คุณค่าต่าง ๆ แบรนด์จำเป็นต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ในแง่ของพฤติกรรมและความชอบ มากกว่าค้นหาข้อมูลทางประชากรศาสตร์ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายได้

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save