สรุปสถิติ Global Brand 2025 จาก Kantar BrandZ Global Report

ท่ามกลางการทำการตลาดของแบรนด์ต่าง ๆ แม้จะต่างอุตสาหกรรมกัน แต่ก็สามารถมีวิธีคิดที่ทำให้แบรนด์มีความหมายเหมือนกัน หรือเข้าใจผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเหมือนกันได้ ซึ่งทาง Kantar มองว่าควรทำให้แบรนด์มีการเติบโตแบบ ‘Meaningfully different to more people’ อย่างที่ Global Brand 2024! จาก Kantar BrandZ Global Report จะช่วยให้โดดเด่นในแต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น

ซึ่งจากเฮดไลน์ที่กล่าวมานั้น มีเส้นทางในการนำไปใช้เพื่อให้แบรนด์แข็งแรงมากขึ้นได้ โดยเฉพาะเวลาที่กลุ่มเป้าหมายเริ่มเข้าถึงแบรนด์ดิงจนเกิด ‘Brand loyalty’ มากขึ้น เพราะพวกเขาพร้อมที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่เชื่อใจบ่อยขึ้น ต่อให้จะมีราคาสูงก็ตาม โดยสามารถยึดจาก 3 หลักให้แบรนด์เติบโตได้ ดังนี้

  • More People: กล้าที่จะลงทุนกับโฆษณา เพื่อโปรโมต และสร้างประสบการณ์ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ว่าแบรนด์นี้พร้อมขาย
  • More Present: ทำให้แบรนด์สามารถง่ายต่อการโน้มน้าวให้ถูกเลือกในมุมมองของผู้บริโภค
  • More New Space: เพิ่มความต้องการของลูกค้าเสมอ และเปิดตัวโปรดักต์หมวดใหม่ ๆ ตามโอกาสเพื่อสร้างความแอ็กทีฟให้กับการสร้างแบรนด์ดิง

Blueprint for Brand Growth

Emotive connections

เพราะแบรนด์มักจะมีตัวตนมากที่สุดในความคิดของผู้บริโภค การแข่งกันเป็น ‘Top of mind’ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับแบรนด์ในทุก ๆ อุตสาหกรรม เพราะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่สามารถรู้สึก และเชื่อมต่อกันได้ โดยเฉพาะเมื่อแบรนด์มีข้อความ (message) ที่อยากจะสื่อสารด้วย

Difference matters

การที่แบรนด์สามารถสร้างความแตกต่างได้ จะช่วยทำให้แบรนด์สร้างคุณค่า (value) ต่อผู้บริโภคได้มากขึ้น ทั้งในแง่การได้รู้จักแบรนด์ และโดดเด่นในธุรกิจเดียวกัน โดยเฉพาะการสร้างคุณค่าในเชิงครีเอทีฟ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์เป็นอันดับแรก โดยลดความเสี่ยงการให้ความสนใจแบรนด์รองที่คล้ายกัน อยู่ที่ว่าจะเริ่มสร้างความแตกต่างด้วยอะไร

Meaningful brands

การจะทำให้แบรนด์มีความหมายมากขึ้น ต้องไม่ได้ตอบโจทย์ด้านการใช้งาน (function needs) เท่านั้น แต่ต้องตอบโจทย์ด้านอารมณ์ และความรู้สึกที่จะได้รับจากแบรนด์ด้วย (emotional needs) ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคอินได้ก็ต้องมีความเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ชัดเจน และความเชื่อนั้นต้องเป็นพลังบวก (positive) ไม่ว่าจะถูกนำเสนอ หรือเรียบเรียงการเล่าเรื่องอย่างไรก็ตาม

Meaningful Difference

หลักการในการสร้างแบรนด์ดิงแบบเข้าใจผู้บริโภคให้แตกต่างอย่างมีความหมาย โดยวัดจากประสบการณ์ และคำถามที่ถามกับตัวเองว่าอยากให้ประสบการณ์กับกลุ่มเป้าหมายอย่างไรให้แตกต่างได้บ้าง

  • Effectiveness: การวัดจากคำมั่นสัญญาที่ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งออกโปรดักต์ และการบริการที่มีคุณภาพสำหรับผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคมักจะมีควเามคาดหวังต่อแบรนด์เสมอ
  • Ease: การวัดจาก Interact ของผู้บริโภคต่อแบรนด์ ซึ่งแบรนด์จะต้องมีการโฟกัส และลดทอนบางอย่างเพื่อให้เข้าถึงช่องทางของแบรนด์ได้ง่ายที่สุด
  • Affinity: การวัดจากระดับ empathy และ personal ที่เข้ามา Interaction กับแบรนด์ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อใจให้กับผู้บริโภคด้วย
  • Uniqueness: การวัดจากการรับรู้ (perception) ที่แบรนด์โดดเด่นจากคู่แข่งในตลาดเดียวกัน และเข้าใจเหตุผลที่ผู้บริโภคไม่ยอมเปลี่ยนไปสนับสนุนแบรนด์อื่น
  • Authenticity: การวัดที่โฟกัสจากความชัดเจน มั่นคง และความโปร่งใสของแบรนด์ ที่สอดคล้องไปกับ core value ที่ตั้งขึ้นมา
  • Inspiration: การวัดจากความสามารถของแบรนด์ที่ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้บริโภคได้เสมอ อย่างการสร้าง magic moment ให้รู้สึกเซอร์ไพรส์ตลอด

Brand Building

  • Product Placement 2.0: เรียนรู้การใช้ Generative AI ในการบูสต์ความครีเอทีฟสำหรับโฆษณาบนมีเดีย และแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์มากขึ้น โดยเฉพาะการสื่อมากขึ้นผ่าน Video Content
  • Allow Partners Room to Play: มีพื้นที่ให้เหล่าพาร์ตเนอร์ได้ปล่อยของ และเพิ่มความโดดเด่นให้กับแบรนด์ได้ทำอะไรใหม่ ๆ ที่ฉีกจากกรอบเดิมมากขึ้น
  • Go Live: การแข่งขันขายพร้อมไลฟ์สตรีมเริ่มดุเดือดมากขึ้น แบรนด์ไหนที่ยังไม่ได้ลงสนามนี้ก็จะพลาดการสร้างเอ็กซ์คลูซีฟโมเมนต์กับผู้บริโภคไป

Category Brand Value

ประเภทของแบรนด์ที่มีการเติบโต และสร้างเม็ดเงินมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกอุตสาหกรรม เพราะได้รับความสนใจจากทั้งผู้บริโภค และการลงทุนด้วยเม็ดเงินโฆษณา

  • Alcohol: 5% ($232,743 M)
  • Apparel: 5% ($180,485 M)
  • Automotive: 5% ($210,176 M)
  • Business Technology And Services Platform: 45% ($2,336,695 M)
  • Consumer Technology And Services Platform: 15% ($1,238,544 M)
  • Fast Food: 15% ($392,025 M)
  • Financial Services: 10% ($803,942 M)
  • Food And Beverages: 0% ($288,037 M)
  • Luxury: 8% ($356,936 M)
  • Media And Entertainment: 34% ($1,347,214 M)
  • Personal Care: -1% ($174,357 M)
  • Retail: 4% ($631,571 M)
  • Telecom Providers: -1% ($432,789 M)

Most Valuable Brand

Top 10 Brands

  1. Apple
  2. Google
  3. Microsoft
  4. Amazon
  5. McDonald’s
  6. Nvidia
  7. Visa
  8. Facebook
  9. Oracle
  10. Tencent

Top Risers

  1. Nvidia
  2. Instagram
  3. Facebook
  4. Google Cloud
  5. Uber
  6. Adobe
  7. Pinduoduo
  8. Sap
  9. Oracle
  10. AMD

Media And Entertainment

  1. Google
  2. Facebook
  3. Instagram
  4. Netflix
  5. YouTube
  6. LinkedIn
  7. TikTok
  8. WeChat
  9. Disney
  10. V.QQ.COM

จากสถิติของแบรนด์ระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Top 10 หรือแบรนด์ในหมวดหมู่ไหนก็ตาม จะเห็นได้ว่าแต่ละแบรนด์นั้นแค่เห็นชื่อก็สามารถรู้ได้ว่าแบรนด์ทำอะไร มีคาแรกเตอร์อย่างไรในอุตสาหกรรมนั้น ๆ

ฉะนั้นการสร้างแบรนด์ดิงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ว่าอยากให้กลุ่มเป้าหมายมองแบรนด์เป็นแบบไหน หรือวาง Position ให้โดดเด่นจากคู่แข่งตลาดเดียวกันได้อย่างไร เพื่อให้เป็นที่อยู่ในใจของผู้คน และสร้างคุณค่าบางอย่างให้กับสังคมนี้ได้

ที่มา: https://www.kantar.com/Campaigns/BrandZ/Global

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save