News

Avatar

Passapornpor August 23, 2018

[Case] คอนเทนต์แบบไหนช่วยคืนชีพ Engagement ในสถานการณ์ไม่แน่นอนแบบนี้

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะขอมาเขียน Case ตัวอย่างของเราเองให้ทุกคนได้ลองอ่านตามนะคะ แม้ว่าช่วงนี้เราจะได้ยินเรื่องของเฟสบุ๊คเอนเกจเม้นท์ที่ลดลง 50% แชร์กันทั่วไทม์ไลน์ แต่สำหรับเพจของผู้เขียนนั้นกลับสวนทางโดยสิ้นเชิงกับในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้เขียนเลยขอเปิดวิเคราะห์เคสของผู้เขียนให้ทุกคนได้ลองอ่านแลกเปลี่ยนความเห็นกันนะคะ

 

คอนเทนต์บันเทิง ดารา รายการทีวี ทำให้เกิดคอนเทนต์กระแสไม่ยาก?

อันดับแรกขอเริ่มกันที่การจัดประเภทคอนเทนต์ของเพจผู้เขียนก่อน เพจของผู้เขียนพูดเรื่องของ บันเทิง ดารา และรายการทีวีค่ะ ช่วงนี้ซีรีส์ไทยมีหลายเรื่องน่าสนใจ และผู้เขียนเน้นการพูดถึงรายการทีวีมากกว่าดารา และมีคอนเทนต์ที่ค่อนข้างตามกระแสเป็นหลัก ชนิดเรียลไทม์ที่สุด อาทิ เมีย2018 ข่าวเป้ย ปานวาด หรือ ซีรีส์เด็กใหม่ 

สำหรับประเภทของคอนเทนต์นั้น ผู้เขียนแนะนำว่าการปรับใช้คือการพยายามทำให้คอนเทนต์สดใหม่ เรียลไทม์ ทันกระแสอยู่เสมอ จะช่วยได้ค่ะ

 

คอนเทนต์วิดีโอช่วยเอนเกจเม้นท์ แต่คอนเทนต์วิดีโอแบบไหนถึงจะดี?

คอนเทนต์วิดีโอในสัปดาห์ที่ผ่านมาของเพจผู้เขียน สามารถทำยอดเข้าถึงไปถึง 2 ล้าน ในขณะที่มียอดแชร์เพียง 640 กว่าๆเท่านั้น

 

เมื่อเปรียบเทียบกับคลิปวิดีโออีกคลิปก่อนหน้านี้ ที่มีผู้แชร์มากกว่า 2,000 แชร์  กลับสร้างการเข้าถึงไปเพียง 300,000 กว่าเท่านั้น

 

น่าประหลาดใจใช่มั้ยคะ?

 

เราเลยไปนั่งวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่อไปว่า 2 คอนเทนต์นี้ มีอะไรที่แตกต่างกัน

 

คอนเทนต์วิดีโอที่ 1 ในกระแส คนกำลังอิน ไม่มีแฮชแท็ค

เวลาโพส 8 ส.ค. 61 เวลา 22:22 น.

เป็นคอนเทนต์ทั่วไป ไม่ได้ใช้แฮชแท็คใดๆบนโพส เป็นคลิปของ เป้ย ปานวาด และลูกชายอย่างน้องโปรดที่กำลังอ้อนคุณแม่ซึ่งป่วยอยู่บนเตียง ในช่วงนี้แม่เป้ย มีข่าวลือว่าถูกคุณสามีนอกใจ จนเป็นข่าวที่คนอินติดเทรนด์โซเชียลต่างๆ ทำให้มียอดแชร์ที่ 2,100 แชร์ แต่มีการเข้าถึงเพียง 389,072 คนเท่านั้น

 

คอนเทนต์วิดีโอที่ 2 เรียลไทม์ เนื้อหาแรง ใช้แฮชแท็ค

เวลาโพส 15 ส.ค. 61 เวลา 23:41 น.

เป็นคอนเทนต์รายการทีวี ใช้แฮชแท็คในการโพสคอนเทนต์ และเนื้อหาของคอนเทนต์ค่อนข้างแรงความคอนเทนต์รายการทีวี
เวลาที่โพสเป็นแบบเรียลไทม์ทันทีหลังรายการออกอากาศจบ

 

สรุปแล้วคอนเทนต์แบบไหนดีกว่ากัน?

 

 

ผลตอบรับ คอนเทนต์วิดีโอที่ 1 เมื่อย้อนกลับไปดูยอดไลค์เพจในวันถัดมา คือวันที่ 9 สิงหาคม หลังจากวันโพสคอนเทนต์ 1 วัน
สามารถสร้างยอดไลค์เพจได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาจเป็นผลมาจาก 2,000 แชร์

ในขณะที่ คอนเทนต์วิดีโอที่ 2 mที่โพสในวันที่ 15 ส.ค. แม้จะสร้างยอดเข้าถึงได้สูงถึง 2 ล้าน
กลับกันที่ ไม่ทำให้เกิดยอดไลค์เพจที่เพิ่มขึ้นเลย

หากให้วิเคราะห์เคสนี้ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนมองว่า การทำคอนเทนต์วิดิโอที่อยู่ในกระแส สามารถสร้างเอนเกจเม้นต์ได้อย่างสูง
แต่ไม่ได้รับประกันว่าจะสามารถทำให้เกิดยอดไลค์เพจที่เพิ่มขึ้นได้
ในขณะที่การสร้างคอนเทนต์ที่ทำให้เกิดการแชร์นั่นสำคัญต่อการสร้างยอดไลค์เพจอย่างเห็นได้ชัด

มาถึงตรงนี้ เพื่อนๆลองเก็บเอาเคสของผู้เขียนไปปรับใช้กับเพจของตัวเองดูนะคะ
เราอยู่ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงมาเร็วกว่ารถไฟฟ้าแล้วค่ะ ลองผิดลองถูกตามวิธีที่ถนัดกันดูนะคะ ขอบคุณค่ะ

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save