คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดสัมมนา ‘Thai Media Lab Showcase: The Future of Co-Creating Media Innovation’ ให้ความรู้เรื่องกลไกห้องทดลองพัฒนาสื่อ เพื่อผลักดันการพัฒนาทักษะคนและนวัตกรรมสื่อ
ผศ.ดร. สกุลศรี ศรีสารคาม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล่าถึง Media Lab ว่าคือ กลไกห้องทดลองพัฒนาสื่อจะช่วยพัฒนาให้เกิดสื่อใหม่ และแก้ Pain Point ของคนทำสื่อในเรื่องการใช้เทคโนโลยี รูปแบบคอนเทนต์ และการเล่าเรื่อง รวมถึงช่วยสร้างบทบาทใหม่ ๆ ให้กับสื่อ และต่อยอดสู่การสร้าง Co-creating Innovation เพื่ออุตสาหกรรมสื่อ ชุมชน และสังคม ที่จะใช้สื่อช่วยขับเคลื่อนสังคม และสร้างเม็ดเงินกลับเข้าประเทศ
ภายในงานมี 6 องค์กรที่ผ่านกระบวนการพัฒนาสื่อแบบ Media Lab มาร่วมนำเสนอผลงานและต่อยอดการพัฒนา รวมถึงมี Academic Talks ที่ชวนมาถอดบทเรียนกระบวนการวิจัย R&D การผลิตสื่อที่มีโจทย์ทางสังคม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิด #WePower #พลังร่วมสร้างสังคม
จากเวที Producer’s Talk และ Academic Talk มีแชร์ความรู้โดย 6 องค์กรสื่อที่พัฒนาสื่อร่วมกับนักวิจัยด้านนิเทศศาสตร์ พร้อมมีการถอดบทเรียนจากนักวิจัยที่ทำ Media Lab ซึ่งสรุปไฮไลต์ที่น่าสนใจในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ได้ดังนี้
- Interactive Story: การเล่าเรื่องที่ให้อำนาจผู้รับสารได้เลือก ตัดสินใจ และเรียนรู้พฤติกรรมผ่านการเลือกและเห็นผลลัพธ์ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น หนังสั้นแบบ Interactive และ Interactive Quiz
- Location-based Storytelling: การเล่าเรื่องจากคนในพื้นที่จริง ใช้ต่อยอดใช้กับงานเล่าเรื่องชุมชน วัฒนธรรม ท่องเที่ยว การระดมข้อมูลแก้ปัญหา และส่งเสริมพื้นที่ได้ดีมาก
- AI นำมา Generate: เปลี่ยนเรื่องเล่าทางวัฒนธรรม ทั้งนิทานและวรรณกรรมให้เป็นภาพที่มีชีวิตเพื่อเล่าเรื่องเชื่อมคนกลับสู่การเข้าใจเรื่องพื้นที่และวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการใช้ AI
- การสร้างอัตลักษณ์ตัวตนของนักข่าวบนโลกออนไลน์: ไม่ใช่แค่เรื่อง Branding แต่สามารถใช้ Social Media ทำให้คนเข้าใจประเด็นที่อยากแชร์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และเชื่อมคนไปสู่ Solution Journalism
- งานวิจัยแบบทดลองพัฒนาสื่อเกิดปัญหาหรือล้มเหลวได้: แต่สุดท้ายผลการวิจัยจะเป็น Shortcut ให้คนอื่นเรียนรู้ ละข้ามไปพัฒนากระบวนการต่อไปได้
- คนทำสื่อยุคนี้ต้องมีมากกว่า Multi-skilled: ต้องรู้จักผู้รับสาร Data ต่าง ๆ ทดลองพัฒนางานตัวเอง และการคิดประเด็นสื่อต้องรู้รอบ แต่ต้องเจาะประเด็นเฉพาะให้ลึกได้
- การทำ Co-Creating Innovation ในการทำสื่อประเด็นสังคม: การดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมกับประเด็นให้เจ้าของเรื่องมีทักษะเล่าเรื่องด้วยตัวเองได้ เพราะจะมีพลังและมีมุมมองที่มากกว่า และสิ่งนี้คือ We Power
- การเล่าเรื่องโดยใช้สื่อ: เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้ และทำให้คนอยากผลักดันเรื่องนั้นร่วมกัน ส่งผลต่อความคิด ทัศนคติ และการลงมือทำตามเป้าหมายการสื่อสาร
สามารถดาวโหลดหนังสือ Digital Media & Audience Participation ได้ฟรีที่ https://bit.ly/43uSYst
เรียนหลักสูตร การสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการมีส่วนร่วม ฟรีที่ Chula MOOC ลงทะเบียนเรียนได้ที่ https://bit.ly/4cv3bsP
ติดตามข่าวสารการพัฒนานวัตกรรมสื่อได้ที่ https://www.facebook.com/ThaiMediaLab