เพราะโลกต่างเชื่อมต่อกันด้วยวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจที่มีผลเกื้อกูลกันเสมอ ดังนั้น หากมีเหตุการณ์ไหนที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่ง ย่อมกระทบไปเป็นทอด ๆ กันอย่างเลี่ยงไม่ได้ วันนี้เราจะพามาอัปเดตสถานการณ์โลก และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ทุกคนควรรู้ และเตรียมปรับตัวกัน
ในเซสชัส “World Economic Outlook” โดย คุณรวิศ หาญอุตสะ CEO บริษัทศรีจันทร์สหโอสถจำกัด และผู้เขียนหนังสือ “Mission to the Moon” ได้บอกเอาไว้ว่าแนวโน้ม และการคาดการณ์สถานการณ์ทั่วโลกที่ควรรู้ในตอนนี้ เกิดมาจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม และเศรษฐกิจของสงคราม การเมือง กลายมาเป็นปัญหาระดับประเทศแล้ว ซึ่งมีแนวโน้ม ดังนี้
Food Crisis
โลกกำลังจะเผชิญกับความท้าทายเรื่องอาหารมากที่สุดแห่งประวัติศาสตร์
– หลายประเทศเริ่มกักตุนอาหาร โลกเข้าสู่ Food Crisis แบบเต็มรูปแบบ
– ต้นทุนอาหารของคนและสัตว์แพงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
– แป้งสาลี: รัสเซียส่งออกไม่ได้เพราะโดนแบน ยูเครนส่งออกไม่ได้เพราะโดนปิดท่า
– ผลผลิตแย่เพราะปุ๋ยแพง ราคาอาหารจัพม์ขึ้นช่วงปลายปี กระทบปากท้องแน่นอน
Geopolitics Crisis
สงคราม และอำนาจของการเมืองของผู้นำที่ทำให้โลกเกิดความขัดแย้ง
– ข้าวของราคาแพง และคนอพยพเพิ่มขึ้น
– การผูกขาด เช่น TSMC ผลิตชิปให้กับบริษัทไอทีทั่วโลก โดยที่ไม่มีคู่แข่งไหนทำได้
– Tension ที่เกิดขึ้นระหว่างจีน และไต้หวัน
– อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศที่น่าจับตามองเรื่องเศรษฐกิจอันดับ 8 ของโลก
Energy & Commodity Crisis
– ราคาแก๊สธรรมชาติ และน้ำมันขึ้น และคงอยู่แบบนี้ไปอีกระยะหนึ่ง
Social Equality
– เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทุกครั้งที่เกิดความลำบาก มหาเศรษฐีจะรวยขึ้นทุกประเทศ
– 10 ปีต่อจากนี้ ใครสามารถเกาะกระแส เทรนด์ หรือเอาตัวรอดจากการ Disrupt ได้จะรอด
Climate Crisis
– อุณหภูมิของแต่ละประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงระดับน้ำทะเล ประเทศไหนเสี่ยงจะจมน้ำก็มีโอกาสเพิ่มขึ้น เช่น กรุงเทพ
การรับมือกับสถานการณ์ของโลก
– เข้าใจ Value Chain ขององค์กร และธุรกิจของตัวเอง
– จัดเรียงความสำคัญของซัพพลายให้ยั่งยืน
– เข้าใจ Capital Structure: ศึกษาหุ้น ประเภทของหนี้ และความเสี่ยงของลูกหนี้ เพื่อจัดการ Cash Flow ให้ลื่นไหล แม้ขาดทุนก็อยู่ได้
– ให้ความสนใจกับผู้เล่น คือ FED และธนาคารกลางของโลก อ่าน Meeting Minutes เสมอ
– รักษา และยืดหยุ่นในการทำงานให้กับพนักงาน โดยไม่เทรนด์พนักงานใหม่ ๆ เพิ่ม แต่ต้องเรียนรู้ที่จะรักษาไว้
– ความอยู่รอดระยะสั้น สำคัญกว่า Long-term Growth
Perfect Strom
เดือนกันยาจะมีคลื่นพายุที่ร้ายแรงกว่านี้ ให้เตรียมตั้งรับในไตรมาส 4 ให้ดี
#CTC2022