IG ยังไม่เป็น TikTok ก็จะมา เหนื่อยไหม จริง ๆ เราไม่จำเป็นต้องเก่งทุก Platform ก็ได้

ช่วงนี้เป็นช่วงต้นปี 2020 และเป็นช่วงเริ่มต้นทศวรรษใหม่ด้วย ซึ่งเป็นช่วงที่หลาย ๆ คนจะมาพูดถึง Trend แนวโต้ม การเติบโต และการทำคอนเทนต์ รวมถึงอัพเดท Platform ใหม่ ๆ ในขณะที่ปีที่แล้ว ข่าวกระแสด้าน Instagram ว่ากำลังจะกลายเป็นอนาคตของ Social Media หรือจะเปลี่ยนรูปแบบที่เราต้องทำคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสั้น Story รวมถึงอื่น ๆ ต้นปีนี้ ในงาน Creative Talk ที่ผ่านมา กระแสเรื่อง TikTok กลายมาเป็นสิ่งที่ทำให้วงการคอนเทนต์ต้องกระเพื่อม เนื่องจากตัวเลขต่าง ๆ ที่ TikTok สะท้อนออกมา บอกว่ามีผู้เล่นจำนวนมหาศาล และหลายแคมเปญที่สร้างการเข้ามา Engage ในระดับ User-genrated Content จำนวนมหาศาล

ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงรู้สึกว่า ตัวเองต้องวิ่ง ต้องกระโดดตาม จะต้องทำ TikTok จะต้องศึกษาแล้ว ต้องรีบหยิบมือถือขึ้นมาโหลดแอพแล้วสมัคร TikTok ลองถ่ายคลิปลงกัน หรือมานั่งประชุมกันว่าจะเอายังไงดี (ถ้าเป็น Publisher) ในขณะที่ความเศร้าก็คือ Story IG ยังไม่คล่องเลย หรือวิดีโอสั้น IGTV ก็ยังไม่ได้เชี่ยวชาญซักเท่าไหร่ ยังจะต้องมาวิ่งไล่ตาม TikTok กันอีกเหรอ … เราขอให้คุณ หยุด! ช้าก่อน แล้วมาลองอ่านบทความนี้ก่อน เพราะบางทีเราอาจจะพบคำตอบว่า เราอาจจะไม่ต้องวิ่งไล่ตามทุก Platform ก็ได้

ช้าก่อน แล้วตอบตัวเองว่าเราทำคอนเทนต์ไปทำไม

เราไม่อาจปฏิเสธสถิติ และข้อมูลได้ ว่าตอนนี้ คนหลายล้านคนโดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ กำลัง Active อยู่บน TikTok หรือ IG เป็นแอพที่บางคนเข้าบ่อยกว่า Facebook, Twitter หรือบางคนไม่มี Facebook แล้วด้วยซ้ำ นี่คือความจริงที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกนี้ แต่ประเด็นก็คือเราลองย้อนกลับมาดูว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

บางครั้งการที่เรามีผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง และได้เห็นตัวเลขที่เติบโตอย่างมากบน Platfform อื่น ๆ เราอาจจะรู้สึกว่า เราต้องรีบเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเข้าไปมีตัวตนในสถานที่แห่งนั้น แต่จริง ๆ แล้ว เรารู้จักกับผู้ติดตามของเราดีหรือยัง แล้วเรากำลังสื่อสารกับใครอยู่ ?

ไม่ปฏิเสธว่าถ้าเราเป็นสื่อในกลุ่ม Mass ที่ต้องทำคอนเทนต์ที่มี KPI เป็นยอด Reach, Engagement หรือ Awareness การวิ่งเข้าหากลุ่มใหญ่และทำคอนเทนต์ที่ทำให้กลุ่มใหญ่ชื่นชอบ และเข้ามามีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่ไม่น่าปฏิเสธที่จะทำ แต่สมมติว่า KPI ของเรา วัดด้วยตัวแปรที่สอดคล้องกับกลุ่ม Audience ในเชิงละเอียด หรือวัดในเชิงพฤติกรรม (Behavioural – ลองอ่านบทความ รู้จักกับ Behavioural Driven Content ทำคอนเทนต์สนองพฤติกรรม ไม่ใช่กลุ่มคน ) เราลองมองย้อนกลับมาดูว่า การวิ่งตามการเติบโตของ Platform นั้น จะช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์จริง ๆ หรือเปล่า ?

ตัวอย่างของการลองมองย้อนกลับมาดูก็เช่น การพยายามตอบคำถามว่า

  • การโตของ Platform อื่น ส่งผลอย่างไรกับเรา หรือกลุ่มเป้าหมายของเราอย่างไร
  • สมมติเราไปเติบโตบน Platform ใหม่นั้น จะทำให้เราได้กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการหรือเปล่า
  • หรือว่าเราจะค้นพบกลุ่มเป้าหมายใหม่ ที่เราต้องการ ใน Platform ใหม่
  • ถ้าเราลองไปทำคอนเทนต์ใน Platform ใหม่นั้น เราจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง

ซึ่ง วิธีคิดก็คือ อย่าถามว่า “ไปทำคอนเทนต์บน Platform ใหม่ดีไหม” เพราะเราจะเถียงกันไม่จบ แต่ให้ถามว่า “การทำหรือไม่ทำคอนเทนต์บน Platform ใหม่ จะทำให้เราได้อะไร เสียอะไร เรียนรู้อะไร และค้นพบอะไรใหม่” 

ดังนั้น ไม่แปลกที่พอมีอะไรใหม่ ๆ เข้ามา เราจะลองเข้าไปเล่นเพื่อศึกษาเบื่องต้นดูว่า มันคืออะไร แต่การวางแผนว่าเราจะใช้ประโยชน์จากมันให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้ไหมนั้น ก็ต้องมีการวางแผน ไม่ใช่เพียงแค่เข้าไปเล่น เข้าไปมีส่วนร่วม แล้วเหนื่อยเปล่า แต่ผลที่ได้ไม่คุ้มเสีย

และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ว่า เราอาจจะไม่จำเป็นต้องเก่งและทำได้ไปหมดทุก Platform ไม่งั้นเราคงต้องเหนื่อยตามว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็ต้องเข้าใจตัวเองด้วยว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ และกำลังลงทุนไปกับอะไร เพราะทุกอย่างมีต้นทุน แม้กระทั่งเวลา ถ้าสมมติเราต้องกระโดดเข้าไปตาม Platform ใหม่จริง ๆ ก็อาจจะต้องวางแผนว่าทำอย่างไรให้เราได้เรียนรู้ให้ได้เยอะที่สุดนั่นเอง จะได้ไม่เหนื่อยมากเกินไป

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save