แม้ TikTok จะเป็นแพลตฟอร์มคอนเทนต์วิดีโอสั้นที่นิยมกัน แต่แพพลตฟอร์มโซเชียลอื่น ๆ ก็เริ่มมีฟังก์ชันวิดีโอสั้นมาเพื่อทำให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น และ Instagram ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ เพราะทั้ง Stories, Feed Video, Reels และ Live ต่างก็มีบทบาทในวงการครีเอเตอร์และการตลาดมากขึ้น
ในปัจจุบันการสร้างคอนเทนต์แบบวิดีโอบน Instagram มีทั้งหมด 4 ฟอร์แมตด้วยกัน ซึ่งมีผู้ใช้กว่า 91% ที่ใช้เวลาไปกับการับชมคอนเทนต์วิดีโอต่อสัปดาห์
และเพราะ Instagram มีรูปแบบคอนเทนต์วิดีโอที่แตกต่างกันให้เลือกใช้ภายในแพลตฟอร์มเดียว ทาง RAiNMaker เลยอยากจะมาแชร์ไฮไลต์ของแต่ละฟังก์ชัน เพื่อให้นำไปประยุกต์ใช้เหมาะกับตัวเองกัน
Instagram Stories
ความยาว = 15 วินาที
-
ใส่องค์ประกอบแบบ Interactive
การใส่ Interactive บนสตอรีก็คือ การใส่ ฟิลเตอร์, อีโมจิ, แฮชแท็ก, สติ๊กเกอร์, การเช็กโพลหรือใส่เซกชันถาม – ตอบลงไปในคอนเทนต์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น
-
อย่าลืมแปะลิงก์เพิ่มยอด Conversions
สตอรีของ Instagram เหมาะกับการสร้างคอนเทนต์แบบ Interactive เป็นอย่างมาก เพราะสถิติจาก Hootsuite ได้สำรวจจาก Meta ว่า มีผู้ใช้กว่า 50% รู้จักแบรนด์มากขึ้นผ่านการกดลิงก์ที่แปะบนสตอรี เลยทำให้สตอรีกลายเป็นอีกฟีเจอร์หนึ่งที่ยอดนิยมสำหรับแบรนด์เป็นอย่างมาก
-
สร้างเป็นไฮไลต์ให้ดูย้อนหลังได้
สตอรีของ Instagram ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแอป Snapchat ที่ฮิตในเยาวรุ่นของอเมริกา แต่ตอนนี้ Instagram บูมกว่า เพราะสตอรีของ Instagram ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นแอปที่เสมือนกับไดอารี่ไว้ย้อนดูวันเวลา และเรื่องราวเก่า ๆ ของตัวเองไปแล้ว
และเพราะสตอรีมีความยาวของคอนเทนต์ 15 วินาที เพื่อดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมาย จึงสามารถเซฟเก็บสตอรีที่น่าสนใจจัดเป็นไฮไลต์ไว้ที่นหน้าโปรไฟล์บน Instagram ได้
Instagram Feed Video
ความยาว = มากที่สุด 10 นาที
-
เพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์จากแชร์คลิปลงสตอรี่
เมื่อทำคอนเทนต์วิดีโอเพื่อลงหน้าฟีดของ Instagram ก็อาจมีปะปนไปกับรูปภาพปกติได้ เลยทำให้ไทม์ไลน์มีความไหลมากกว่าเดิมจนไม่ได้หยุดดูคลิป ดังนั้นการหาช่องทางเพื่อแชร์คอนเทนต์วิดีโอบนฟีดของ Instagram เพิ่มขึ้น จะช่วยให้คนอยากกลับไปดูที่ลิงก์ออริจินัล และเพิ่มการมองเห็นด้วย
-
อย่าลืมสร้างแฮชแท็กให้คอนเทนต์
การใส่แฮชแท็กในคอนเทนต์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้ผู้คนค้นหาคอนเทนต์หรือแบรนด์ได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะกับแฮชแท็กที่สร้างขึ้นมาเพื่อแต่ละแคมเปญ จะยิ่งทำให้ยอดเอ็นเกจเมนต์ไม่ต้องมีคู่แข่งทาง Traffic มากนักในการค้นหา เพราะมีแค่แบรนด์เราที่ใช้
-
ตั้งค่าให้ส่งต่อไปในไดเร็กได้
การตั้งค่าเปิดให้วิดีโอแชร์ไปในไดเร็กของ Instagram ได้ จะช่วยให้การแชร์ไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้กว้างขึ้น โดยจะมีกลุ่มเป้าหมายของเราที่เป็นบทบาทสำคัญในการช่วยแชร์ ทำให้คอนเทนต์เป็นที่รู้จักมากขึ้น
Instagram Live
ความยาว = มากกว่า 4 ชั่วโมง
-
สตรีมเพื่อตกกลุ่มเป้าหมายใหม่
การสตรีมหรือไลฟ์เพื่อพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เป็นวิธีหนึ่งที่แบรนด์และครีเอเตอร์ควรจะนำมาใช้เพื่อรักษากลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มความใกล้ชิดกับแบรนด์ให้ดูเข้าถึงง่าย
เนื่องจากการพูดถามตอบคำถามที่อยากรู้โดยตรง จะยิ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเชื่อใจไปจนถึงความภักดี (Loyalty) ต่อแบรนด์มากขึ้น
-
ใช้ฟีเจอร์ Live Shopping ขายของได้
ในปัจจุบันการไลฟ์ขายของดูจะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ ซึ่ง Instagram ก็มีฟีเจอร์ Live Shoping เป็นเครื่องมือให้ขายของกันได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งตัวกลางอย่างช่องทางต่าง ๆ หรือการสร้างช่องทางใหม่เพิ่มอีก
โดยฟีเจอร์ Live Shopping จะกลายเป็นอีกพื้นที่หนึ่งให้แบรนด์และครีเอเตอร์ได้ขายของ พร้อมพรีเซนต์ผลิตภัณฑ์และบริการได้เต็มที่ ทั้งการแท็กไปหน้าร้านค้า และซัพพอร์ตการโดเนทได้ด้วย
-
แชร์ให้ดูย้อนหลังภายใน 30 วัน
การไลฟ์บน Instagram จะสามารถเก็บไว้ให้ดูย้อนหลังได้ 30 วัน จากนั้นคลิปไลฟ์ก็จะถูกลบ เหมาะกับให้กลุ่มเป้าหมายที่มาดูคลิปไม่ทันได้กลับมารับชมย้อนหลังอีกครั้ง และเป็นการเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ด้วย
Instagram Reels
ความยาว = 15 วินาที / 30 วินาที / 1 นาที
-
เน้นสร้างคอนเทนต์แนว Edutainment
คอนเทนต์แยว Edutainment คือ คอนเทนต์ที่มีทั้งการสอน, คอนเทนต์ How To ที่มีการเรียนรู้ทริกต่าง ๆ แต่มีความบันเทิงแทรกอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นประเภทคอนเทนต์ที่คนนิยมมากบน TikTok ที่เหมาะกับการดูให้เข้าใจง่ายภาบในเวลา 15-30 วินาทีเท่านั้น
-
เพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์จากแชร์คลิปลงสตอรี่
อย่างที่กล่าวไปว่าการแชร์คลิปลงสตอรีจะทำให้คนมองเห็นมากขึ้น ซึ่งก็ใช้ได้กับคลิปใน Reels เช่นเดียวกัน เพราะสตอรีเป็นสิ่งที่คนนิยมเข้ามาส่องมาที่สุด ทั้งยอด Reach (ยอดที่ไม่นับวิวหรือคนเดิมซ้ำ) และ Impressions (ยอดที่นับวิวซ้ำคนเดิมได้ หรือปัดผ่านก็นับ) จึงปังได้เพราะมีฟีเจอร์สตอรีเป็นตัวช่วย
-
ใช้เป็นช่องทางโฆษณาผ่าน Reels Ads
ถ้า TikTok มีการโฆษณาแทรกอยู่บนฟีดได้ บน Instagram ก็มี Reels Ads สำหรับโฆษณาภายในฟีดได้เช่นกัน เพราะสามารถใส่ ‘Product Tag’ บน Reels เพื่อขายของได้นั่นเอง
How to go viral
-
เพิ่มเอ็นเกจเมนต์ด้วยการฮุกจากวิชวลและแคปชัน
ไม่ว่าจะเป็นการฮุกความสนใจของกลุ่มเป้าหมายด้วยแคปชัน หรือแฮชแท็กของคอนเทนต์ก็ตาม ทุกอย่างล้วนสามารถเลือกทำให้โดดเด่นเพื่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้ไม่จำกัด ขอแค่ฮุกให้ถูกจุดมากพอที่จะหยุดไถฟีดเพื่อมาดูคอนเทนต์ของเรา
-
เน้นสร้างคอนเทนต์แบบแนวตั้ง
นอกจากคอนเทนต์ประเภทวิดีโอสั้นจะได้รับความนิยมแล้ว การทำคอนเทนต์เป็นแนวตั้งเพื่อให้ความสะดวกต่อการรับชมนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะมีจำนวนคนที่ต้องเปิดจอใหญ่ และปลดล็อกจอให้เป็นแนวนอนได้น้อยลง เว้นแต่จะทำแบบนั้นกับคอนเทนต์ที่ชอบและต้องการดูให้เต็มตา
แต่เพราะยุคสมัยที่ผู้คนใช้เวลากับแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นในเวลาเร่งรีบ ไม่ว่าจะเป็นเวลาเดินทาง เวลากินข้าว หรือก่อนนอน คอนเทนต์แนวตั้งมีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์ยุคนี้เป็นอย่างมาก
-
ใส่ความเอ็นเตอร์เทนให้กลุ่มเป้าหมาย
ใคร ๆ ก็ชอบคอนเทนต์แนวเอ็นเตอร์เทน เพราะผู้คนจะหาคอนเทนต์ที่ผ่อนคลาย และช่วงสร้างความอารมณ์ดีให้ตัวเองได้ยิ้มหรือหัวเราะในช่วงหลังเลิกเรียนหรือทำงานมาเหนื่อย ๆ นั่นเอง แต่ความเอ็นเตอร์เทนก็ควรอยู่ในขอบเขตที่พอดี และไม่ก้าวก่ายหรือทำให้ใครเดือดร้อนด้วย
-
จัดตารางคอนเทนต์วิดีโอให้หลากหลาย
สำหรับแบรนด์หรือครีเอเตอร์ที่อยากจะวางแผนใช้คอนเทนต์วิดีโอของ Instagram ทั้ง 4 แบบ จะต้องมีการทำตารางให้จัดสรรประเภทของวิดีโอให้ไม่ซ้ำกัน หรือมีการสลับกันเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตั้งหน้าตั้งตารอคอนเทนต์ใหม่ ๆ ออกมาให้ชมอีกนั่นเอง
ที่มา: Hootsuite