อย่างที่รู้กันดีว่างานประกาศรางวัลสุพรรณหงส์ เป็นเวทีจะทำให้วงการบันเทิงไทย และหนังไทยได้เฉิดฉายมากขึ้น แต่ในปัจจุบันเงื่อนไขใหม่นั้นกลับเอื้อให้กับหนังค่ายใหญ่ทุนหนามากกว่า โดยไม่คำนึงถึงความหลากหลายในวงการภาพยนตร์ และตัดโอกาสกับคนตัวเล็กทุนต่ำในวงการเดียวกัน
ซึ่งกฎใหม่ว่าด้วยภาพยนตร์ไทยที่ได้เข้าชิง คือ
1. ภาพยนตร์ต้องเข้าฉายอย่างน้อย 5 ภูมิภาค นั่นก็คือ กรุงเทพฯ, ชลบุรี, เชียงใหม่, นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช
2. ภาพยนตร์ต้องมีคนดู 50,000 คนขึ้นไป
3. ภาพยนตร์ที่ไม่ฉายทั่วประเทศจะถูกตัดสิทธิ์
นั่นหมายความว่าเป็นการเอื้อต่อผลประโยชน์ วัดค่าของเงินกับจำนวนคนดูจากค่ายภาพยนตร์มากกว่าจะเปิดโอกาสให้คนได้เสพหนังไทยน้ำดี ทั้งหนังอินดี้ และหนังสตูดิโอ
โดยกระแสนี่เริ่มปะทุมาจากการลดรอบฉายเพื่อให้หนังบางเรื่องได้รอบฉายนานกว่าเรื่องอื่น แม้อีกเรื่องจะมีคนดู หรือการที่มีภาพยนตร์บางเรื่องถูกตัดสิทธิ์การเข้าชิง เพราะไม่ได้ฉายทั่วประเทศ แต่กลับคว้ารางวัลต่างประเทศนอกบ้านได้ล้นหลาม
เพราะเหตุนี้ทางรองประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ก็ได้ออกมาประกาศลาออก พร้อมทั้งผู้กำกับภาพยนตร์ในวงการ ออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขของสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติโดยการถอนสิทธิ์จากการถูกคัดเลือก เช่น
– ผู้กำกับคงเดช จาตุรันต์รัศมีจาก “Faces of Anne”
– เต๋อ นวพล จาก “Fast & Feel Love”
– บาส นัฐวุฒิ และทีมเขียนบทจาก “One For The Road”
– บริษัท ฮอลลีวู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์ “บึงกาฬ”
– ศิวโรจน์ คงสกุล จาก “อรุณกาล”
– ปิ๊ง อดิสรณ์ จาก “บุพเพสันนิวาส 2”
– ณัฏฐ์ กิจจริต และจ๋าย ไททศมิตร นักแสดง “4 Kings”
– สืบ-บุญส่ง จาก “วังพิกุล”
ซึ่งรายชื่อทั้งหมดนี้ต่างก็ออกมาแสดงจุดยืน และขอถอนตัวจากงานสุพรรณหงส์ปีนี้ทั้งหมด เพราะเกณฑ์ใหม่นี้ส่งผลกระทบกับหนังค่ายเล็กเป็นอย่างมาก
เพราะแม้ทุนทำหนังจะไม่มี แต่พื้นที่เวทีประกาศรางวัลก็ควรเป็นแสงสปอร์ตไลท์ให้พวกเขาได้ถูกมองเห็นเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่กับเวทีสุพรรณหงส์ในตอนนี้ ซึ่งคงต้องรอติดตามการประชุมกับทางสมาพันธ์ต่อไปว่าจะมีการแก้ไขปัญหานี้อย่างไรให้ยุติธรรมกับคนทำหนัง และวงการหนังไทยมากที่สุด
ส่วนงานรางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ในวันที่ 4 เมษายน ยังคงมาพร้อมธีม “Freedom of Speech” และเปิดโอกาสให้กับภาพยนตร์ทุก ๆ เรื่องอยู่ โดยจะยึดผลประกาศรางวัลจากคะแนนโหวตของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่ร่วมกันลงคะแนนเป็นหลัก และไม่มีหน่วยงานรัฐเข้ามาแทรกแซงในการแสดงความคิดเห็