แจกทิป How to การใช้โซเชียลมีเดียแบบ ‘e-Commerce’ รู้จักแพลตฟอร์มมากขึ้นก่อนโพสต์

ในยุคที่แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นพื้นที่สำคัญในการลงคอนเทนต์ และใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เหล่าแบรนด์ เอเจนซีและครีเอเตอร์ทั้งหลายก็ต้องปรับตัวไปตามกระแสของโซเชียล และเกาะติดกับเทรนด์ใหม่ ๆ เสมอ ทาง RAiNMaker จึงอยากมาแชร์การรู้จักแพลตฟอร์มให้มากขึ้นก่อนลงคอนเทนต์ เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีเดียแบบไหนเหมาะกับคอนเทนต์อะไร และจะสื่อสารยังไงให้ตรงจุด!

ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในตำนานเพราะอยู่มานานอย่าง Faacebook YouTube และ Instagram หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียสำหรับคนรุ่นใหม่ไฟแรงอย่าง TikTok และ Twitter เรื่องของยุคสมัยในการเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดียเหล่านี้ คงไม่สำคัญเท่ากับได้รู้จัก และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์คอนเทนต์ให้เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์มเป็นแน่

บางแพลตฟอร์มที่เป็นตำนานเพราะอยู่มานาน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำการตลาดไม่ได้ หรือแพลตฟอร์มที่กำลังเป็นที่นิยมก็ไม่ได้หมายความว่าจะสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ท่ามกลางผู้คนที่แห่กันไปเป็นครีเอเตอร์

เพราะแพลตฟอร์มจะสามารถช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็นเรามากขึ้น เพื่อนำไปสู่การขายของหรือทำความรู้จักกับแบรนด์ และตัวตนของเราได้ ฉะนั้นการสื่อสารกับพวกเขาให้ถูกที่ และถูกเวลานั้นสำคัญมาก!

วันนี้ RAiNMaker เลยมีสูตรลับเฉพาะ How to ในการรู้จักใช้แต่ละแพลตฟอร์มมาฝากกัน เพื่อให้แบรนด์ เอเจนซี และครีเอเตอร์ทุกคนได้นำไปประยุกต์ใช้กัน ดังนี้

Facebook: ผู้นำของแพลตฟอร์ม

ที่เรียกว่าผู้นำของแพลตฟอร์ม ก็เพราะว่า Facebook เปรียบเสมือนแพลตฟอร์มที่ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ เอเจนซี หรือครีเอเตอร์ต่างก็ตั้งต้นกันที่นี่ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มยุคที่อินเทอร์เน็ต และโลกโซเชียลบูมแรก ๆ เพราะไม่ว่าใครก็มีแอ็กเคานต์เป็นของตัวเองแน่นอน

ถึงแม้จะในปัจจุบันจะเป็นยุคสมัยของคอนเทนต์ Short Video ก็ตาม แต่ Facebook ก็ยังมีแอ็กทีฟยูสเซอร์กว่า 3.5 พันล้านยูสเซอร์เกิดขึ้นทุกวัน รวมถึงมีการปรับตัวให้สามารถแชร์ Reels มาได้อยู่ดี เรียกได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มในตำนานแต่ไม่เคยเก่าสำหรับการทำตลาดเลยก็ว่าได้

Audience

เพราะ Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่เครือข่ายกว้างขวาง ทำให้ผู้คนมีความหลากหลายตามไปด้วย โดยผู้ใช้งานอายุระหว่าง 25 – 49 ปี โดยส่วนใหญ่ 56.4% เป็นผู้ชาย คือกลุ่มเป้าหมายหลักภายในแพลตฟอร์มนี้ เพราะกว่า 40 ล้านองค์กรและบริษัทใช้ Messenger ในการสื่อสาร และติดต่อกันด้วยนั่นเอง

Goals

แม้ Facebook จะเป็นแพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์ และฟังก์ชันสำหรับผลิตคอนเทนต์ได้ครบถ้วน พร้อมกับคอมมูนิตี้ที่เหนียวแน่น แต่หัวใจในการทำคอนเทนต์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแพลตฟอร์มนี้ก็ควรรู้ไว้เช่นกัน ซึ่งจะเน้นไปทางการโปรโมตสินค้าให้ดึงดูดความสนใจผู้คนในโลกโซเชียล หรือคอมมูนิตี้ ไปจนถึงการทำคอนเทนต์เพื่อให้คนในองค์กรต่าง ๆ ได้มองเห็น

  • สร้างคอมมูนิตี้ 
  • โปรโมตคอนเทนต์ 
  • โฆษณาสินค้าและโปรโมชัน 
  • สื่อสารกับคนในองค์กร 

Content Advices

ข้อแนะนำสำหรับการทำคอนเทนต์ลงแพลตฟอร์มอย่าง Facebook มีดังนี้

  • เพิ่มวิชวลคอนเทนต์ทั้งภาพและวิดีโอ 

เพราะคอนเทนต์ที่ประหอบไปด้วยภาพ และวิดีโอจะสามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า แต่ในขณะเดียวกันการได้อ่านข้อความยาว ๆ ก็อาจทำให้ลุ่มเป้าหมายหยุดไถฟีดเพื่อจะอ่านได้เช่นกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าหัวข้อบทความนั้นน่าสนใจพอหรือไม่เท่านั้นเอง

  • ทำคอนเทนต์ให้อยากกดรีแอ็กชัน 

เพราะ Facebook มีฟังกันในการกดรีแอ็กชันเพื่อแสดงความรู้สึกด้วยอีโมจิตามโพสต์ต่าง ๆ ดังนั้นการที่โฟกัสไปที่คอนเทนต์ที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนร่วม หรือเจอแล้วต้องรู้สึกอยากกดสักหน้าในอีโมจินั้นให้ได้!

  • ใช้ Facebook Ads เพิ่มการมองเห็น 

Facebook Ads คือเครื่องมือที่ทำให้โพสต์หรือคอนเทนต์ต่าง ๆ ถูกมองเห็นมากขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่แบรนด์ และเอเจนซี รวมถึงเหล่าครีเอเตอร์น่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เพื่อให้โพสต์มียอดเอ็นเกจเมนต์ที่ดี และคนมองเห็นเยอะขึ้นนั่นเอง

Prime Time 

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการลงโพสต์หรือคอนเทนต์บน Facebook ส่วนใหญ่จะเป็นสัปดาห์แรกของวันอย่างวันจันทร์ และสุดสัปดาห์อย่างวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เพราะผู้คนจะเช็กข่าวสารในวันแรกของสัปดาห์ และเมื่อถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ก็จะใช้เวลากับ Facebook ตอนกลับบ้านรวมถึงวันหยุดพักผ่อนอยู่บ้านด้วย

Instagram: ผู้นำด้านวิชวล

หากนึกถึงแพลตฟอร์มที่มีความโดดเด่นเรื่องภาพนิ่ง และวิชวล Instagram คงจะเป็นตัวเลือกแรกใน top of mind ของทุกคนแน่นอน ซึ่งตอนนี้ก็ได้มีการพัฒนาฟีเจอร์ที่เน้นเรื่องของคอนเทนต์แบบ Shor Video มากขึ้น แต่ความวิชวล หรือการปรับตกแต่งมู้ดแอนด์โทนคงต้องยกให้แพลตฟอร์มนี้เลย เพราะมีผู้ใช้กว่า 1 พันล้านคนเกิดขึ้นทุก ๆ เดือน แถมยังมีกว่า 500 ล้านสตอรี่ที่ถูกแชร์ต่อวันในคอมมูนิตี้อีกต่างหาก

Audience

จากสถิติยูสเซอร์ของ Instagram กว่า 70% มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ซึ่งมองภาพกว้างเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุช่วงระหว่าง 25 – 34 ปี ที่มีผู้ติดตามแอคเคานท์เฉลี่ยอายุ 18 – 24 ปี โดยส่วนใหญ่กว่า 51.4% เป็นผู้หญิง

Goals

จากสถิติของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นยูสเซอร์หลักใน Instagram ว่ามียูสเซอร์ผู้หญิงเยอะกว่าผู้ชาย จึงทำให้เป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์ในการขาย และโปรโมตสินค้า เพราะมียูสเซอร์กว่า 90% ติดตามแอคเคานท์ของแบรนด์ต่าง ๆ ไว้ด้วย ฉะนั้นการทำคอนเทนต์จึงควรคำนึงถึงเรื่องการแสดงความเป็นแบรนด์ดิ้ง และตัวตนของแบรนด์ให้กลุ่มเป้าหมายไว้วางใจ

  • แสดงความเป็นแบรนด์ดิ้ง 
  • โปรโมตสินค้าในคอมมูนิตี้ 
  • โชว์เบื้องหลังการทำงานของแบรนด์ 

Content Advices

ข้อแนะนำสำหรับการทำคอนเทนต์ลงแพลตฟอร์มอย่าง Instagram มีดังนี้

  • เลือกสินค้าและแชร์ประโยชน์ให้เห็น 
  • สร้างสรรค์วิชวลให้ปัง 
  • เสริมด้วยแฮชแท็กที่ตรงประเด็น 
  • รู้จักใช้อินฟลูเอนเซอร์ 

Prime Time 

วันจันทร์ และวันพฤหัสบดี คือช่วงวันที่ดีที่สุดในการโพสต์ลง Instagram แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณทำแบรนด์ หรือธุรกิจอะไร เพราะต้องใช้มันในการจัดลำดับความสำคัญรายสัปดาห์ในการโพสต์บน Instagram ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจพฤติกรรมการใช้ของกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ตื่นนอนยันเข้านอนด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เวลาการใช้งานจะอยู่ที่ระหว่าง 7.00 – 9.00 น. และระหว่าง 16.00 – 20.00 น.

YouTube: ผู้นำด้านมีเดียวิดีโอ

ความจริงแล้ว YouTube ไม่ควรถูกมองว่าเป็นโซเชียลมีเดีย เพราะเข้าข่ายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับมีเดียหรือวิดีโอเสียมากกว่า โดย YouTube เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับ 2 รองจาก Google ถึง 2.1 พันล้านคนในแต่ละเดือนเลยทีเดียว เพราะผู้คนใช้เวลาหมดไปกับการดูวิดีโอทุก 684,000 ชั่วโมงในทุก ๆ นาที และแน่นอนว่าใครอยากสร้างคอนเทนต์วิดีโอ YouTube ก็ต้องตอบโจทย์กับคลิปที่สามารถใช้เวลาด้วยนาน ๆ หรือจะลองก้าวสู่สนามของคลิปสั้นอย่าง YouTube Shorts ก็ได้เช่นกัน

Audience

จากสถิติ YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมคนหลากหลายประเทศเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าใครก็สร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มนี้สำหรับเรื่องคลิป หรือคอนเทนต์วิชวลในสมัยที่ TikTok ยังไม่มาแรง แต่แม้จะมี TikTok เข้ามาแย่งตลาดคลิปสั้นไป YouTube ก็ยังถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่คนนึกถึงในการทำคอนเทนต์อยู่ไม่เปลี่ยน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 29 ปี

Goals

เพราะ YouTube ยังเป็นแพลตฟอร์มที่จำเป็นในการทำคอนเทนต์วิดีโออยู่ เพราะใช้วัดผลยอดวิวต่าง ๆ ระดับโลกได้ในแง่ของเพลง และรายการเองก็ยังต้องใช้แลพตฟอร์มนี้ในการเผยแพร่ และไม่ว่าจะสำหรับแบรนด์ เอเจนซี และครีเอเตอร์ก็ยังสามารถแจ้งเกิดจากแพลตฟอร์มนี้ได้ไม่ยาก แม้จะไม่สามารถแสดงความเป็นตัวเองได้เท่ากับ TikTok แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ต้องคัดกรองคอนเทนต์ให้มีประโยชน์ และไม่ผิดกฎ รวมถึงสร้างจักรวาลคอนเทนต์วิดีโอของตัวเองได้อีกต่างหาก

  • โปรโมตสินค้ากับบริการ 
  • สร้างจักรวาลของสินค้าหรือแบรนด์ 
  • เพิ่มความเป็นกันเองและเข้าถึงง่ายให้กับแบรนด์ 
  • ผลิตคอนเทนต์ที่จริงใจในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย 

Content Advices

ข้อแนะนำสำหรับการทำคอนเทนต์ลงแพลตฟอร์มอย่าง YouTube มีดังนี้

  • ช่องยูทูบต้องมีคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ 
  • ลงทุนกับความคมชัดของคลิปวิดีโอ 
  • เช็กคีย์เวิร์ด และ SEO จากคำอธิบายใต้คลิปเสมอ 

Prime Time 

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการโพสต์คลิปหรือคอนเทนต์วิดีโอบน YouTube อยู่ที่ช่วงจบวันของวันธรรมดา และวันหยุด ซึ่งช่วงที่พีกที่สุดคือระหว่าง 21.00 – 23.00 น. เพื่อเพิ่มช่องว่างในการลงคอนเทนต์ต่างไทม์โซนกันด้วย

Twitter: ผู้นำด้านเรียลไทม์

Twitter คือแพลตฟอร์มที่เป็นผู้นำ และเชี่ยวชาญในการส่งข้อมูลข่าวสารขึ้นฟีดเรียลไทม์ตลอดเวลา โดยผู้ใช้สามารถสื่อสารได้ไม่เกิน 280 อักขระต่อโพสต์ โดยในแต่ละเดือนสามารถดึงดูดผู้ใช้ให้อยู่กับแอปนกฟ้านี้ได้ถึง 330 ล้านคนเลยทีเดียว เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่เร็ว แรง และไวเป็นอย่างมาก เหมาะกับการเช็กเทรนด์ว่าโลกไปถึงไหนแล้วนั่นเอง

Audience

เพราะการใช้แพลตฟอร์ม Twitter นั้นนิยมอย่างมากในการใช้บนสมาร์ตโฟน จึงเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายอายุระหว่าง 25 – 34 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงาน เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสำหรับเช็กแฮชแท็กติดเทรนด์โลก และข่าวสารรอบโลกที่ไวกว่าข่าวในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วย

Goals

เนื่องจาก Twitter ไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นเรื่องวิชวลมากนัก แต่เรื่องของตัวอักษร นับเป็นแพลตฟอร์มที่เล่าเรื่อง และบ่งบอกความรู้สึกได้เป็นมนุษย์มากที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับการทำตลาดอินฟลูเอนเซอร์อย่างที่แบรนด์นิยมใช้กัน รวมถึงได้ทำการตลาดแบบที่สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นกันเองด้วย ในขณะเดียวกันก็ใช้เทรนด์ตามแฮชแท็กในการสร้างคอมมูนิตี้ใหม่ ๆ ให้แบรนด์เพิ่มได้ไม่ยากเลย

  • โปรโมตสินค้า บริการและแบรนด์ดิ้ง 
  • โชว์ความเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องที่ถนัด 
  • แชร์คอนเทนต์และข่าวสารไปพร้อมกัน 
  • สร้างคอมมูนิตี้จากแฮชแท็ก 

Content Advices

ข้อแนะนำสำหรับการทำคอนเทนต์ลงแพลตฟอร์มอย่าง Twitter มีดังนี้

  • สร้างคอนเทนต์ให้อยู่เป็นทุกสถานการณ์ 
  • ใช้แฮชแท็กเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ 
  • ดึงดูดความน่าสนใจด้วยวิชวลจากภาพและวิดีโอ 
  • ใช้ Storytelling ในการสื่อสาร 
  • รู้จักแท็กกลุ่มหรือบุคคลที่เกี่ยวกับคอนคอนเทนต์ 

Prime Time 

ตารางเวลาการโพสต์ใน Twitter ไม่สำคัญเท่าหัวข้อหรือคอนเทนต์นั้นประจวบเหมาะกับแฮชแท็กที่ติดเทรนด์หรือไม่ เพราะคอนเทนต์ที่มาถูกที่และถูกเวลาจะแสดงผลลัพธ์ให้เห็นเองว่าคุณสามารถสร้างคอมมูนิตี้จากหัวข้อความสนใจของผู้คนทั่วโลกได้ หรือจะสโคปลงมาที่กลุ่มเป้าหมายในไทยก็ได้เช่นกัน

เช่นเดียวกับ Instagram ที่คุณควรทวีตในช่วงจบวันไปแล้ว เพราะมีโอกาสเข้าถึงผู้คนชาวทวิตเตี้ยนได้มากกว่า โดยเฉพาะในช่วงเวลาวันจันทร์ถึงวันศุกร์ทั้งตอนเช้าก่อนเริ่มงาน และหลังเลิกงานเลย

TikTok: ผู้นำด้านเทรนด์และไวรัล

นอกจาก TikTok จะเป็นแพลตฟอร์มที่นำด้านเทรนด์ และไวรัลแล้ว ยังเป็นอันดับหนึ่งของแพลตฟอร์มสำหรับการทำการตลาดในตอนนี้ด้วย เพราะไม่ว่าเทรนด์ไหน ๆ ก็มาจาก TikTok ทั้งนั้น แม้กระทั่งศิลปินก็ยังต้องทำเพลงมาเพื่อให้แมสในแพลตฟอร์มนี้โดยเฉพาะเลย ซึ่งทั้งคอมมูนิตี้ของแบรนด์ เอเจนซี อินฟลูเอนเซอร์ และครีเอเตอร์ทั้งหลายเหมือนมารวมอยู่ในที่เดียวกัน

ดังนั้นการทำตลาดหรือคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มนี้ควรทำให้หลากหลาย มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด เพราะในตอนนี้สถิติผู้ใช้ที่ชมคอนเทนต์บน TikTok กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีครีเอเตอร์มากกว่า 2.6 พันล้านคนคอยผลิตคอนเทนต์สดใหม่ในทุก ๆ วัน เพื่อให้ผู้ชมและคอมมูนิตี้ของตัวเองได้มองเห็น

Audience

คอนเทนต์วิดีโอของ TikTok ดูเหมือนจะดึงดูดความสนใจกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่มาก ๆ ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 10 -19 ปี และกลุ่มเป้าหมายรองลงมาอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 20 – 29 ปี นั่นเอง

Goals

TikTok นอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มยอดฮิตของชาว TikToker และคนในโลกโซเชียลแล้ว ยังนับเป็นพื้นที่ที่สามารถให้ผู้คนไม่ว่าใครก็ได้ มีโอกาสได้แสดงความเป็นตัวเองให้โลกเห็นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องชื่อเสียงมาก่กอนด้วย เพราะทุกคน ทุกแบรนด์สามารถเริ่มต้นได้ที่แพลตฟอร์มนี้เลย

ดังนั้นการเข้าใจตัวเองไปจนถึงเข้าใจว่าจะทำคอนเทนต์ให้คนกลุ่มไหนรับชมจึงสำคัญ เพราะไม่ว่าใครก็เป็นครีเอเตอร์ได้ และมีคอมมูมิตี้เป็นของตัวเองด้วย เนื่องจากเครื่องมือของ TIkTok ก็สามารถตอบโจทย์การสร้างสรรค์คอนเทนต์ได้หลากหลายอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการใช้แฮชแท็ก หรือคิดค้นชาเลนจ์ต่าง ๆ ให้ติดตลาด และเป็นไวรัลตามมาในภายหลัง เนื่องจากผู้คนสามารถนำเสียงหรือท่าทางไปรีไซเคิลเป็นคอนเทนต์ในแบบฉบับของตัวเองได้

  • สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองผ่านชาเลนจ์ 
  • ครีเอทีฟเพื่อคอมมูนิตี้คนรุ่นใหม่ 
  • สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงใจ 
  • อย่าลืมพลังบวกและอารมณ์ขันในคอนเทนต์ 

Content Advices

ข้อแนะนำสำหรับการทำคอนเทนต์ลงแพลตฟอร์มอย่าง TikTok มีดังนี้

  • รู้จักใช้ฟีเจอร์ช่วยสร้างคอนเทนต์ 
  • อย่ากลัวที่จะทดลองคอนเทนต์สดใหม่ 
  • แชร์คอนเทนต์หลายช่องทาง 
  • จัดหน้าโปรไฟล์ให้น่าดึงดูด 

Prime Time 

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการโพสต์ของ TikTok ก็เหมือนกับแพลตฟอร์มอย่าง Snapchat ที่ดึงดูดกลุ่มคนช่วงอายุที่เป็นคนรุ่นใหม่ โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือหลัง 23.00 น. และวันหยุดหรือจบวันของพวกเขานั่นเอง เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่มีช่วงเวลากลางคืนเป็นมิตร เพราะสามารถแอ็กทีฟได้ตลอดทั้งคืนมากกว่าในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากพวกเขาจะต้องชดเชยเวลาพักผ่อนของตัวเองในตอนกลางคืน เพราะใช้ชีวิตหมดไปกับตอนกลางวันแล้ว

ที่มา: E-Commerce Nation

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save