สาย Content แบบเรา ๆ มักจะต้องเผชิญกับการคิดหรือค้นหาไอเดียบางอย่างให้ออกอยู่ตลอด รีดเค้นความต้องการจากสมองไม่พัก ยิ่งถ้าใครกำลังสร้างตัวตน ต้องการความสม่ำเสมอไปใช้ในการผลิต Content ลงช่องทางต่าง ๆ ของตัวเอง ยิ่งต้องการ “พลังของการโฟกัส” แบบมหาศาลเลย พอไปนั่งทำงานในออฟฟิศ บางทีเหมือนฝึกจิต ทำอยู่บ้าน บางทีก็วอกแวก วันนี้ขอแนะนำเทคนิคอันเป็นตำนานอย่าง “Pomodoro” มาปรับใช้ในการช่วยให้เราโฟกัสกับการทำงานและการหาไอเดียให้มากขึ้น
รู้จักเจ้ามะเขือเทศแห่งการโฟกัส “Pomorodo”
คำว่า “Pomorodo” (โพโมโดโร) มาจากภาษาอิตาลีที่แปลว่า “มะเขือเทศ” ซึ่งมีที่มาจากนาฬิกาจับเวลาในครัวรูปทรงมะเขือเทศที่ “Francesco Cirillo” ใช้ในการปรับวิธีบริหารเวลาของเขาให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง โดยที่มาของเจ้าเทคนิคนี้เกิดขึ้นมาจากตอนที่เขาอ่านหนังสือสอบยังไงก็ไม่เข้าใจเลย จนเหลือบไปเจอนาฬิกา มะเขือเทศที่วางอยู่ในห้องครัว พอลองใช้ฟังชั่นก์จากนาฬิกานี้ ทำให้เขาพบว่าวิธีนี้มันเวิร์คกับการช่วยในการโฟกัสงาน
6. ขั้นตอนการทำ Pomodoro เพื่อสร้างพลังของการโฟกัส
1.กำหนดสิ่งที่จะทำ: เขียนรายการสิ่งที่ต้องทำลงในกระดาษ หรือเลือกงานที่ต้องการโฟกัส
2.ตั้งเวลา 25 นาที: จับเวลา 25 นาทีโดยใช้ตัวจับเวลา นาฬิกา หรือแอปพลิเคชัน
3.ทำงานอย่างตั้งใจ: จดจ่อกับงานที่อยู่ตรงหน้า พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ อีเมล หรือโซเชียลมีเดีย
4.พัก 5 นาที: เมื่อครบเวลา 25 นาที ให้หยุดพัก 5 นาที ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย ดื่มน้ำ หรือทำอะไรก็ได้ที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
5.ทำซ้ำ: ทำซ้ำขั้นตอน 2-4 อีก 4 ครั้ง
6.พักยาว 15-30 นาที: เมื่อครบ 4 โพโมโดโร ให้หยุดพักยาว 15-30 นาที
โดยช่วงเวลา 25 นาทีนั้น เราสามารถกำหนดได้ว่าเราจะลงมือทำอะไร เช่น เราจะต้องได้ไอเดียการคิดงานทั้งหมด 10 ไอเดีย หรือตัดต่อชิ้นงานให้จบ เขียนบทความนี้ให้ได้ สามารถวางเป็น Final ของวันว่าต่อวันอยากทำให้ได้เท่านี้ เพื่อให้เราได้ใช้เวลาใน 1 วันได้อย่างคุ้มค่า ได้งาน ได้ไอเดีย
ข้อดีของเทคนิค Pomorodo:
- ช่วยให้โฟกัสกับงานได้ดีขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
- ลดความเครียดและความเหนื่อยล้า
- ช่วยให้จัดการเวลาได้ดีขึ้น
- เหมาะกับการทำงานหลายรูปแบบ
ข้อจำกัดของเทคนิคโพโมโดโร:
- อาจจะไม่เหมาะกับทุกคน
- ต้องใช้การฝึกฝนและวินัย
- อาจจะไม่เหมาะกับงานบางประเภท
- ช่วงเวลา 25 นาที อาจจะสั้นหรือยาวเกินไปสำหรับบางคน
ขอสรุปและเพิ่มเติมในเทคนิคนี้ว่า สามารถปรับระยะเวลาการทำงานและการพักให้เหมาะกับตัวเอง สามารถใช้แอปพลิเคชัน Pomorodo เพื่อช่วยจับเวลาและติดตามความคืบหน้าได้ บันทึกผลลัพธ์หลังจากใช้เทคนิคโพโมโดโร เพื่อประเมินประสิทธิภาพ และปรับเปลี่ยนเทคนิคให้เหมาะกับสไตล์การทำงานของตัวเองได้ทันที โดยวิธีนี้เป็นการช่วยทำให้เรารู้ว่าเรามีระยะยเวลาในการทำงานเท่าไหร่ถึงได้พัก ทำให้เรามีเป้าหมายการทำงานมากขึ้น หวังว่าวิธีนี้จะช่วยทำให้เหล่านัก Content นัก Content ทุกคนคิดงานออกได้เยอะขึ้น หรือทำงานได้บรรลุสิ่งที่วางไว้ได้นะ!
ที่มา: todoist