‘Affiliate Marketing’ เทรนด์มาแรง ดันยอดขาย สร้างรายได้แบบ Win-win

นาทีนี้ ถ้าไม่พูดถึง Affiliate Marketing คงไม่ได้ เห็นได้จากการที่แต่ละแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์ม E-commerce ที่เปิดโปรแกรม Affiliate ให้สร้างรายได้ หรือ TikTok Shop ที่โปรแกรม Affiliate ไปได้ดีแบบฉุดไม่อยู่ นอกจากนี้ เรายังเห็น Affiliate Links บนเหล่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ โดยเฉพาะ Twitter อีกด้วย

ต้องบอกก่อนว่า Affiliate Marketing ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าที่ถูกนำกลับมาจนกลายเป็นเทรนด์ในปัจจุบัน จากคนที่เคยมีความเข้าใจผิดว่า Affiliate Marketing คือ การขายตรง และมีความคิดด้านลบต่อสิ่งนี้ ก็กลายเป็นทั้งแบรนด์และครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ก็มองเห็นช่องทางสร้างรายได้ รวมถึงผู้บริโภคที่ถึงแม้จะรู้ว่าเป็น Affiliate Links ก็ยังยินดีกดเข้าไปซื้อ

สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ Affiliate Marketing ก็คือ การทำการตลาดกับเหล่าครีเอเตอร์และอินฟลูเอเซอร์ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมาก โดยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเป็นค่า Commission และเน้นการสร้าง Conversion ผ่าน Affiliate Links นั่นเอง

ช่องทางทำ Affiliate

หลายแพลตฟอร์มในไทยก็เริ่มมีโปรแกรม Affiliate ที่เปิดโอกาสให้ทั้งผู้ใช้ทั่วไป และครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์สร้างรายได้ผ่านการรับค่า Commission ในการแชร์ Affiliate Links อย่างที่เรารู้จักกันดีก็เป็นแพลตฟอร์ม E-commerce เจ้าดัง และ TikTok แต่นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายแพลตฟอร์มที่รองรับโปรแกรม Affiliate ให้เลือกสรร ดังนี้

ข้อดีฝั่งแบรนด์ 

  • เพิ่มยอดขาย: แน่นอนว่าเมื่อร่วมงานกับ ครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ ที่ช่วยสร้างคอนเทนต์ดันยอดให้แบรนด์ขนาดนี้ ยอด Conversion ของแบรนด์ก็ต้องเพิ่มตามแน่นอน
  • สร้าง Conversion: ถึงแม้ว่าลูกค้าจะไม่กดซื้อของ แต่การให้เหล่า ครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ กระจายคอนเทนต์พร้อมแปะ Affiliate Links ด้วย ถือเป็นการสร้าง Awareness ไปในตัว ทำให้คนกดเข้ามาดูสินค้ามากขึ้น
  • ต้นทุนต่ำ: ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการทำ Affiliate Marketing ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรเลย แต่หมายถึงว่าแบรนด์สามารถสร้างยอดขายที่มากขึ้นได้ด้วยต้นทุนที่น้อยลงนั่นเอง
  • ลดทอนขั้นตอนการบรีฟครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์: เพราะไม่ต้องเข้าไปควบคุมการทำคอนเทนต์ เนื่องจากครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์จะรู้จักกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง และรู้ว่าต้องทำคอนเทนต์อย่างไร ขายสินค้าประเภทไหน ถึงจะถูกใจกลุ่มเป้าหมายที่สุด
  • นับเป็นการทำ Data Driven: เพราะเป็นการเก็บ Data ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นยอดการคลิกลิงก์ หรือยอดกดสั่งซื้อ ทำให้แบรนด์เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้น

ข้อดีฝั่งครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ 

  • สร้างรายได้จากค่า Commission: สามารถสร้างรายได้ผ่านการทำคอนเทนต์ พร้อมแปะ Affiliate Links ยิ่งทำคอนเทนต์ออกมาชวนป้ายยาพาคนกดซื้อได้เท่าไหร่ ก็ยิ่งได้ค่า Commission มากขึ้นเท่านั้น
  • ต้นทุนต่ำ: เพราะแค่นำสินค้ามาทำคอนเทนต์ชวนซื้อเพียงครั้งเดียว ก็สามารถสร้างรายได้ได้เรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับการลงทุนซื้อสินค้าแค่ครั้งเดียว แต่บางกรณีแบรนด์ก็เป็นคนส่งของมาให้เอง จึงทำให้ครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายเลย
  • รายได้ขึ้นอยู่กับความขยันทำคอนเทนต์: เนื่องจากรายได้มาจากค่า Commission เพราะฉะนั้นยิ่งขยันทำคอนเทนต์ สร้างยอดขายมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสสร้างรายได้มากขึ้นตามไปด้วย
  • อิสระในการเลือกสินค้า: สามารถเลือกสินค้าที่ตอบโจทย์ความเป็นตัวเอง หรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของตัวเองได้ เพื่อสร้างยอดขายที่ดี ซึ่งส่งผลดีต่อทั้งตัวเองและแบรนด์
  • อิสระในการทำคอนเทนต์: การทำ Affiliate Marketing แบรนด์จะไม่ค่อยเข้ามาควบคุมแนวทางการทำคอนเทนต์ของครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์มากเท่าไหร่ จึงทำให้มีอิสระในการทำคอนเทนต์เพื่อเพิ่มยอดขายค่อนข้างมาก
  • ไม่ต้องสต็อกสินค้า หรือมี Physical Store: ตรงนี้จะไปสอดคล้องกับข้อที่บอกว่าต้นทุนต่ำ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนซื้อสินค้ามาสต็อก แต่เป็นเหมือนตัวกลางที่ช่วยขายสินค้าเท่านั้นเอง

เทรนด์ / ข้อแนะนำ Affiliate Marketing 

  • คอนเทนต์วิดีโอสั้นได้ผลดีกว่า: เพราะเป็นคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคเสพมากที่สุดในปัจจุบัน ทำให้มีแนวโน้มที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคได้ตรงจุดกว่า ซึ่งแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่มาแรงอย่าง TikTok ก็มีโปรแกรม Affiliate ที่มาแรงเช่นกัน
  • ใช้ AI ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล และยกระดับการนำเสนอสินค้า: ทั้งแบรนด์ และครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ ควรช่วยหาเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็น ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล พัฒนาสินค้า หรือนำเสนอคอนเทนต์
  • แบรนด์ควรลงทุนกับงบ Affiliate Marketing: การทำ Affiliate Marketing ลดต้นทุนจริง แต่ไม่ได้หมายความว่าแบรนด์จะต้องประหยัดงบส่วนนี้มากซะจนต้องไปกดค่า Commission ตามไปด้วย กลับกันแบรนด์ควรลงทุนงบส่วนหนึ่ง เพื่อให้ผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • แบรนด์ร่วมมือกับ Nano และ Micro-influencers มากขึ้น: เพราะอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะฉะนั้นแบรนด์จึงจำเป็นต้องรักษาสัมพันธ์ที่ดีกับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ไว้
  • แพลตฟอร์มเพิ่ม Affiliate Program มากขึ้น: ความมาแรงของ Affiliate Marketing ทำให้หลายแพลตฟอร์มรองรับโปรแกรม Affiliate มากขึ้น เปิดโอกาสให้ทั้งแบรนด์ และครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ได้หาช่องทางเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้
  • ครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ต้องคำนึงถึงการทำคอนเทนต์ที่ดันยอด Conversion มากกว่า: เมื่อยอดดี ครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ ก็ได้รับรายได้เยอะ รวมถึงแบรนด์ก็มียอดขายที่ดีเช่นกัน

ขอเสริมเพิ่มเติมว่า ในความเป็น Affiliate Influencer จะมีความต่างจากครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ทั่วไป ที่นอกจากจะคำนึงถึงคอนเทนต์เฉย ๆ อาจต้องคำนึงถึงวิธีการสร้างยอดขายมากกว่า และบางทีโปรดักชัน หรือความครีเอทีฟที่อลังการอาจไม่ได้ผลเสมอไปในโลกของ Affiliate Marketing

ทั้งนี้ แบรนด์และครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์เอง ควรเลือกพาร์ตเนอร์ที่เหมาะสมกับ เพื่อให้การร่วมงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น แบรนด์ควรเลือกครีเอเตอร์/อินฟลูเอนเซอร์ที่มีแนวโน้มช่วยแบรนด์ได้ โดยที่สินค้านั้นไม่ขัดกัยภาพลักษณ์ และต้องตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของพวกเขา รวมถึงแบรนด์ควรมองว่า Affiliate Marketing ไม่ใช่กลยุทธ์ทั้งหมด แต่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะมาช่วยการทำ Marketing เท่านั้น

Affiliate Marketing เหมาะกับใครบ้าง? 

  • แบรนด์ / SME ที่ต้องการดันยอดขาย, ยอดลงทะเบียน, ยอดการสมัคร 
  • แบรนด์ / SME ที่ต้องการ Marketing แบบ Full Funnel 
  • ครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์ที่ต้องการสร้างรายได้จากการรีวิว 

 

สรุปได้ว่า Affiliate Marketing เป็นเทรนด์ที่มาแรง และมีแนวโน้มเป็นที่นิยมต่อไปอีก 2 – 3 ปี ดังนั้น หากแบรนด์ใดที่มองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการทำ Marketing ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่ดี สำหรับด้านครีเอเตอร์ / อินฟลูเอนเซอร์เอง ก็ถือว่าเป็นช่องทางใหม่ในการสร้างรายได้ และปั้นตัวเองให้เป็นเจ้าแห่ง Affiliate ในตลาดได้ รวมถึงในอนาคตหลายแพลตฟอร์มจะรองรับและสนับสนุนโปรแกรม Affiliate มากขึ้น หากเลือกพาร์ตเนอร์ในการร่วมงานดี การตลาดแบบนี้เรียกว่า Win-win แน่นอน 

ที่มา: Thaiwinner 

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save