แน่นอนว่าในบรรดาผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มีใครชอบเวลาหน้าเว็บโหลดช้า ผู้คนส่วนมากมักใช้เวลาในการรออยู่ในช่วง 1-3 วินาทีเท่านั้น ในฐานะผู้ดูแลเว็บไซต์จึงจำเป็นต้องหมั่นตรวจสอบ หาสาเหตุ และเร่งแก้ไขเพื่อไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความเร็วของการโหลดหน้าเว็บ เพื่อไม่ให้ไปขัดขวางหนทางสู่การติดอันดับในหน้าค้นหาบนกูเกิล
แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาหน้าเว็บไซต์โหลดช้าไม่ได้มีแค่อย่างสองอย่าง วันนี้เราเลยรวบรวมปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ทุกคนได้ลองไปตรวจสอบ และนำไปแก้ไขกับเว็บไซต์ตัวเองดกันค่ะ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
ปุ่มลิงก์โซเชียลมีเดีย
แม้จะเป็นปุ่มที่มีค่าบนเว็บไซต์ เพราะสามารถเชื่อมไปยังโซเชียลมีเดียช่องทางอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย แต่ก็เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความเร็วการโหลดหน้าเว็บไซต์อันดับแรก ๆ เช่นกัน เพราะฉะนั้นควรพิจารณาว่าทุกปุ่มที่ใส่ไปช่วยปรับปรุงการใช้งานหรือไม่ และเลือกใส่ปุ่มที่สำคัญจริง ๆ เท่านั้น เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่คุ้มค่าที่สุด
แท็กหรือเครดิตโฆษณา
พวกโฆษณาทั้งแบบ GIF และวิดีโอที่เล่นอัตโนมัติ ที่มีประโยชน์ด้านจำนวนคลิกและยอดวิว แต่สิ่งนี้แหละที่ทำให้หน้าเว็บไซต์โหลดช้าขึ้น แถมยังอาจลด Conversion ได้อีกด้วย ถ้าไม่รู้ว่าควรจะเอาอันไหนออกดี แนะนำให้ไปอ่านคำแนะนำจาก Google Webmaster Tools หรือตรวจสอบความเร็วการโหลดเว็บไซต์เบื้องต้นง่าย ๆ ด้วย Google Chrome ก็ได้เช่นกัน
Analytics Tags
ไม่ว่าจะใช้งาน Google Analytics หรือซอฟต์แวร์อื่น ๆ ก็ยังมีโอกาสที่คุณจะต้องติดตั้งแท็กบนเว็บไซต์อยู่ดี ปัญหาคือแท็กเหล่านั้นจะทำให้การโหลดหน้าเว็บไซต์ช้าลง เพื่อให้มั่นใจว่าแท็กเหล่านี้จะไม่ส่งผลต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ ให้ลองปิดการใช้งานระยะสั้นสัก 2-3 สัปดาห์ เพื่อดูว่ามีการปรับปรุงหรือไม่ หากไม่ม่ีการเปลี่ยนแปลงให้ลองหาสิ่งที่ทำให้โหลดช้าน้อยลง
บริการ Analytics เช่น Google Analytics เองก็มีการติดตามว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากผู้ชมออกจากเว็บไซต์ไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นการใช้ทรัพยากรค่อนข้างมากเกินจำเป็น หากไม่ต้องการข้อมูลส่วนนั้น อาจพิจารณาเลือกลบตัวเลือกเหล่านั้นออกจาก Google Analytics เพื่อป้องกันการโหลดหน้าเว็บไซต์ช้า
ภาพขนาดใหญ่เกินไป
แน่นอนว่าภาพประกอบเป็นองค์ประกอบสำคัญกับบทความ แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาโดยไม่จำเป็นคือ ภาพที่มีขนาดใหญ่เกินไป ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้หน้าเว็บไซต์โหลดช้าเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อผลลัพธ์การค้นหาอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นควรพยายามจำกัดไฟล์ของภาพไว้ที่ประมาณ 100KB จำไว้ว่าลดขนาดภาพทุกครั้งก่อนจะอัปโหลดลงบนเว็บไซต์!
หากเป็นภาพสกุล PNG หรือ JPEG สามารถใช้เครื่องมือการลดขนาดภาพ เช่น TinyPNG หรือ Lossless JPEG ที่จะลดขนาดภาพโดยคงคุณภาพเดิมไว้
HTML ที่มากเกินไป
ทุกหน้าเว็บไซต์ต้องประกอบด้วย HTML ก็จริง แต่โค้ดทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างมาเท่ากัน โค้ดที่มากเกินไปก็จะส่งผลให้หน้าเว็บไซต์โหลดช้า ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์หัวเสียแน่นอนหากต้องรอหน้าเว็บไซต์โหลดนาน
เพราะฉะนั้นจงจำไว้ว่ายิ่งมีโค้ดบนหน้าเว็บไซต์มากเท่าไหร่ โค้ดก็จะยิ่งโหลดช้ามากเท่านั้นในการประมวลผลข้อมูล
CSS ที่ไม่เหมาะสม
Cascading Style Sheet ภาษาที่เป็นส่วนของการจัดรูปแบบการแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น สีตัวอักษร สีพื้นหลัง หรือประเภทตัวอักษร เป็นต้น ถ้ามีสไตล์ CSS ที่มากเกินไปก็จะทำให้ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ช้าลง
ฟังก์ชันที่ใช้ Javascript
แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ส่วนมากเขียนด้วยจาวาสคริปต์เพื่อใช้งานบนเว็บไซต์ แต่ปัญหาคือจาวาสคริปต์มีประสิทธิภาพน้อยกว่าภาษาด้านเซิร์ฟเวอร์ เช่น PHP และ Java ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ต้องรอหน้าเว็บไซต์โหลดนานกว่านั่นเอง
แถมยังส่งผลเสียต่อ SEO อีกด้วย เพราะผู้คนจะไม่เปิดหน้าต่างทิ้งไว้หากหน้าเว็บไซต์ใช้เวลาโหลดนาน เพราะฉะนั้นควรใช้จาวาสคริปต์เท่าที่จำเป็น
ไม่เปิดการใช้งาน Caching
การ Caching คือ วิธีการปรับประสิทธิภาพระดับเซิร์ฟเวอร์ให้กับเว็บไซต์ เมื่อเข้าชมเว็บไซต์แล้วครั้งนึง องค์ประกอบต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ในแคช หรือที่เก็บข้อมูลชั่วคราว ทำให้ครั้งต่อไปที่เข้าชมเว็บไซต์ เบราว์เซอร์จะสามารถโหลดหน้าเว็บไซต์ได้โดยที่ไม่ต้องส่งคำขอ HTTP อื่นไปยังเซิร์ฟเวอร์อีกครั้ง
ที่มา : Red Website Design