ทุกวันนี้การเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของ Generative AI ทำให้โลกของการสร้างคอนเทนต์ และการเสิร์ชมีการเปลี่ยนแปลงไปมากที่สุด ซึ่งไม่ว่าใครที่อ่านอยู่ตอนนี้จะเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ หรือนักการตลาดก็ต้องปรับตัวให้พร้อมสำหรับ “SearchGPT” ฟีเจอร์การเสิร์ชใหม่ที่ไม่ได้มีแค่ OpenAI แต่จะได้ใช้ในอนาคตบน Google ด้วย
SearchGPT คือ โปรโตไทป์ที่ผสมผสานการเสิร์ชข้อมูลแบบท่องเว็บเบราว์เซอร์ปกติ มารวมเข้ากันกับโมเดลของ AI ไม่ว่าจะเป็น OpenAI หรือ Gemini ที่จะช่วยให้ไม่เพียงแต่หาสิ่งที่ต้องการเจอเท่านั้น แต่ยังสามารถค้นหาแบบขุดเจาะไปเรื่อย ๆ ตามเรื่องที่เกี่ยวข้อง เหมือนกับกำลังสนทนาอยู่ได้อีกด้วย
เพราะการเสิร์ชเพื่อหาคำตอบแต่ละอย่างจะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ในการเสิร์ชคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง หรือนั่งนึกคำถามที่จะถามต่อเพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ แต่สำหรับ SearchGPT ที่นอกจากจะเสิร์ชเรื่องที่ต้องการรู้ได้แล้ว ยังสามารถถามเจาะจง และขุดลึกไปเรื่อย ๆ เหมือนกับการสนทนา
ด้วย AI Overviews ผู้คนสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น และถามคำถามที่ซับซ้อนมากขึ้นได้เช่นกัน เพราะลิงก์ที่รวมอยู่ใน AI Overviews ได้รับการคลิกมากกว่า หากหน้าเพจเต็มไปด้วยเว็บเดิมจากคำค้นหานั้นซ้ำ ๆ
อย่าง Google Search ที่มีพื้นที่ให้กับ AI Search ขึ้นมานอกจากการค้นหาแบบเดิม ๆ ก็ไม่ได้ด้อยค่าโฆษณา หรือเว็บไซต์ที่จ่ายเงินเพื่อให้ขึ้นหน้าเสิร์ชแต่อย่างใด เพราะมีป้ายกำกับชัดเจนว่าการเสิร์ชนั้นมาจากการเสิร์ชแบบออแกนิก หรือจ่ายเงินเพื่อสปอนเซอร์
ฟีเจอร์ของ SaerchGPT
แม้ SearcgGPT จะยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่นี่ก็คือฟีเจอร์ที่ถูกประกาศออกมาว่าจะได้ใช้งานกัน แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอ
- มีความเข้าใจภาษาธรรมชาติ : สามารถพิมพ์คำถามได้เหมือนกับคำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยวิธีการถามใช้ประโยคตามธรรมชาติ และไม่ต้องปรับคำให้เหมาะกับคีย์เวิร์ดหลักที่มีอยู่แล้ว เพราะคำเหล่านั้นมีการแข่งขันกัน และจะเริ่มลดลงตามธรรมชาติ เมื่อผู้ใช้คุ้นเคยกับประสบการณ์การค้นหาใหม่ทั้งใน Bing และ Google
- อินเทอร์เฟซการสนทนา: แทนที่จะแสดงข้อมูลเป็นรายการลิงก์ ก็จะได้รับประสบการณ์แบบแชตแทน โดยไม่ต้องเริ่มต้นค้นหาใหม่
- ข้อมูลแบบเรียลไทม์ : SearchGPT มีการดึงข้อมูลมาจากเว็บไซต์ปัจจุบัน และไม่ใช่เพียงผลลัพธ์ที่เก็บไว้ในแคชเท่านั้น ซึ่งทำให้นักการตลาด หรือแบรนด์ต้องเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นในการทำให้คอนเทนต์ หรือข้อมูลมีการอัปเดตให้สดใหม่อยู่เสมอ
- การระบุแหล่งที่มาที่ชัดเจน: เนื่องจากข้อมูลทุกส่วนมีแหล่งที่มา ทำให้การเสิร์ชมีความโปร่งใส
- คำตอบแบบภาพ : แม้ว่ารายละเอียดจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีการพูดถึงภาพที่สร้างโดย AI เพื่อนำมาทำเป็นคำตอบด้วย
การพัฒนาในอนาคตของ SearchGPT
- การบูรณาการเข้ากับ ChatGPT: ฟีเจอร์ SearchGPT อาจจะเข้ามารวมอยู่ใน ChatGPT ทำให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์แบบเรียลไทม์บน ChatGPT ได้ และกลายเป็น Search Engine ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับนักการตลาด
- ความสามารถด้าน e-Commerce : อาจมีฟีเจอร์เกี่ยวข้องกับด้านอีคอมเมิร์ซ ซึ่งอาจเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และนักการตลาดที่มีพาร์ตเนอร์กับแบรนด์ด้วย
- การค้นหาแบบหลายโหมด: SearchGPT เวอร์ชันในอนาคตอาจรองรับสื่อประเภทต่าง ๆ เช่น รูปภาพและเสียง ซึ่งไม่ใช่แค่ข้อความอย่างเดียวเท่านั้น
และทั้งหมดนี้ก็อาจเป็นจุดเร่ิมต้นที่คาดว่าจะทำให้ Google เริ่มสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในการเป็น Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง หาก OpenAI เปิดใช้เครื่องมือ SerachGPT มาใช้ รวมทั้งการบูรณาการการค้นหาหลายโหมดที่เพิ่มมากขึ้นในแพลตฟอร์มต่าง ๆ
ตั้งแต่เว็บไซต์โซเชียลมีเดีย บริการส่งข้อความ และเครื่องมือการค้นหาไปจนถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ก็คาดว่าน่าจะสร้างแรงกดดันให้บริษัทของ Google ต้องรักษาฐานที่มั่นในอุตสาหกรรมนี้ต่อไปอย่างที่ Don Anderson ซีอีโอของ Kaddadle Consultancy บอกไว้
เพราะหลังจากที่ Google ผูกขาดมาในตลาด Search Engine มานานกว่า 20 ปี นี่ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ “Search War” ด้วย แม้จะห่างไกลจากคำว่าจุดสิ้นสุดของ Search Engine อยู่มากก็ตาม แต่ทุกวันนี้ผู้คนรุ่นใหม่ก็เริ่มมีพฤติกรรมการค้นหาที่เปลี่ยนไป และเสิร์ชบนแพลตฟอร์ม หรือโซเชียลมีเดียมากขึ้น โดยเฉพาะ TikTok, Instagram หรือ Shopee และ Lazada ก็ตาม
การเตรียมตัวสำหรับนักการตลาด และ SearchGPT
- Multi-search: เตรียมพร้อมสำหรับการค้นหาแบบ multimodel มากขึ้น อีกทั้งกระจายแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไปยังที่ที่กลุ่มเป้าหมายมักจะใ้ช้เวลาด้วยไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหนก็ตาม
- Interactive: ในยุคที่มีการลื่นไหลของข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แบรนด์ก็ควรพร้อมที่จะเคลื่อนไหวแบบแอ็กทีฟให้มากที่สุดเช่นกัน เพื่อที่จะได้ให้คำตอบ และอัปเดตอะไรใหม่ ๆ กับกลุ่มเป้าหมายได้
- New strategy: แม้ว่าการเสิร์ชแบบปกติจะยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่นักการตลาดก็ไม่ควรนิ่งนอนนใจ และหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เข้ามาเสริมกับอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
- Direct answer search: เปลี่ยนกลยุทธ์การค้นหาแบบ link-based search ให้กลายมาเป็นการค้นหาที่เจอคำตอบได้รวดเร็ว เพราะสิ่งนี้อาจจะกระทบต่อโลกของ SEO และ Content Marketing ได้
- Safety considerations: เพราะการใช้ AI-search อาจจะไม่ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเสมอไป ฉะนั้นแบรนด์ และนักการตลาดควรจะตรวจสอบความถูกต้อง และอัปเดตข้อมูลบนแพลตฟอร์มเสมอ
- Adaptation to AI responses: แบรนด์ต้องสร้างคอนเทนต์ที่กระชับ เข้าใจง่าย และเป็นข้อเท็จจริง เพื่อการรองรับข้อมูลบน SearchGPT
- Content quality: แบรนด์ควรโฟกัสการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพให้มากที่สุด เพราะการประมวลผลของ SearchGPT จะแนะนำแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากความน่าเชื่อถือ
ความท้าทายสำหรับ SearchGPT
- การยอมรับของผู้ใช้: การโน้มน้าวผู้ใช้ให้เปลี่ยนจากเครื่องมือค้นหาที่คุ้นเคยต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก
- ความสามารถในการปรับขนาด: การจัดการกับคำถามที่ซับซ้อน และการค้นหาที่มากเกินไปหลายรายการขณะเรียลไทม์ ถือเป็นความท้าทายด้านเทคนิคที่ต้องจัดการให้ได้
- ความแม่นยำ และความน่าเชื่อถือ: การรับรองความแม่นยำที่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน และต้องการการอัปเดตตามช่วงเวลา ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเป็น Search Engine
จากประเด็น และอนาคตของ SearchGPT ที่คาดว่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจะโค่นบังลังก์ Search Engine อย่าง Google แต่ก็ถือว่ายังต้องสู่กับทั้งระบบนิเวศของ Google ให้ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Google Maps ที่สร้างประสบการณ์การใช้งานกับผู้ใช้อย่างเหนียวแน่น
และนวัตกรรม AI ที่ Google ออกแบบมาเพื่อการเสิร์ชโดยเฉพาะ ไปจนถึงหน้าอินเทอร์เฟซที่ผู้คนคุ้นเคยมาเป็นเวลานาน ฝั่ง OpenAI ก็คงต้องสร้างความน่าเชื่อถือ และความคุ้นเคยที่มีอิทธิพลมากพอจะทำให้ยกเลิกการใช้ Google แล้วเปลี่ยนมาใช้ SearchGPT ด้วย AI ของตัวเอง
ซึ่งในตอนนี้ SearchGPT ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น และมีแพลนที่จะเปิดตัวให้กับผู้ใช้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น และแม้ในตอนนี้จะยังคงเป็นแค่การทดสอบชั่วคราว แต่ในอนาคตเราก็อาจจะได้เห็น SearchGPT มีการทำงานร่วมกับ ChatGPT ของ OpenAI โดยตรงด้วย
และหาก OpenAI สามารถครองส่วนแบ่งในตลาด Search Engine ได้ประมาณ 5-10% ถึงจะเรียกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงสำคัญครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรม Search Engine กำลังจะมาถึง แต่สำหรับนักการตลาด หรือแบรนด์ไหนที่ต้องการปรับตัว ก็สามารถลองกระจายตลาดได้มากขึ้นเมื่อ SaerchGPT เปิดใช้งาน
ที่มา: https://www.marketingaid.io/searchgpt-googles-new-rival/