Instagram นั้นเป็น Social Media ที่ถ้าเล่นให้เป็นแล้วเราจะพบว่ามีการ Interaction กับ Follower สูงมาก อย่างไรก็ตาม Instagram อาจจะเป็นสิ่งใหม่สำหรับหลาย ๆ คนที่อาจคุ้นชินกับ Facebook หรือ Twitter มากกว่า แต่ถ้าเราสามารถสร้าง Audience ของเราได้มาซักกลุ่มนึงแล้ว เวลาที่เราโพสต์อะไร หรือเล่นกับคนดูใน Story เราจะพบว่ามีการ Interaction สูง ทำให้เราได้ใกล้ชิดกับ Audience ของเรา
วันนี้ผู้เขียนมี Case Study ที่น่าสนใจจากการ Experiment บนสื่อ Instagram ของ Spaceth.co มาเล่าให้ฟัง ซึ่งต้องบอกก่อนว่า ผู้เขียนและทีม ได้เปิดบัญชี Instagram มาหลายเดือนก่อนหน้านี้ และสร้างกลุ่มผู้ติดตามอยู่ที่ประมาณ 5,000 คน ซึ่งไม่เยอะมากเมื่อเทียบกับบัญชีของ Influlencer ใหญ่ ๆ แต่เมื่อมาพร้อมกับเนื้อหาที่ Hard Science และ Niche พอสมควร ทำให้ตัว IG กลายเป็นหนึ่งใน Platform ที่น่า Experiment มาก ๆ
จาก 1-2 เดือนที่ผ่านมา เราได้ลองลงคอนเทนต์ที่เป็น Story มากขึ้น โดยจะเน้นการลงเบื้องหลังการทำงาน + บรรยากาศตอนทำงานเขียนบทความต่าง ๆ เพื่อให้ Audience เกิด connection และได้เห็น Story ของเราในชีวิตประจำวันของเขา รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ซึ่งผู้ติดตาม ~ 5,000 คน เวลาเราลง Story ครั้งนึง จะมียอด Impression (การมองเห็น) อยู่ที่ประมาณ 1,000 Impression หรือคิดเป็น 1/5 ของผู้ติดตามทั้งหมด และ Audience ส่วนมากมีอายุในช่วง 18-24 เป็นอันดับหนึ่ง และ 25-34 เป็นอันดับสอง
ทีนี้คำถามก็คือ แล้วเราสามารถเล่นอะไรกับ Story ได้อีกบ้าง เราจะพบว่า Tools ต่าง ๆ ที่ Instagram ให้มาในการสร้าง Story มีตั้งแต่การเปิดให้ถามคำถาม, Poll ต่าง ๆ เยอะมาก เราเลยลองทำ Interactive Story ที่ “ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้” ลองดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง นั่นคือถามคำถามว่า “อยากบอกอะไรเราไหม”
มีคนเล่นกับ Story เยอะมาก และเล่นแบบจริงจังมาก
หลังจากที่ลง Story ไปก็พบว่า มีคนตอบคำถามเราเยอะมาก ๆ จนทีมงานตอบกันแทบไม่ทัน (ฮา) มากกว่า 30 คำถามในเวลาไม่กี่ชั่วโมง พอเราตอบลักษณะก็จะออกมาเป็น add to story คือเราสามารถตอบกลับเป็น Story ทำให้ผู้อ่านอื่น ๆ สามารถเห็นคำถามและคำตอบ ซึ่งเกิดการ Add to story ต่อ ๆ กันไปได้อีก
แต่ข้อสังเกตที่สังเกตได้ก็คือ
- คำถามที่ถามมาค่อนข้างจริงจังและมีคุณภาพ เช่น การให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ การถามคำถามที่มีสาระและหวังคำตอบจริง ๆ
- เราเองสามารถกดเข้าไปดู Profile ของคนถามได้ ว่าเป็นใคร background เป็นอย่างไร
- การ add to story, reply story ทำให้เกิดการกระตุ้นบนสนทนาทั้งบน Story และบน DM เองด้วย
- เราได้คุยกับผู้อ่านจริง ๆ ในแบบที่ไม่ใช่การคอมเม้นใต้โพสต์
ในอาทิตย์ที่ผ่านมา เราได้ Impression มากกว่า 53,000 Impression ซึ่งพอไปดูว่าเรามีผู้ติดตาม ~ 5,000 คน ก็แปลว่าใน 1 อาทิตย์ คน 1 คนเฉลี่ยเห็นโพสต์เรามากกว่า 10 ครั้งเลยทีเดียว (เราลงโพสต์และ Story เฉลี่ย 1 วัน 1 คอนเทนต์)
จาก Case study นี้เรานำไปใช้อะไรได้ต่อ
พอรู้แบบนี้แล้ว หลายคนอาจจะถามว่า แล้วเราเอาไปทำอะไรได้ ในมุมของผู้เขียนก็คือจากกรณีนี้ หมายความว่า IG Story กลายเป็น Tools ที่ดีมากในการทำ Survey ต่าง ๆ หรือถามคำถาม เช่น ขอคำแนะนำ, ให้โหวตคอนเทนต์ที่อยากชม, ถามคำถาม, ทำเกม Quiz สนุก ๆ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสมมติว่าเราจัด Event อะไรต่าง ๆ เราสามารถให้ Audience ทักมาขอลิ้งสำหรับ Register หรือทักมาขอ ส่วนลดพิเศษได้ แล้วเราก็จะได้รู้ว่า audience นั้นเป็นใคร มี background อย่างไร ถ้าใช้ร่วมกับ Analytic Tools อื่น ๆ เช่นระบบย่อลิ้งค์หรือ Google Analytic หรือฝัง Facebook Pixel เราก็จะทำอะไรได้เยอะมาก
- ถามข้อมูลสำคัญเช่น การเรียน การทำงาน คอนเทนต์ที่ชอบ เพื่อไปเป็นแนวทางในการสร้างคอนเทนต์
- สิ่งนี้ช่วยให้เราวิเคราะห์ Audience ได้ดีมาก ๆ และถามคำถามในแบบที่ดูเป็นธรรมชาติ ไม่จริงจัง ไม่ยัดเยียดได้
เป็น Case ที่เรามองว่าน่าสนใจจากการพยายามสร้าง Community ในยุค Post-Facebook Era ที่ไม่ได้มีแค่หน้า Feed อีกต่อไป แต่เราจะเห็นรูปแบบคอนเทนต์และการ Feed Content มาโชว์ที่ Dynamic มากขึ้น มีความเป็นส่วนตัว และกระตุ้นให้เกิดบทสนทนาได้ดีไม่แพ้กับรูปแบบ Feed และ Timeline แบบเดิม ๆ พูดได้เลยว่า Story นี้จะเป็นรูปแบบของคอนเทนต์แห่งอนาคตแน่ ๆ ยิ่งเรารีบเข้ามาเรียนรู้ยิ่งทำให้เราจับทางได้เร็วและปรับตัวได้ สมมติว่าวันนึง Facebook ปรับอะไรขึ้นมาจริง ๆ เราจะพอมีแนวทางในการทำคอนเทนต์และคุยกับ Audience โดยที่มีทุนเดิมอยู่บ้างแล้วนั่นเอง
ขอบคุณ @fourthyyy บรรณาธิการ Instagram แห่ง Spaceth.co ที่ช่วยนำเรื่องราวมาแชร์
เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMaker