ที่จริงแล้วคนเรามักกระหายความรู้ โดยมีความอยากรู้เป็นตัวกระตุ้น ซึ่งความรู้ที่ถูกย่อยให้อ่านง่าย แถมเข้าใจได้เร็วนั้น ย่อมโดนใจคนในยุคนี้เสมอ ซึ่งในปัจจุบันคอนเทนต์ฟรีมีอยู่ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากมายแล้วแต่คนจะเลือกเสพ
ดังนั้น การวางแพลน Content Pillars ให้ปัง จึงถือเป็นเรื่องที่ชาว Marketing ทั้งในองค์กร เอเจนซี และแบรนด์ควรให้ความสนใจ เพราะ Content Pillars จะช่วยให้เราได้โฟกัสจดจ่ออยู่กับคอนเทนต์ของสินค้าและบริการได้ตรงจุด และตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการต่อยอดเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการนั่นเอง
สิ่งที่ควรตอบให้ได้ เมื่อทำคอนเทนต์ 1 ตัว
- What is Content : เนื้อหาที่อยากสื่อสารเป็นเรื่องอะไร?
- Content Category : อยู่ในกลุ่มคอนเทนต์ประเภทไหน?
- Content Format : รูปแบบของคอนเทนต์? เช่น ภาพเดี่ยว / ภาพชุด / วิดีโอ / บทความ
- Ads Support : โปรโมตด้วยโฆษณาหรือไม่?
- KPI : วัดผลคอนเทนต์นี้อย่างไร?
- Target : มีกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร สำหรับคอนเทนต์นี้?
5 ประเด็นที่ควรปักหมุดไว้ใน Content Pillar
1. Engagement Content
เป็นคอนเทนต์ที่มีจุดประสงค์ให้ผู้พบเห็นเกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการคอมเมนต์ แชร์ และกดไลก์ก็ตาม โดยเนื้อหาคอนเทนต์จะเป็นไปในทางเดียวกับแบรนด์ หรืออิงจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ ณ ขณะน้ัน เช่น มีมต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้คนหันมาสนใจในเพจเพิ่มมากขึ้น
ซึ่ง Engagement Content ถือเป็นตัวช่วยในการเพิ่มยอด Reach หรือยอดการมองเห็นของอัลกอริทึมในโซเชียลมีเดียได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์หรือเพจที่กำลังปั้นอยู่ จึงไม่ควรขาด และต้องขยันสร้าง Engagement Content ให้สม่ำเสมอด้วยจำนวนที่เยอะ ๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ ผ่อนลงมา
ตัวอย่างที่เราจะพบเห็นกันบ่อย ๆ เช่น Quote Memes และ Reels เป็นต้น
- ถามตอบกับแฟนคลับ เพื่อสร้าง Engagement
- แชร์ Quote ที่ชอบมากที่สุด หรือมายึดในการทำงาน
- แชร์แรงบันดาลใจในการทำคอนเทนต์
ระดับการสื่อสาร Engagement Content >>> Know (เน้นสร้างการรับรู้)
สัดส่วนของคอนเทนต์ >>> มากที่สุด เพื่อให้คนเกิดการมีส่วนร่วม
2. Educational Content
คอนเทนต์แนวให้ความรู้เป็นอีกคอนเทนต์ที่ช่วยให้ช่องได้เปิดโลกกว้าง และได้รู้จักกับกลุ่มเป้าหมายของเพจได้มากขึ้น
ซึ่งประเด็นจะเกี่ยวกับการให้ความรู้ในเรื่องของแบรนด์ที่ทำอยู่ หรือทักษะต่าง ๆ ที่น่าสนใจในการทำธุรกิจเหมือนมีผู้เชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ มาสอนให้เอง หรือจะเป็นประสบการณ์โดยตรงและโดยอ้อมที่เจ้าของช่องได้เจอมา และอยากนำมาเล่าเพื่อถ่ายทอดก็ได้อีกเช่นกัน
ตัวอย่างที่เราจะพบเห็นกันบ่อย ๆ เช่น
- แชร์เครื่องมือทางการตลาดในการทำคอนเทนต์ที่ชอบใช้มากที่สุด
- แชร์ทริกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ควรรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ
- แชร์ปัญหา และวิธีการแก้ไขที่อยากให้ผู้อื่นทำตามแล้วได้ผล
- แชร์ Fun Fact สิ่งต่าง ๆ
ระดับการสื่อสาร Educational Content >>> Know (เน้นสร้างการรับรู้) + Like (เน้นความรู้สึกชอบ) + Trust (สร้างความรู้สึกเชื่อใจไว้ใจ)
สัดส่วนของคอนเทนต์ >>> มาก แต่น้อยกว่า Engagement Content
3. Connection Content
คอนเทนต์ที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพจ และกลุ่มเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ด้วยเรื่องเล่า (Storytelling) ของแบรนด์ พูดง่าย ๆ คือ ใช้ประโยชน์จากเรื่องเล่ามาทำให้คนตกหลุมรักแบรนด์แบบไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในมุมมองของกลยุทธ์การตลาด
เพราะเรื่องเล่าของแต่ละแบรนด์ทำให้คนที่มีประสบการณ์คล้าย ๆ กันเกิดความรู้สึกอินและอยากสนับสนุน ซึ่งถือว่า Connection Content เป็นการเพิ่มคุณค่าของแบรนด์นั้น ๆ และรู้สึกพิเศษที่ได้รู้ข้อมูลเบื้องลึกนั้นมากขึ้นอีกด้วย
ตัวอย่างที่เราจะพบเห็นกันบ่อย ๆ เช่น
- เล่าเรื่องความเป็นมาก่อนที่จะสร้างแบรนด์
- แชร์มุมมองสิ่งที่ชอบว่าสนใจเรื่องอะไร
- โชว์พื้นที่ในการทำคอนเทนต์ เพื่อโปรโมตตัวเองให้น่าสนใจ
- แชร์เบื้องหลังการทำงานสุด Exclusive
ระดับการสื่อสาร Connection Content >>> Like (เน้นความรู้สึกชอบ) + Trust (สร้างความรู้สึกเชื่อใจไว้ใจ)
สัดส่วนของคอนเทนต์ >>> รองลงมาจาก Educational Content
4. Social Proof Content
คอนเทนต์ประเภทนี้จะเน้นการรีวิวเคสต่าง ๆ จากผู้บริโภคที่ได้ลองใช้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งบริการนั้น ๆ ด้วยตัวเอง แล้วจึงนำมารีวิวลงในสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่สินค้าและบริการว่าใช้ดีจริงจนต้องบอกต่อ! ถือเป็นการพิสูจน์คุณภาพของสินค้าว่าได้มาตรฐานที่ดี ใช้แล้วเห็นผล จนสามารถโน้มน้าวใจผู้บริโภคได้นั่นเอง
ตัวอย่างที่เราจะพบเห็นกันบ่อย ๆ เช่น เคสรีวิวสินค้าและบริการต่าง ๆ จากคนที่ได้ลองใช้จริง
ระดับการสื่อสาร Social Proof Content >>> Trust (สร้างความรู้สึกเชื่อใจไว้ใจ)
สัดส่วนของคอนเทนต์ >>> รองลงมาจาก Connection content
5. Promotional Content
คอนเทนต์โปรโมตขายของที่เรามักพบเห็นกันได้บ่อยในช่องทางโซเชียลต่าง ๆ เพื่อบอกสรรพคุณ พร้อมขายสินค้าและบริการอย่างตรงไปตรงมา ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น บนเว็บไซต์ หรือจะ DM ใน Instagram ก็ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ แบรนด์ยังต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้ซื้อสินค้าและบริการของตัวเองเป็นหลัก เพื่อทำคอนเทนต์โปรโมตให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยคอนเทนต์ประเภทนี้อาจมีการยิงโฆษณา Call to Action เพื่อขยายให้กลุ่มเป้าหมายหรือคนที่สนใจในเรื่องนั้น ๆ เห็นคอนเทนต์เพิ่มมากขึ้น จนเกิดการกดซื้อตามมา
ตัวอย่างที่เราจะพบเห็นกันบ่อย ๆ เช่น
- โปรโมตสินค้าบริการ และช่องทางการติดต่อ
ระดับการสื่อสาร Promotional Content >>> คุณต้องการสร้าง Know (เน้นสร้างการรับรู้) + Like (เน้นความรู้สึกชอบ) + Trust (สร้างความรู้สึกเชื่อใจไว้ใจ)
สัดส่วนของคอนเทนต์ >>> มีจำนวนน้อยที่สุด
แหล่งอ้างอิง : www.mallorymusante.com/