ชวนส่อง ‘Social Commerce 2022’ ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและแพลตฟอร์มโซเชียลที่ควรรู้

ในโลกที่เราสามารถทำอะไรก็ได้แค่มีสมาร์ตโฟนเครื่องเดียว ทำให้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok นอกจากจะทำให้โลกข้ามพรมแดนนี้ได้รู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้นแล้ว ยังทำให้โลกของ eCommerce เปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะการช้อปออนไลน์เริ่มมีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของพวกเขามากขึ้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าการตัดสินใจเลือกเข้าแพลตฟอร์มต่าง ๆ นั้นมีความหมายซ่อนอยู่? วันนี้ RAiNMaker เลยจะพามาหาคำตอบกัน!

‘Shopping Habits’ หรือพฤติกรรมการช้อปของผู้บริโภค เป็นสิ่งที่แบรนด์และนักการตลาดให้ความสำคัญเสมอ เพื่อที่จะได้ส่งสินค้าและบริการไปยังช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของตัวเองได้มากที่สุด

ซึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ก็มีฐานกลุ่มเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกันไป ทำให้เกิดสเตตัสบางอย่างที่เป็นบรรทัดฐานแต่ละแอปขึ้นมา เลยส่งผลให้แพลตฟอร์มเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากกับการใช้เป็นตัวเลือกในการเข้าไปช้อปของผู้บริโภค แบรนด์จึงต้องเลือกช่องทางในการโปรโมต และประยุกต์ให้เข้ากับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละแพลตฟอร์มไปด้วย แต่ไม่ต้องกังวลไป! เพราะทาง RAiNMaker ได้รวมมาไว้ให้ที่นี่แล้วจ้า

Instagram 

แหล่งสร้างแรงบันดาลใจในการเลือกช้อป

เรียกได้ว่าเป็นแอปที่ชาวโซเชียลได้แสดงความเป็นตัวเองออกมาได้มากที่สุดเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งโพสต์ สตอรีหรือแม้แต่ Reels ก็โชว์ไลฟ์สไตล์ และสิ่งที่ตัวเองชอบออ กมาผ่านแพลตฟอร์มนี้ได้โดยไม่ต้องฝืน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพลักษณ์ที่เราอยากให้คนอื่นมองเห็น และรู้จักความเป็นตัวเรามากที่สุด รวมถึงเราเองก็ได้เสพไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ที่หลากหลายจากคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน 

ดังนั้น Instagram จึงเปรียบเสมือนกับแหล่งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนในโซเชียลได้เลือกช้อป หน้าที่ของแบรนด์ที่ควรทำก็คือการจัดหน้าช้อปหรือหน้าร้านให้เป็นมู้ดโทน พร้อมกับแสดงความเป็นแบรนด์ออกมาให้มากที่สุด เพื่อดึงดูดความสนใจของพวกเขาตามเทรนด์ของช่วงนั้นด้วย

Facebook 

แหล่งเช็กคำแนะนำจากคนใกล้ตัวในโซเชียล

Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่อยู่ในยุคบุกเบิกของการเข้ามาสู่โลกโซเชียลมีเดีย จึงทำให้คนส่วนใหญ่มีผู้ติดตามเป็นกลุ่มคนใกลชิดมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ทั้งครอบครัว และเพื่อน ๆ ทุกยุคสมัยจะรวมตัวกันอยู่แอปนี้ 

และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Facebook กลายเป็นแหล่งเช็กคำแนะนำหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ จากคนใกล้ชิด ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเชื่อในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก ซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะเห็นการรีวิวในลักษณะบรรยายยาว ๆ เป็นพารากราฟจากแอปนี้บ่อยครั้ง

เพราะฉะนั้นการที่แบรนด์สามารถทำให้กลุ่มคนเหล่านั้นสร้างยอดเอ็นเกจเมนต์ให้แบบนี้ได้ ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นได้ดี และหลังจากนั้นก็ค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปตามรูปแบบการรีวิวนั้นก็ได้เช่นกัน หรือที่เราเรียกกันว่า ‘Affiliate Marketing’ นั่นเอง

Twitter 

แหล่งรวบรวมข้อมูลประกอบการคิดก่อนซื้อ 

หากพูดถึงแพลตฟอร์มที่เราต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อ Twitter ก็นับว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีข้อมูลจากหลากหลายทางเช่นกัน ซึ่งมีทั้งความคิดเห็นจากฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เพราะความเป็นเรียลไทม์แพลตฟอร์มอาจจะมีคนเคยสงสัยหรือถามหาข้อมูลแบบเราได้ง่ายในฐานผู้บริโภค

แม้จะดูเป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์ลงไปแทรกซึมเพื่อทำการตลาดได้ง่าย เพียงแค่หาแอคเคานท์ที่มียอดผู้ติดตามหลักหมื่น แล้วทวีตในลักษณะคำที่ใช้พูดกันให้ดูเนียน แต่ก็ต้องยอมรับว่าผู้บริโภคสมัยนี้สามารถแยกแยะได้มากขึ้นว่าการโฆษณาและการรีวิวจากคนรู้จริงมีความแตกต่างกันอย่างไร ฉะนั้นทางเลือกที่ดีที่สุด คือการขายให้รู้ว่าขายไปเลยจะดีกว่า

TikTok 

แหล่งไถฟีดเพื่อตามหาของใหมน่าช้อป 

คอนเทนต์รูปแบบวิดีโอสั้น (Short Video) เรียกได้ว่ามาแรงแซงโค้งทุกแพลตฟอร์มเป็นอย่างมากในยุคนี้ เพราะตอบโจทย์กับผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาเสพคอนเทนต์มากนั้น เลยทำให้นิ้วที่คอยปัดผ่าน หรือไถคลิปหน้าฟีดมีอิทธิพลต่อแบรนด์เป็นอย่างมาก เพราะคอนเทนต์ต้องสามารถดึงดูดความสนใจภายในเวลา 7 วินาทีเพื่อให้ดูจนจบ

TikTok เลยเปรียบเสมือนกับแพลตฟอร์มที่เป็นแหล่งหาของแปลกหรือของใหม่น่าลองอยู่เสมอ เพราะทุกคลิปจะประกอบไปด้วยการรีวิวจริง ๆ จากเหล่านาโนอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งในตอนนี้พวกเขามีอิทธิพลมากยิ่งกว่าเหลาดาราเซเลบเสียอีก

ฉะนั้นทางเลือกในการใช้ TikTok โปรโมตตสำหรับแบรนด์ต้องทำให้สั้นและน่าสนใจที่สุด โดยไม่จมลงไปกับทะเลคอนเทนต์ที่สุ่มขึ้นมาทุก ๆ วินาทีด้วย

YouTube 

แหล่งตามรอยช้อปจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ 

ถ้า Facebook คือแพลตฟอร์มบุกเบิกด้านโซเชียล YouTube ก็เป็นแพลตฟอร์มบุกเบิกด้านคอนเทนต์วิดีโอ และแม้ยุคนี้จะมี TikTok เป็นคู่แข่ง แต่ YouTube ก็ยังคงนิยมสำหรับกลุ่มคนที่ชอบ และมีเวลาดูคลิปยาว ๆ ในช่วงวันหยุด และหลายเป็นแหล่งที่เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ ดารา ไปจนถึงแบรนด์และครีเอเตอร์ต่าง ๆ มีจุดเริ่มต้นเป็นช่องของตัวเอง ณ ที่แห่งนี้ด้วย

ซึ่งในมุมมองผู้บริโภค YouTube มักจะใช้รับชมการรีวิวการใช้จริงจากกลุ่มคนที่พวกเขาติดตาม ไม่ว่าจะเป็นการพาเที่ยว เดินช้อป ชมหรือชิม ไปจนถึงการรีวิวสินค้าอย่างละเอียดทุกขั้นตอนยันผลลัพธ์ นับว่าเป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งถ้าเลือกประยุกต์ใช้กับแบรนด์ให้ถูกวิธี ก็จะสามารถครองใจ และตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้ไม่ยากเลย

Pinterest 

แหล่งคลังภาพเก็บทุกไลฟ์สไตล์การช้อป

ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบไหน โดยเฉพาะด้านครีเอทีฟหรือดีไซน์ งานอาร์ตต่าง ๆ เราเชื่อว่ามีหลายคนมี Pinterest เป็นคลังเก็บไอเดียมู้ดแอนด์โทนแน่นอน ถึงภาพในแพลตฟอร์มนี้จะไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่ก็สามารถนำมาปักหมุดรวมกัน และแยกเป็นหมวดหมู่ เพื่อเติมแต่งไอเดียได้นะ

สำหรับผู้บริโภคก็คงจะสนุกกับการรับชมหรือเซฟภาพหาไอเดียการช้อปจากในนี้ไม่น้อย และสำหรับแบรนด์ก็สามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มนี้ มาสร้างมู้ดแอนด์โทนให้แสดงความเป็นแบรนด์ชัดขึ้นได้เช่นกัน เพราะ Pinterest ก็นับว่าเป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของเทรนด์กราฟิก หรือการออกแบบอาร์ตต่าง ๆ ด้วย

แต่ไม่ว่าแบรนด์จะประยุกต์ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแพลตฟอร์มไปใช้กับกลยุทธ์การขายแบบไหน หัวใจสำคัญของ Social Commerce ในปี 2022 นี้ ก็คงไม่พ้นการเข้าใจทั้งแพลตฟอร์ม เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงเข้าใจตัวเองและคู่แข่งด้วย

เนื่องจากในยุคการแข่งขันคอนเทนต์สูงนี้ มีข้อมูล และทริกสำหรับวางแผนกลยุทธ์มากมายจนเราอาจตามไม่ทัน รวมถึงเทรนด์ที่มาเร็วและก็ไปเร็วในบางครั้งนี้ การปรับตัวให้เร็ว และรู้จักยืดหยุ่น ให้ตัวเองได้มีพื้นที่ทดลองจนกว่าจะเจอสิ่งที่ใช่จริง ๆ สำหรับแบรนด์ โดยที่ไม่ฝืนที่จะเล่นตามเทรนด์จนเกินไป คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว

ที่มา: bazaarvoice

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save