รู้จักกับยุค Post-Facebook เมื่อสถานะทางสังคมออนไลน์ได้มาแต่กำเนิด

ก่อนที่โทมัส เอดิสันจะประดิษฐ์หลอดไฟ ผู้คนใช้แสงสว่างจากแหล่งอื่น เมื่อหลอดไฟถูกประดิษฐ์ขึ้น มันกลายเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน จนทุกวันนี้หลอดไฟเป็นเรื่องปกติ เด็กเกิดมาก็เห็นหลอดไฟแล้ว มันจึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่ได้น่าว้าวอะไรมาก แต่เราเคยคิดไหมว่าคนที่เขาโตมาในยุคที่หลอดไฟกำลังถูกสร้างขึ้น พวกเขามองหลอดไฟเหมือนกับหลอดไฟของเราหรือเปล่า

ไม่ปฏิเสธว่าตอนนี้ Facebook เป็น Social Network อันดับหนึ่งของไทย และมีผู้ใช้งานเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยเฉพาะเมื่อ Smart Phone กลายเป็นสิ่งที่หาจับได้ง่ายในยุคนี้ และการมีบัญชี Facebook ไม่จำกัดเฉพาะคนที่สนใจด้านเทคโนโลยี หรือวัยรุ่นอย่างเดียว แต่ตั้งแต่วัยกลางคนหรือวัยสูงอายุก็มีบัญชี Facebook เป็นของตัวเองกัน

Facebook เริ่มเข้ามาเป็นที่นิยมในไทยช่วงประมาณปี 2010-2011 ในตอนนั้น ผู้ใช้งาน Facebook ส่วนมากจะเป็นคนในกลุ่มเทคโนโลยีและวัยรุ่นที่ใช้งาน Social Network ในเชิง Blog อย่าง Hi5 และ Exteen ที่เป็นที่นิยมมาก ๆ ในสมัยนั้น

Social Network เชิง Blog และยุคก่อน Smart Phone

Mark Zuckerberg พัฒนา Facebook ในช่วงปี 2004 ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มี Smart Phone การใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องผ่านคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นแบบตั้งโต๊ะหรือแบบโน๊ตบุ๊ค ในตอนนั้น Social Network ส่วนมากจึงเป็นในลักษณะของการเขียน Blog ด้วยความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้แรงเท่าปัจจุบัน การแทรกรูปจึงเป็นที่นิยมน้อยกว่าตัวอักษร (เนื่องจากเว็บโหลดตัวอักษรได้ไวกว่า) นอกจากการเขียน Blog แล้ว MySpace เป็นอีกหนึ่งในสิ่งที่นิยามความเป็น Social Network สมัยนั้น

ดังนั้นไม่แปลกใจเลยว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตสมัยนั้นทุกอย่างแทบจะมาจากคอมพิวเตอร์ จนถึงการเปิดตัว iPhone ในปี 2007 ที่ Steve Jobs ก็ยังใช้เวลานานหลายปีกว่ามือถือจะกลายมาเป็นเครื่องมืออินเทอร์เน็ต จากรายงานของ StatCounter ในปี 2010 เป็นช่วแรก ๆ ที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือโตขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ จนถึงปี 2016 จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยมือถือ ก็ได้แซงหน้าคอมพิวเตอร์ไปเรียบร้อยแล้ว

ออนไลน์เฉพาะหน้าคอม ที่เหลือฉันออฟไลน์

หลายคนคงยังจำยุคที่เราต้องรีบกลับบ้านเพื่อไปเปิด MSN คุยกับเพื่อนได้ นิยามของคำว่า “ออนไลน์” เป็นคำพูดที่ฮิตมากในยุคช่วงปี 2009 – 2010 ตอนนั้นผู้เขียนอยู่ช่วงประถมตอนปลาย “ออนเอ็ม” เป็นศัพท์ที่พูดกันอย่างติดปาก การออนไลน์ถูกจำกัดอยู่ที่คอมพิวเตอร์เท่านั้น ไม่เหมือนปัจจุบันที่เราแทบจะออนไลน์กันอยู่ตลอดเวลา

นอกจากการแชทแล้วการ อินเทอร์เน็ตสมัยนั้นอย่างที่บอก Social Network ในเชิง Blog สามารถทำให้คนธรรมดา ๆ สามารถออกมาสื่อสารความเป็นตัวเองได้

  • เราสามารถเขียนเรื่องราวของเราบน Blog ต่าง ๆ เช่น Exteen, Bloggang
  • สามารถสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ผ่านการพูดคุยหรือสิงสถิตตามเว็บบอร์ด
  • เล่นโซเชียลที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้จากทุกที่บนโลกผ่าน Facebook

เมื่อมี Smart Phone เข้ามาก็เป็นสิ่งที่ทำให้พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเปลียนไปตลอดกาล Instagram และ Snapchat เป็นอีกสิ่งที่พิสูจน์สิ่งนี้

Instant เมื่อมือถือเปลี่ยนโซเชียลไปตลอดกาล

Instagram เป็น Social Network ยุคแรก ๆ ที่ออกแบบมาแบบ “Smart Phone Only” หรือใช้งานได้จากบน Smart Phone เท่านั้น การใช้งานของมันก็ง่าย ๆ ไอเดียของมันก็เพียงแค่ว่า เราสามารถโพสต์รูปภาพจากที่ไหนก็ได้ ตอนไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ ขึ้นสู่โลกออนไลน์ได้ทันที ตามชื่อของมัน “Insta หรือ Instant“

สิ่งนี้แตกต่างจากไอเดียของ Facebook โดยสิ้นเชิง ลองย้อนกลับไปเมื่อก่อนในตอนที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อเล่น Facebook กัน สิ่งนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่นั้นแปลว่าเราจะต้องมีคอมพิวเตอร์ติดตัวอยู่ตลอดเวลา

การใช้งาน Facebook บนมือถือก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน แม้ว่า Facebook จะไม่ได้เป็น Instant Social Network เหมือน Instagram แต่ปัจจุบันกลายเป็นว่า Facebook เน้นให้ความสำคัญของการใช้งานมือถือมากกว่าบน Desktop เสียอีก ซึ่งเราจะพูดถึงเรื่องนี้ในหัวข้อถัดไปอีกที ว่า Facebook ที่เป็นโซเชียลมีอายุขึ้นมาบ้างปรับตัวอย่างไร

กำเนิด Social Native สถานะทางโซเชียลอันได้มาโดยกำเนิด

เด็กบางคนที่เกิดมาในยุคที่ทุกคนไม่มีขีดจำกัดในการมีตัวตนบนโซเชียล ใคร ๆ ก็สามารถสื่อสารผ่านโซเชียลไปยังคนที่ติดตามหรือเพื่อน ๆ ได้ เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กในยุค Social Native นี้มองว่า “มันเป็นเรื่องปกติ” ถ้าลองสังเกตดูเราจะพบว่าการใช้งานโซเชียลของเด็กสมัยนี้จะไม่หวือหวามาก และเน้นการใช้งานสิ่งที่เป็น Private-Social Network

ผู้เขียนได้ลองคุยกับเพื่อน ซึ่งอยู่ในระดับ ม.ปลาย จนถึง มหาวิทยาลัยปี 1-2 พบว่า แต่ละคนจะมีกลุ่มแชทหรือโซเชียลเป็นของตัวเองซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อน บนโซเชียลเช่น IG หรือ Snapchat และจะเน้นพูดคุยและเล่าเรื่องราวผ่าน Story เข้าไปในกลุ่มดังกล่าวมากกว่าการโพสต์ลงบนสิ่งที่ Public อย่าง Facebook หรือ IG Story ที่เป็น Public

สำหรับเด็กในยุค Social Native การได้ยืนอยู่บนเวทีที่สามารถบอกเล่าความเป็นตัวเองให้ทุกคนบนอินเทอร์เน็ตได้รับรู้ไม่ใช่สิ่งที่น่าตื่นเต้นเหมือนคนที่เติบโตมาก่อน หรือพร้อมกับอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป

The Post-Facebook Era จุดจบแห่งยุค Blog Social Network

เมื่อหน้าจอมือถือ กลายเป็นจอที่เราสามารถหยิบขึ้นมามองได้ตลอดเวลา และอยู่กับเราทุกที่ หน้าจอคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่สำคัญรองไปแล้ว เราจะเห็นว่าทุกฟีเจอร์ที่ออกแบบมาหลังจากการมาของ Smart Phone นั้นถูกออกแบบมาให้รองรับกับมือถือทั้งหมด โดยเฉพาะ Story

Story เป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบมาสำหรับ Smart Phone โดยแท้จริง ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมือถือที่แรง ร่วมกับความสามารถของกล้อง Smart Phone ที่ไร้ขีดจำกัด ทำให้ Story สามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นออกมาได้ทันที

Story เป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานบน Smart Phone เนื่องจากเราถือ Smart Phone แนวตั้งทำให้ Story ถูกออกแบบมาให้ใช้งานแนวตั้ง ช่วงหลังเราจะพบว่า Trend ของวิดีโอแนวตั้งกำลังมาแรง เนื่องจากมันถูกออกแบบตามวิถีการใช้งาน Smart Phone ที่มีลักษณะเป็นแท่งตรง ๆ ขึ้นไป

ดังนั้นสรุปง่าย ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในหลัง Post-Facebook นี้

อนาคตของวงการคอนเทนต์ ยุคแห่งมือถือ

สิ่งแรกที่เราควรจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นคือ เราไม่ควรวางใจวิธีหรือแนวทางของ Facebook แม้ว่า Facebook ก็กำลังพยายามปรับตัวต่าง ๆ นา ๆ ให้มีความเป็น Private Social Network และมีฟีเจอร์ที่เน้นการพูดคุยกันในกลุ่มย่อยหรือการส่งต่อทางแชทหมากกว่าทาง Comment แต่อย่าลืมว่า Facebook เป็น Social Network ที่ใหญ่และอุ้ยอ้าย อาจจะไม่คล่องตัวเท่า Snapchat หรือ Instagram

นั่นหมายความว่า เราต้องห้ามมองว่า Facebook คือนิยามของ Social Network หรือ Facebook คืออินเทอร์เน็ต (โซเชียลแต่ละตัว มีธรรมชาติที่ไม่เหมือนกัน ) แต่สิ่งที่เราต้องโฟกัสเลยก็คือ วิธีการเสพข่าวสารของคนและธรรมชาติของการรับรู้ข่าวสารในยุคปัจจุบัน ยังของข้อมูล ยุคที่เราเสพข้อมูลกันใน 1 วันมหาศาลและต้องตัดสินใจกันแทบ ณ ตอนนั้น เราจะมีวิธีทำคอนเทนต์อย่างไรเพื่อรองรับยุคที่กำลังจะเกิดขึ้น คือยุคที่ Social Network ไม่ใช่สิ่งใหม่ที่น่าตื่นเต้นอีกต่อไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราอย่างแรกไม่ออกแล้ว

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

 

 

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save