จากตอนแรกที่อินเทอร์เน็ต และโลกออนไลน์เป็นเพียงแค่ส่วนเสริมในโลกโซเชียลเท่านั้น เพราะทุกอย่างล้วนเป็น Social Commerce ดังนั้นคนที่ทำคอนเทนต์ต้องส่งการสื่อสารเหล่านั้นออกไปได้อย่างแหลมคม และวัดผลได้ด้วย โดยเฉพาะกับ TikTok แพลตฟอร์มคอนเทนต์แบบ Short Video ที่กำลังมาแรงแซงทุกแอป ทำให้ทุกวันนี้อยู่ในยุคของข้อมูลไม่ต่างจากโลกของ The Matrix ที่ทำให้การเสพสื่อ หรือเทรนด์ต่าง ๆ ในปัจจุบันมีโซเชียลเป็นช่องทางหลักในการรับรู้ข่าวสาร และการซื้อขายสินค้ามันครบลูป แบรนด์จึงต้องสื่อสารให้ผู้บริโภคแบบ One Stop Place ด้วย เพราะสิ่งที่คนพูดถึงกันในโลกโซเชียล เป็นยอดเอ็นเกจเมนต์ชั้นดีที่สามารถนำมาประมวลผล และศึกษาข้อมูลได้ ทาง RAiNMaker เลยสรุป Outlook by ‘TikTok’ เจาะอินไซต์เทรนด์คอนเทนต์มาแรงปี 2022 มาให้ที่นี่แล้ว!
คอนเทนต์ที่โดดเด่นในปีนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนหนึ่งเกิดไวรัลได้เพราะแพลตฟอร์ม TikTok ทำให้ปัง และหลาย ๆ แบรนด์ ศิลปิน รวมถึงอินฟลูเอนเซอร์ต่างก็เริ่มคิดคอนเทนต์แบบ Short Video โดยเฉพาะมาใช้กับแอปนี้เพื่อเรียกยอดเอ็นเกจเมนต์จากผู้คน แต่ประเภทคอนเทนต์ไหนที่โดนใจคนดูมากที่สุดแห่งปีจะมีอะไรบ้าง? ตามมาเช็กกันเลย!
TikTok 2021 Trend
เพราะสถานการณ์โควิด ทำให้ทุกคนที่มีความเครียดอยากปลดปล่อยตัวเองออกมาบนโลกโซเชียล รวมถึงมีความใส่ใจในความเป็นเพื่อนมนุษย์กันมากขึ้น นอกจากนี้ประเด็นอย่างความหลากหลาย และความเท่าเทียมทางเพศ แม้กระทั่งสิ่งแวดล้อม ผู้คนก็ให้ความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน เพราะผู้คนจะเริ่มมองหาความสุขให้ตัวเอง การผลิตคอนเทนต์ Entertainment เลยตอบโจทย์ผู้คน และทำให้การอยู่บ้านไม่น่าเบื่อ รวมถึงโลกของ Metaverse และ Mental Health หรือ Well Being ก็กลายเป็นสิ่งที่พวกเขาคำนึงถึงมากขึ้นด้วย ดังนั้นเทรนด์ของประเภทคอนเทนต์ใน TikTok จึงมีหลากหลายให้แบรนด์ เอเจนซีและเหล่าครีเอเตอร์นำไปประยุกต์ใช้กันได้เลย!
- Entertainment: สำหรับคอนเทนต์ความบันเทิง ผู้คนเริ่มไม่ใช้เวลาไปกับการนั่งดูหนังหรือซีรีส์ยาว ๆ อีกต่อไปแล้ว เพราะ TikTok ตัดไฮไลต์สำคัญมาให้ดูได้เพียงแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นประเภทคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจ และรีแอ็กชันเยอะในปัจจุบัน เพราะมีความสั้น และรวดเร็วนั่นเอง
- Edutainment: คอนเทนต์เรื่องการให้ความรู้ หรือการศึกษาอาจจะฟังดูน่าเบื่อ หรือเป็นไปไม่ได้ที่จะมีคนมานั่งฟังทฤษฎีแบบจริงจัง โดยเฉพาะกับสายอาชีพต่าง ๆ แต่ TikTok เป็นแอปที่มีคอนเทนต์การให้ความรู้แบบกระชับ และเข้าใจง่ายเยอะพอ ๆ กับคอนเทนต์ให้ความบันเทิงเลย และหากเป็นคอนเทนต์ที่คนเข้าถึงยาก แต่นำมาย่อยง่าย ก็ยิ่งมีโอกาสสูงที่คนจะไม่ปัดเลื่อนผ่านแน่นอน
- Community: ไม่ว่าสังคมกำลังสนใจประเด็นม็อบ, Real Size Beauty หรือ LGBTQIA+ อยู่ก็ตาม การทำคอนเทนต์เพื่อคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะนั้นจะเป็นอะไรที่ตอบโจทย์และให้ยอดเอ็นเกจเมนต์ได้ดี แม้จะเป็นกลุ่มคนที่มีคอมมูนิตี้อยู่ในระดับตลาด Niche ก็ตาม อย่างน้อยเราก็ผลิตให้กับกลุ่มคนที่เขามีความสนใจในด้านนั้นอย่างแท้จริง และมันจะกลายเป็นไวรัลเพื่อให้คนกลุ่มอื่น ๆ ได้เรียนรู้ และเข้าใจในภายภาคหน้าเช่นกัน
TikTok Content
- ความจริงใจ และจริงจังกับคอนเทนต์ ไม่ต้องประดิษฐ์หรือปรุงแต่ง แค่ทำให้ดูเป็นตัวเองที่สุด
- ส่งพลังเชิงบวกออกไปในคอนเทนต์ให้มากที่สุด
- ทำคอนเทนต์ด้วยการใช้เสียง เช่น เพลง สคริปต์ บทสนทนา ซาวด์เอฟเฟกต์ และตามมาด้วยภาพ เพราะเสียงดึงดูดความสนใจจากคนได้มากที่สุด
- ใช้ไลฟ์สตรีมสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายแบบเรียลไทม์มากขึ้น
Entertainment
คอนเทนต์ความบันเทิงเป็นคอนเทนต์ที่เข้าถึงผู้คนได้ง่ายที่สุด เพราะมักจะสร้างรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะให้กับผู้คนที่ดูอยู่เสมอ โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นอยู่ ความบันเทิงคือสิ่งที่จะช่วยบรรเทาความเครียด และส่งต่อความสุขเป็นพลังบวกให้กับผู้คน ได้มากที่สุด และนอกจากคลิปวิดีโอสั้นต่าง ๆ ที่เป็นไวรัลใน TikTok แล้ว ยังมีผลงานเพลงอีกหลายเพลงที่เป็นที่รู้จักมาจากแอป TikTok อีกด้วย
เลยเกิดเป็นอีกความคิดสร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่งที่ศิลปินหรือครีเอเตอร์ด้านดนตรีจะต้องคิดทำนอง หรือลักษณะเพลงมาเพื่อแอปนี้โดยเฉพาะ พร้อมกับมีแฮชแท็กประจำแคมเปญด้วย โดยสามารถลงเป็นคลิปชาเลนจ์ให้ชาว TikToker มีส่วนร่วมได้ หรือจะเป็นไลฟ์สตรีมก็ได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่การได้มีส่วนร่วมกับไลฟ์สตรีมจะมีเปอร์เซ็นต์มากกว่า เลยทำให้เกิดเทรนด์ และเป็นไวรัลได้ง่ายจากประเด็นการพูดคุยกับผู้คนในโซเชียลผ่านไลฟ์สตรีม เช่น ไลฟ์ขายของ หรือไลฟ์พูดคุยกับผู้ติดตามอย่าง Powerpuff Gay ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากระแสเหล่านี้มาจากอินฟลูเอนเซอร์นั้นมีอิทธิพลต่อโลกโซเชียลมากแค่ไหน นี่จึงเป็นสาเหตุให้แบรนด์ต้องเรียนรู้ที่จะ Jump-in เข้าไปกับครีเอเตอร์มากกว่าที่จะจ้างพวกเขามาเพื่อทำตามสิ่งที่แบรนด์ต้องการ
Creative – Brand – Campaign
เพราะโลกเริ่มก้าวเข้าสู่แพลตฟอร์มเป็นเรื่องที่ควรคำนึงอันดับหนึ่งแล้ว ทำให้แบรนด์หรือเอเจนซี และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของตัวเองมีฐานอยู่บนแพลตฟอร์มไหน เพราะแต่ละแพลตฟอร์มต่างก็มีฐานแฟนคลับแตกต่างกันไปเช่นกัน เพราะหากทำความเข้าใจเรื่องแพลตฟอร์มได้มากเท่าไหร่ นอกจากจะสามารถรักษากลุ่มเป้าหมายเดิมไว้ได้แล้ว ยังตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ที่หมายปองในการตลาดได้อีกด้วย ดังนั้นการทำผลิตคอนเทนต์ออกมาจึงต้องมีความเฉพาะเจาะจงกับแพลตฟอร์มมากขึ้น
อย่าง TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้คนรู้สึกว่า ‘ไม่ว่าใครก็เป็นครีเอเตอร์ได้’ เพราะผู้คนในแพลตฟอร์มนี้กล้าที่จะเปิดเผยตัวตนของตัวเอง โดยใช้ TikTok เป็นพื้นที่ในการสร้างคอนเทนต์ โดยไม่ต้องสร้างตัวตนที่สมบูรณ์แบบเหมือนกับแพลตฟอร์มอย่าง Instagram และเพราะความเป็นตัวเองนี้ เลยทำให้ผู้คนลงคลิปใน TikTok เยอะ และขยันทำคลิปออกมามากกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพราะไม่ต้องผ่านการปรุงแต่งอะไรมากมาย รวมถึงเปลี่ยนพฤติกรรมในการสร้างคอนเทนต์ก็สม่ำเสมอมากขึ้น เพราะผู้ติดตามชื่นชอบในตัวตนของเรามากกว่า เลยทำให้ครีเอเตอร์หน้าใหม่ ๆ เกิดแรงจูงใจมากขึ้นบนแพลตฟอร์มนี้ด้วย
Creativity Content
ความคิดสร้างสรรค์อยู่ได้กับทุกคนทุกอาชีพ และทุกคนก็สามารถนำความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นมาสร้างอะไรที่แตกต่างได้ เพื่อทำให้ผู้คนตื่นตาตื่นใจและอยากติดตาม โดยเฉพาะกับ TikTok ที่มีการไถวิดีโอง่าย จึงมีคลิปและคอนเทนต์สดใหม่เกิดขึ้นทุก ๆ วินาที แต่ความคิดสร้างสรรค์นั้นจะขาดความเป็นตัวเองไปไม่ได้เลย เพราะการที่เราแตกต่างได้ ก็ต้องมีตัวตนเราอยู่ในนั้นเพื่อให้ผู้คนได้รู้จักมากขึ้นเช่นกัน ฉะนั้นเราจึงต้องเรียนรู้การผสมผสานหรือจับคู่ในสิ่งที่ยังไม่มีคนทำมาก่อนให้ได้
เช่น การนำคอนเทนต์ประเภท Entertainment มาบวกเข้ากับบางอย่าง และทำให้มันเป็นความบันเทิงในรูปแบบใหม่ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน ส่งเสริมให้มีการ Cross ข้ามสายคอนเทนต์กันมากขึ้น แม้คอนเทนต์จะ Niche ก็ตาม แต่เราเชื่อว่าจะมีคนพร้อมซัพพอร์ตเสมอ อย่าง Entertainment + Education = กลายเป็นคอนเทนต์ TikTok ที่เล่าทฤษฎีความรู้แต่ให้ความสนุก และสร้างอรรถรสให้ผู้ชมได้ เป็นต้น
How to be ‘TikToker’
การเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์หน้าใหม่ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย เพราะมีเหล่าครีเอเตอร์หน้าใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งการจะเริ่มก้าวเข้าสู่วงการนี้ต้องเริ่มจากรู้จักตัวเองว่าเราเจ๋งอะไร แล้วลงมือทำเลย พราะในอีก 5 วินาทีที่เราคิดอาจจะมีคนทำไปแล้วก็ได้ เนื่องจากโลกโซเชียลเป็นโลกแห่งการทดลอง ล้ม และลุกขึ้นใหม่ได้เสมอ โดยให้ลองมองว่าตัวเองเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่มีจุดขาย และจะขายอย่างไรให้คนมาซื้อ ซึ่งการมองแบบนี้จะทำให้มุมมองที่มีต่อตัวเองชัดขึ้น รวมถึงต้องมองว่าใครที่เราอยากสื่อสารผ่านคอนเทนต์ด้วย แม้จะต้องเริ่มจากกลุ่มเป้าหมายตลาด Niche (Sub Culture) ก่อน แต่สักวันหนึ่งมันจะขยายไปเรื่อย ๆ เพราะการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายจะทำให้ฐานแฟนแรกเริ่มแน่นกว่า และแพลตฟอร์มจะกระจายให้มันเป็น ‘Main Culture’ เอง
เพราะการสร้างสิ่งใหม่ไม่มีต้นตำรับ แต่เป็นการนำสิ่งเก่ามาบวกกับสิ่งต่าง ๆ ให้กลายเป็นสิ่งใหม่ เพียงปค่รู้จักประยุกต์ใช้ และหาช่องโหว่ในคอนเทนต์ที่มีอยู่เสมอ เพราะเราอาจจะกลายเป็นครีเอเตอร์ที่เข้าไปเติมช่องโหว่เหล่านั้นให้สมบูรณ์คนแรกก็ได้ แต่ต้องทำมันอย่างมีแพสชัน และเรียนรู้จากฟีดแบกของกลุ่มเป้าหมายไปเรื่อย ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอนั่นเอง
นอกจากนี้ยังต้องรู้จักศึกษาวิธีการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของตัวเองผ่าน Short Video ด้วย ต่อให้เป็นเรื่องยากก็ต้องย่อยให้เข้าใจง่ายให้ได้ เพราะ 15 วินาทีก็สามารถไถฟีดได้มากกว่า 1 คลิปแล้ว ฉะนั้นการดึงดูดความสนใจของผู้คนได้ภายใน 5-7 วินาทีนั้นสำคัญมาก และถ้าเล่นกับเสียงได้ ก็ยิ่งเรียกความสนใจคนดูได้เยอะขึ้น พร้อมกับทำให้สม่ำเสมอจนอัลกอริทึมเรียนรู้ว่าเราเป็นครีเอเตอร์แบบไหนก็จะมีคนเข้าถึงได้เยอะขึ้นด้วย เพียงแค่ต้องระวังเรื่อง Social Standard ไว้ โดยคอนเทนต์ที่ทำออกมาต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์ที่ยึดกันในสังคม ณ ช่วงเวลานั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดดราม่าตามมานั่นเอง
ส่วนกระบวนการในการเป็นครีเอเตอร์หน้าใหม่นั้นไม่ต้องกังวลหากจะมีเพียงแค่สมาร์ตโฟนเครื่องเดียว เพราะสมัยนี้ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์แต่ก็ทำได้ด้วย Tools ของ TikTok เลย เพราะแพลตฟอร์มนี้ทำให้คนไม่รู้จักกันมา Collaboration และ Duet กันได้ง่าย ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อคอนเทนต์แล้ว ยังเป็นการทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ และสร้างคอมมูนิตี้ของตัวเองไปในตัวด้วย
TikTok Insights
การทำคอนเทนต์ต้องมีวัตถุประสงค์เสมอ เพราะโลกที่มีการแข่งขันกันด้วยคอนเทนต์ไม่เคยหยุดนิ่ง และไม่ได้มีแค่ความสนุกเท่านั้น ฉะนั้นการศึกษาอินไซต์จากกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่ครีเอเตอร์ควรศึกษาไว้ โดยเฉพาะกับยอดวิว (Basic Engagement) หรือ คอมเมนต์ (Higer Level Engagement) เพราะคอมเมนต์ต้องใช้เวลาพิมพ์ในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการกดติดตามก็สามารถบ่งบอกได้เช่นกัน แต่หากอยากศึกษาให้ลึกกว่านั้น การเช็กไปจนถึง Gender ของผู้ติดตามก็สะท้อนให้รู้ได้ว่า เราว่าเป็นครีเอเตอร์ที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายแบบไหน และตรงกับความต้องการที่เราตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งหากทำความเข้าใจแล้ว ก็สามารถปรับเปลี่ยนคอนเทนต์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการได้ง่ายขึ้น
แต่ไม่ว่าคุณจะทำคอนเทนต์อย่างไร หรือเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์แบบไหน ความคิดสร้างสรรค์ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และต้องศึกษาตัวเลขกับข้อมูลไปด้วยกัน เพื่อทำให้ตัวเองพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ โดยมี Tool ในแพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้คอนเทนต์ส่งออกไปถูกที่ และทำให้ผู้คนมองเห็น แม้การลงไปครั้งเดียวอาจจะยังไม่เป็นดังที่ใจหวัง แต่ความอดทน และความพยายามในการทดลองจะทำให้เราเจอตัวตันที่ดีที่สุดของตัวเองแน่นอน
ที่มา: @tiktoklivethailand