5 ประโยชน์ของ ‘Audience Data’ ทำการตลาดแบบเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย

Audience Data หรือข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ใช้สำหรับการทำตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงลึกที่ใช้วิเคราะห์ในการวางแผนการทำการตลาด เพื่อขายให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากที่สุด แต่ก็ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่สามารถใช้เพื่อเกื้อหนุนให้แบรนด์ และนักการตลาดสามารถดึงมาใช้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งวันนี้ทาง RAiNMaker จะมาแตกไลน์ประโยชน์เหล่านั้น เพื่อที่จะนำ Audience Data ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกัน!

หลายคนที่ทำแบรนด์หรือการตลาด รวมถึงเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์คงจะรับรู้ และเข้าใจบทบาทของข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดีว่าสำคัญแค่ไหนในการทำการตลาด แต่ทุกวันนี้ความสนใจในโลกโซเชียลของผู้คนเปลี่ยนไปทุกวัน และเกิดความผันผวนของไดนามิกในตลาดสูง จนฝ่ายสร้างสรรค์คอนเทนต์ต้องคอยติดตามตลอดแบบไม่เคยหยุดนิ่ง

ดังนั้นการทำคอนเทนต์แบบเอาใจใส่กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่พรีเมียมมาก ๆ สำหรับการตลาดยุคนี้ เพราะทุกอย่างต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และการเล่าเรื่องที่สดใหม่ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจจากการอ่าน ได้ยิน มองเห็น ไปจนถึงการอยากมีส่วนร่วม และอยากแชร์ให้คนรอบข้างในสังคมได้รับรู้

และเพราะความคาดเดาไม่ได้ในการตลาดสมัยนี้ บางครั้งก็ทำให้สับสนว่าเราควรใช้ข้อมูลที่มีอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และในขณะเดียวกันก็ต้องตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันในระยะยาวไปด้วย? ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายเหล่านักสร้างคอนเทนต์ในทุก ๆ วัน แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้ทาง RAiNMaker เลยหาคำตอบมาให้แล้วจ้า!

Provides Clarity

ศึกษาการตลาดเชิงลึกได้ชัดเจน

ในขณะที่ผู้บริโภคในตลาดเสพคอนเทนต์จากทุก ๆ แพลตฟอร์มในโซเชียลมีเดียสลับวนเวียนกันไป รวมถึงการจับจ่ายซื้อของ และมีบทสนทนาในสังคมออนไลน์ตามความสนใจของพวกเขา สิ่งเหล่านั้นจะเป็นข้อมูลเชิงลึกชั้นดีที่ทำให้แบรนด์ นักการตลาด รวมไปถึงครีเอเตอร์ได้ศึกษาพฤติกรรม และแนวโน้มผู้บริโภคได้

เพราะการติดตามช่องทาง หรือคอนเทนต์ต่าง ๆ ก็สามารถบ่งบอกหรือคาดการณ์ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นแบบไหน และยิ่งแกะรอยจากข้อมูลเหล่านั้นได้มากเท่าไร ก็ยิ่งจะสามารถเข้าใจพวกเขาได้มากขึ้นเท่านั้น

Tell Social Topics

บ่งบอกบทสนทนาในโลกโซเชียล

แน่นอนว่าการเก็บข้อมูลจากการใช้แพลตฟอร์มหลักของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube, Twitter และ TikTok ล้วนเป็นสิ่งที่หลาย ๆ แบรนด์ทำเพื่อที่จะได้รู้ว่ามีเทรนด์อะไรที่ผู้คนในโลกโซเชียลกำลังให้ความสนใจ

แต่ในขณะเดียวกันแพลตฟอร์มทั่วไปอย่าง Pantip หรือแม้กระทั่งการบันทึกไดอารี่ลงโซเชียลประจำวันของแต่ละคนเมื่อพบเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง หรือการตั้งคำถามเพื่อสร้างบทสนทนา และแชร์ความคิดเห็นกับผุ้อื่นในโพสต์ ก็สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเชิงลึก และวิเคราะห์ในการทำการตลาดได้เช่นกัน ซึ่งจะแตกต่างจากการเก็บข้อมูลทั่วไป เพราะจะมีในเรื่องของอารมณ์ และความรู้สึกมาเป็นข้อมูลด้วย เสมือนกับเราเป็นแมวมองคอยมองหาบทสนทนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแบรนด์ได้นั่นเอง

Found Audience’s Interest

พบความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

ในปัจจุบันเป็นยุคสมัยของกลุ่มเป้าหมายที่ซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเองเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะใช้แบรนด์อะไรอยู่ก็จะรีวิวมันออกมาด้วยความจริงใจ และฟีดแบคเหล่านั้นก็มีอิทธิพลต่อคอมมูนิตี้เดียวกันไม่ใช่น้อยเลย

ดังนั้น Audience Data ที่ทำให้เราค้นพบความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย แม้กระทั่งการโพสต์ลงโซเชียลมีเดียเพื่อบ่นระหว่างวันก็ตาม การรวบรวมจุดเล็ก ๆ เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ และมองออกมาเป็นภาพรวมก็จะทำให้เห็นภาพกลุ่มเป้าหมายของคุณในแบบที่มีตัวตนมากยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องคาดคะเนเองว่าพวกเขาจะเป็นกลุ่มคนแบบไหนเลยนั่นเอง

Understand The Journey

เข้าใจเส้นทางการคิดก่อนซื้อ

การตัดสินใจก่อนซื้อของผู้บริโภคมักจะเข้าใจกันว่ามีแค่การรีเสิร์ชหาข้อมูลที่ลงคำอธิบายไว้ในโซเชียลมีเดีย หรือการถามคำแนะนำเพิ่มเติมจากคนรอบตัวที่เคยใช้อย่างเพื่อน หรือครอบครัว และผู้คนที่ติดตามบนโลกโซเชียล แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้จบเพียงแค่นั้น!

เพราะปัจจุบันผู้คนเริ่มที่จะใช้โซเชียลมีเดียในการช่วยตัดสินใจมากขึ้นเกี่ยวกับสินค้า หรือแบรนด์ต่าง ๆ ด้วยฟังก์ชัน หรือฟีเจอร์ที่แพลตฟอร์มมี เช่น ฟีเจอร์กด Yes or No บน Instagram หรือลงรูปภาพเปรียบเทียบกันบน Twitter ให้คนทั่วไปช่วยโหวตในการตัดสนิใจ เป็นต้น

ดังนั้นจึงทำให้เส้นทางการคิดก่อนซื้อของผู้บริโภคยุคนี้แตกต่างจากสมัยก่อนมาก เพราะเสียงของคนแปลกหน้าก็นับเป็น +1 เสียงนะ ฉะนั้นหน้าที่ของนักสร้างคอนเทนต์หรือแบรนด์อย่างเรา ๆ ก็ต้องรู้จักนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการวิเคราะห์การตลาดของแบรนด์ หรือนำมาประยุกต์ในการโปรโมตสินค้าละบริการก็น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

Get 360° of Brand

รู้ว่าแบรนด์ไหนใช่ที่สุด

หากคุณอยากรู้ว่าแบรนด์ไหน หรือยี่ห้ออะไรที่กลุ่มเป้าหมายชอบหรือไม่ชอบ Audience Data สามารถให้คำตอบได้อย่างชัดเจนแบบ 360 องศากันเลยทีเดียว! เพราะการที่รู้ไปถึงความสนใจของพวกเขา จะทำให้เกิดการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบระหว่างแบรนด์ได้ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการหาคุณค่า (Gain Point) และปัญหา (Pain Point) ของทั้งแบรนด์เรา และแบรนด์คู่แข่งได้เป็นอย่างดี เพราะการที่จะมีคนชอบหรือไม่ชอบในแบรนด์นั้น ๆ ล้วนมีเหตุผลอยู่เบื้องหลังเสมอ ขอเพียงแค่เราหามันให้พบ และแก้ไขให้ทันก็พอแล้ว

จากประโยชน์ของการใช้ Audience Data จะเห็นได้ว่าไม่ได้มีไว้ใช้สำหรับวางแผนให้แบรนด์ดิ้งในอนาคตเท่านั้น แต่ยังมีทริก และวิธีการพลิกแพลงมาใช้อย่างสร้างสรรค์ด้วย เพราะเราไม่ควรมองว่ามันเป็นเพียงแค่ข้อมูล แต่ควรมองว่ามันเป็น ‘การจุดชนวนไอเดีย’ ให้แบรนด์ได้พัฒนาต่อไป และหากมองข้อมูลลงไปได้ลึกเท่าไร ทั้งความชอบ ความคิด และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จะไม่ใช่สิ่งที่ยากจะเข้าใจอีกต่อไป

ที่มา: Resources.Audiense

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save