Google หรือเครื่องมือ Search Engine อันดับหนึ่งของโลกที่มีการอัปเดตพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเสิร์ชหาบนโลกอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ เพราะพวกเขามีความสนใจ และความต้องการแปรผันไปตามยุคสมัย เช่นเดียวกับ SEO (Search engine optimization) ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกัน วันนี้ RAiNMaker เลยอยากมาชวนส่อง 11 เทรนด์ SEO ปี 2022 จากแหล่งคอนเทนต์การตลาดดี ๆ อย่าง Content Shifu ด้วยกัน!
สำหรับการทำการตลาด หน้าเสิร์ช และการทำ SEO ก็เป็นสิ่งที่คนดูแลเว็บไซต์ และนักการตลาดทั้งหลายต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กับคอนเทนต์ภายในเลย เพราะหากอยากให้ SEO ของเว็บไซต์มีคุณภาพ จนสามารถไต่อันดับเว็บหน้าเสิร์ชได้ ทั้ง 11 ข้อต่อไปนี้ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้เอาไว้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อไป
MUM Algorithm
พัฒนาเนื้อหาให้มีทั้ง “คำถาม” และ “คำตอบ”
“MUM” หรือ (Multitask Unified Model) คือ อัลกอริทึมใหม่ของ Google ที่จะช่วยทำให้เข้าใจข้อมูล และความหายของคำที่ต้องการจะเสิร์ช และได้คำตอบที่ตรงจุดมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี AI ที่ล้ำกว่าเดิม โดย MUM ทำได้ทั้งเข้าใจ และตอบคำถามที่ซับซ้อน พร้อมฟีเจอร์แปลภาษาอัตโนมัติ, รองรับการเสิร์ชด้วยเสียงหรือการค้นหาด้วยภาพ รวมถึงรองรับ Online Shopping มากยิ่งขึ้นด้วย
ฉะนั้นการทำ SEO ต้องพัฒนาให้เนื้อหาของบทความมีทั้ง “คำถาม” และ “คำตอบ” อยู่เสมอ แต่ก็อย่าลืมรักษาความเป็นธรรมชาติของเนื้อหาเอาไว้ด้วย เพื่อให้ตอบโจทย์กับการเสิร์ชด้วยเสียง และนำไปสู่การค้นหาของ MUM ที่จะเจอเว็บของเราง่ายกว่าเดิม
Core Web Vitals
จัดอันดับเว็บไซต์ตาม Page Experience
Core Web Vital หมายถึง ปัจจัยที่ Google มองว่าจะช่วยมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้ยูสเซอร์ได้ ผ่านการจัดอันดับ 3 ตัวในหมวด Page Experience คือ
- Largest Contentful Paint (LCP)
การวัดคะแนนจากการใช้เวลาดาวน์โหลดเข้าหน้าเว็บ หากยิ่งตอบสนองเร็ว ยูสเซอร์ก็ยิ่งพึงพอใจ ซึ่ง LCP ที่ดีอยู่ที่ ไม่เกิน 2.5 วินาที เมื่อหน้าเพจกำลังโหลด
- First Input Delay (FID)
วัดความเร็วเมื่อยูสเซอร์คลิกปุ่มตอบสนองกับหน้าเพจ โดยค่า FID ควรได้น้อยกว่า 100 มิลลิวินาที
- Cumulative Layout Shift (CLS)
คะแนนที่วัดความเสถียรของหน้าเพจ ซึ่งภาพหรือฟีเจอร์ต่าง ๆ ต้องไม่โหลดช้าหรือกระตุก ซึ่งค่า CLS ที่ดีควรน้อยกว่า 0.1
โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์ของตัวเองได้ที่ : Core Web Vital
Search Intent Optimization
เดาคีย์เวิร์ดการเสิร์ชของกลุ่มเป้าหมายให้ตรง
โดยปกติแล้วการทำ SEO สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงอยู่เสมอคือการทำ ‘Keyword Research’ หรือคีย์เวิร์ดที่กลุ่มเป้าหมายใช้เสิร์ช พร้อมกับเช็ก Search Volume ไปด้วยว่ามันสูงมากพอที่คนเสิร์ชแล้วจะเข้ามายังเว็บไซต์หรือไม่
แต่วันนี้คีย์เวิร์ดที่ว่านั้นอาจไม่เพียงพอต่อการทำ SEO เพราะต้องอ่านหรือเดาใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้ด้วยว่าความต้องการของพวกเขา จะนำไปสู่การเสิร์ชอย่างไรบ้าง ดังนี้
- Commercial Intent Keyword – คีย์เวิร์ดทางการค้า เช่น ซื้อ จอง ขาย หรือร้าน
- Product Keyword – คีย์เวิร์ดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น ชื่อสินค้า รุ่น และยี่ห้อ
- Question Keyword – คีย์เวิร์ดคำถามพื้นฐาน เช่น คืออะไร ทำอย่างไร ดีไหม เป็นต้น
- Niche long-tail Keyword – คีย์เวิร์ดเฉพาะเจาะจง เช่น รองเท้าผู้หญิง หรือผักออแกนิก เป็นต้น
- Buyer Journey Keyword – คีย์เวิร์ดตามการตัดสินใจของลูกค้า เช่น กำลังสนใจ เลือกซื้อ อยากรู้ หรือสงสัยปัญหา
จะเห็นได้ว่าคีย์เวิร์ดแต่ละข้อ ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ผู้คนอยากรู้ หรือต้องการคำตอบ โดยจะต้องใส่ความต้อการ (Intent) เข้าไปเสมือนจำลองการเสิร์ชของกลุ่มเป้าหมาย ก็จะทำให้ ผลลัพธ์หรือ Conversion rate ได้จาก Traffic มีคุณภาพมากกว่าเดิมด้วย
LSI Keyword
เพิ่มบริบทให้คำในการเสิร์ช
เพราะการทำ SEO คือการที่มีคอนเทนต์ตอบโจทย์ และตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฉะนั้นคอนเทนต์หรือบทความจะต้องเพิ่มบริบท (Context) เข้าไป ด้วยการแทรก LSI Keyword หรือคำค้นที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
ซึ่ง LSI Keyword (Latent Semantic Indexing) คือสิ่งที่ Google ต้องใช้ในการทำความเข้าใจ และสิ่งที่คอนเทนต์หน้านั้น ๆ ต้องการสื่อสารจริง ๆ เช่นคำว่า ‘Apple’ สามารถเป็นได้ทั้งชื่อของผลไม้ และยี่ห้อผลิตภัณฑ์ไอที ดังนั้นเราจึงต้องหาคำที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดนั้นให้มาก ๆ เข้าไว้ ผ่านการเช็กจากGoogle Search Intent, Search related to หรือ Suggested Keyword จาก Keyword Research Tool มาแทรก และทำให้คีย์เวิร์ดนั้นกระจายตัวอยู่ในหน้าเพจให้ได้ เพื่อากรตรวจจับที่ตรงจุดมากขึ้นเมื่อเสิร์ชเจอ
Voice Search
ปรับภาษาคอนเทนต์เป็นลิสต์ลักษณะถาม – ตอบ
สมัยนี้แนวโน้มการเสิร์ชด้วยเสียงนั้นเริ่มมีเปอร์เซ็นต์ที่เติบโตขึ้น เพราะแม้แต่ Google เองก็เริ่มที่จะเข้าใจภาษาไทยมากขึ้นแล้วด้วย แต่ไม่ใช่แค่ใน Google Assistant เท่านั้น เพราะการมาเยือนของ IoT (Internet of Things) และอุปกรณ์อัจริยะก็เริ่มที่จะสามารถสั่งการได้ด้วยเสียงเป็นพื้นฐานแล้ว
ฉะนั้นการทำ Search query เพื่อ Voice Search จึงควรมีคีย์เวิร์ด หรือประโยคที่ธรรมชาติเสมือนกับเวลาพูดให้มากที่สุด เช่น คืออะไร ทำไม ที่ไหน ดีไหม วิธีทำ และใกล้ฉัน เป็นต้น โดยสามารถทำใ้เป็นลักษณะถามตอบแบบลิสต์สั้นกระชับ และทำ Mobile-Friendly ด้วย เพราะสมาร์ตโฟนคืออุปกรณ์ที่คนใช้เสิร์ชด้วยเสียงมากที่สุด
Video Content Search
เช็กการเสิร์ชคอนเทนต์วิดีโอเสมอ
เนื่องจากการเติบโตของคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในโลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็น TikTok, Reels, Instagram Stories และ YouTube Shorts ก็ตาม ต่างก็ถูกผลักดันให้ขึ้นเป็นตัวเลือกแนะนำหน้า ‘Videos Suggestion’ แรก ๆ บนหน้าเสิร์ชของเว็บไซต์แล้ว
นอกจากนี้การนำคอนเทนต์วิดีโอมาแปะ (Embed) ในบทความหน้าเพจก็ยิ่งจะทำให้หน้าเพจเกิด “Rich” ที่ดูสมบูรณ์ขึ้น และส่งผลดีต่อคะแนน Authority ของหน้าเพจได้เช่นกัน
E-A-T
สร้างความน่าเชื่อถือให้เว็บไซต์
E-A-T คือ Expertise, Authoritativeness และ Trustworthiness ปัจจัยสำคัญที่ Google สนับสนุนให้ทำอยู่บนเว็บไซต์เสมอ เช่น
- ความเชี่ยวชาญ (Expertise)
เพิ่มความเชี่ยวชาญให้เว็บไซต์ด้วยคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ และมีข้อมูลลงเชิงลึกให้กลุ่มเป้าหมายได้เสพคอนเทนต์จากเราที่รู้ลุก และรู้จริงในคอนเทนต์ที่กำลังเล่าอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ดูเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ทันทีทั้งในสายตาของกลุ่มเป้าหมาย และ Google ด้วย
- ความมีอิทธิพล (Authoritativeness)
ควรทำให้เว็บไซต์ได้ Backlink จากคอมมูนิตี้เดียวกันหรือจากสื่ออื่นกลับมาเยอะ ๆ หรือทำให้เว็บไซต์ถูกเมนชันเกี่ยวกับเนื้อหาของเรามากขึ้นก็ได้เช่นกัน เพราะจะช่วยทำให้เว็บไซต์ทำอันดับได้ดีขึ้น
แต่การ Backlink มีเกณฑ์ที่สามารถวัดได้ คือ เว็บไซต์ที่ลิงก์มายังเว็บไซต์ของเรามีพลัง Domain Authority สูง ก็จะทำให้เว็บไซต์ของเราน่าเชื่อถือไปด้วย ในขณะเดียวกันก็ควรเป็นเว็บไซต์ที่อยู่คอมมูนิตี้เดียวกัน หรือเป็นลิงก์ที่มีคนใช้งานจริงด้วย
- ความน่าเชื่อถือ (Trustworthiness)
การอ้างอิงเว็บไซต์ในคอนเทนต์นั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้เว็บไซต์ของเราน่าเชื่อถือจากการให้เครดิตผู้อื่น หรือหากมีที่อยู่ หรืออีเมลที่ติดต่อได้ชัดเจน ก็จะเพิ่มความน่าเชื่อถือเข้าไปอีก
Featured Snippet
มี Keyphrase ถามตอบแบบ Listing
Featured Snippet หรือ ตำแหน่งการ์ดตัวอย่างข้อมูลที่ปรากฏขึ้นมาก่อนรายชื่อเว็บไซต์อันดับแรกที่ Google คัดเลือกขึ้นมาเพื่อให้คำตอบผู้เสิร์ชแบบเร็ว ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องไต่อันดับมาเรื่อยๆ ก็มีโอกาสขึ้นหน้าแรกเป็น Featured Snippet ได้
แต่ต้องทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์สามารถตอบคำถามได้ดี และมีสิ่งที่ผู้ใช้งานอยากอ่านเพิ่ม แค่นี้เว็บไซต์ก็จะได้ Traffic พร้อมทั้งสามารถแย่งชิง Traffic ไปจากเว็บไซต์ที่อยู่อันดับหนึ่งได้ด้วยนะ
Local Search
อัปเดตข้อมูลบน Google My Business ให้ครบ
อย่าลืม! หากธุรกิจ หรือแบรนด์ไหนมีเว็บไซต์ ให้ใส่ข้อมูลทางธุรกิจ หรือช่องทางการติดต่อให้ครบถ้วนเสมอ พร้อมกับยืนยันที่อยู่พร้อมใส่รูปประกอบ อัปเดตเวลาทำการอย่างสม่ำเสมอ และจัดการรีวิว บน Google My Business ให้ครบ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ Local Search แสดงผลได้แม่นยำมากขึ้นแล้ว
Social Listening
ฟังเสียงตอบรับใน Social จากหลายช่องทาง
การฟังเสียงตอบรับในโลกโซเชียลจากหลากหลายช่องทาง จะช่วยลดต้นทุนในเรื่องของเวลาให้เราได้ เพราะข้อมูลที่เป็นประโยชน์เหล่านั้นสามารถนำมาปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาด และเสิร์ฟคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายด้วย
Mobile Responsive
ทำให้เว็บไซต์ตอบโจทย์กับสมาร์ตโฟน
หลายครั้งที่เว็บไซต์มีหน้าตาที่สวยงาม และดีไซน์น่าจดจำ แต่มาตายรังเพราะไม่มีการแสดงผลสำหรับสมาร์ตโฟน ดังนั้นเรื่องของ “Mobile First” จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงไม่แพ้กันในการทำ SEO เพราะยุคสมัยนี้ ผู้คนมีพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนเสมือนอวัยวะที่ 33 ไปแล้ว
และแม้หน้าตาเว็บไซต์ของเดสก์ท็อป และสมาร์ตโฟนจะมีความแตกต่างของ UX (User Experience)ไปบ้าง แต่อุปกรณ์ที่เข้าถึงเว็บไซต์ก็ส่งผลต่อการคัดเลือกเว็บไซต์ของ Google ขึ้นมาแสดงเช่นกันนะ ฉะนั้นเว็บไซต์ของใครยังไม่ Mobile-friendly คงจะเสียโอกาสนี้ไปอย่างแน่นอน
จากทั้ง 11 เทรนด์ที่บอกมานั้นนับเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการทำ SEO ให้เว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี เพราะเรื่องของการทำ SEO นั้นไม่ได้เข้าใจยากอย่างที่คิดหากลองเปิดใจที่จะทำความเข้าใจ และใช้มันกับกลยุทธ์ทางการตลาดบนเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มการมองเห็นของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า ก็คงจะมีเทรนด์หรือวิธีการใหม่ ๆ มาให้ปรับตัวกันแน่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก Content Shifu : “แหล่งคอนเทนต์ดีๆ เพื่อการเรียนรู้ Digital Marketing”