NewsSocial

Avatar

Thesky September 1, 2023

พาเกาะติดกระแส #ปังชา ในโซเชียล พร้อม 3 ประเด็นจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE ของ WISESIGHT

จากกระแสที่ร้านอาหารชื่อดังออกมาบอกแจ้งว่า ทางร้านได้มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องหมายการค้ากับเมนู “ปังชา” และได้มีข่าวเรื่องการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์กับร้านอาหารที่ใช้คำว่า ปังชา กว่า 102 ล้านบาท ทำให้แฮชแท็ก #ปังชา พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบนทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในทันที

ซึ่งประเด็นนี้ก็นำไปสู่การถกเถียงถึงในโลกโซเชียลการใช้คำว่าปังชาของร้านอื่น ๆ ที่มีชื่อเมนูนี้แบบเดียวกันจะสามารถใช้ได้ หรือใช้แล้วเหมาะที่จะถูกฟ้องร้องหรือไม่ ในเมื่อเป็นชื่อเมนูที่มีเรียกกันมานานแล้ว

ทางบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก็ได้เก็บข้อมูลการพูดถึงกระแสปังชา ตั้งแต่ช่วงที่มีกระแส ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE แล้วพบว่าบนโซเชียลกำลังพูดถึงเรื่องนี้มีมากกว่า 19,000 ข้อความ และยังคงมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อีกทั้งในช่วงเวลาเพียงแค่ 5 วัน กระแสเรื่องปังชาก็มีเอ็นเกจเมนต์ไปมากกว่า 2 ล้านครั้งบนโลกโซเชียลด้วย ซึ่งในวันที่ 31 สิงหาคมเพียงแค่วันเดียวก็มีการพูดถึงสูงถึง 1.2 ล้านเอ็นเกจเมนต์เลยทีเดียวโดยข้อความส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย คือ

  • Facebook มากที่สุด (63.48%)
  • Twitter (29.78%)
  • Youtube (5.03%)
  • Instagram (0.45%)
  • และอื่น ๆ (1.26%) 

โดยความรู้สึกของชาวโซเชียลที่พูดถึงเรื่องนี้ได้แตกออกเป็นทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลบน ZOCIAL EYE สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ดังนี้

 

เสียงวิพากย์วิจารณ์การฟ้องร้อง 

 

ชาวโซเชียลมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องหมายการค้ากับเมนู “ปังชา” ในครั้งนี้ บ้างก็มองว่าไม่เป็นธรรมกับธุรกิจขนาดเล็ก และเปรียบเทียบกับธุรกิจใหญ่อื่น ๆ ที่ชื่อแบรนด์ถูกใช้เป็นคำเรียกสามัญไปแล้วแต่ไม่มีการฟ้องร้องใด ๆ

รวมถึงผู้คนในโซเชียลก็แสดงออกว่าจะเลิกสนับสนุนแบรนด์ลูกไก่ทอง เพราะรู้สึกไม่พอใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีหลายโพสต์ที่ออกมาให้ความรู้เรื่องกฎหมายดังกล่าวว่ามีความซับซ้อน และทำให้คนไทยจะสับสน

โดยให้ความรู้ว่าแท้จริงแล้ว “ปังชา” ได้รับความคุ้มครองในด้านเครื่องหมายการค้า ส่วนคำว่า “ปังชา Pang Cha” ไม่สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากเป็นคำสามัญ หากองค์กรหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้อให้ความรู้ที่ถูกต้อง ก็จะสามารถลดข้อโต้แย้งบนโลกโซเชียลได้มากทีเดียว

 

กระแสตีกลับ ‘โลโก้ลอกเลียนแบบ’ และความสับสนในแบรนด์

 

จากกระแสที่เกิดขึ้น ได้มีนักออกแบบออกมาพูดถึงโลโก้ประกอบผลิตภัณฑ์เองก็มีความคล้ายคลึงกับลายเส้นหญิงชุดไทยนั่งพับเพียบ เกล้าผมมวยพันอก ทัดดอกไม้ ใส่สร้อยคอ ยื่นมือขวาเหยียดยาว ที่อยู่บนปฏิทินของอีกแบรนด์หนึ่งในปี 2550

เรียกได้ว่าเกิดการตั้งคำถามถึงเรื่องความเป็นต้นฉบับ (Originality) และถึงอย่างนั้นแบรนด์เองก็ถูกมองว่าได้ไปลอกเลียนแบบงานของคนอื่นมาเช่นกัน

อีกทั้งยังมีประเด็นความสับสนในตัวแบรนด์ระหว่างร้าน ‘ลูกไก่ทอง’ ที่ถูกพูดถึง และร้าน ‘ไก่ทองออริจินัล’ ที่โดนผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวเพราะชื่อคล้ายคลึงกัน จนต้องมีประกาศออกมาว่าไม่มีความเกี่ยวข้องในการตัดสินใจและการดำเนินการใด ๆ ในทางธุรกิจทั้งสิ้น 

 

ความหิวไม่เข้าใครออกใคร

 

ถึงแม้ดราม่าดังกล่าวจะเป็นที่ถกเถียงกันบนโซเชียลอย่างต่อเนื่อง แต่อีกมุมหนึ่งยังคงมีคนในโซเชียลบางส่วนที่โพสต์ภาพปังชา รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเกี่ยวข้อง

ทั้งชาไทย น้ำแข็งไส และขนมปังปิ้ง การเห็นภาพขนมหวานยามดึกน่าจะทำให้คนเสพย์โซเชียลหิวขึ้นมาได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหนก็ตาม คนไทยขอเลือกอิ่มท้องก่อนเป็นอันดับแรก!

การพูดถึงเรื่องนี้ยังคงสูงขึ้นอยางต่อเนื่อง คำอธิบายของร้านอาหารชื่อดังจะสามารถดับร้อนกระแสครั้งนี้ได้หรือไม่ ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องติดตามกันต่อไป 

อ้างอิง: WISESIGHT

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save