ถือเป็นการอัปเดตเพื่อมาแข่งกับ ChatGPT เลยก็ว่าได้ เพราะ Bard จาก Google สามารถรองรับการป้อน Prompt ภาษาไทยได้แล้ว เนื่องจากหวังให้ Bard เป็นมากกว่าการถามตอบข้อสงสัย แต่เป็นู้ช่วยที่ต่อยอดจินตนาการได้
ซึ่งนอกจากการรองรับภาษาไทยเพิ่มเติมแล้ว Bard ยังรองรับกว่า 40 ภาษาทั่วโลกตามที่ประกาศไว้ในงาน Google I/O ด้วย เพื่อให้มีการรองรับภาษาหลักทั่วโลกทัดเทียมกับ ChatGPT
แต่จะแตกต่างตรงที่ Bard จะถูกออกแบบมาเพื่อเป็นอินเทอร์เฟซรองรับโมเดลภาษาขนาดใหญ่ ให้ผู้ใช้ได้คำตอบจากการประมวลผลของระบบ AI ของ Bard แบบสดใหม่ และมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อนำไปต่อยอดไอเดียต่าง ๆ ของงานได้
และนอกจากรองรับกว่า 40 ภาษาทั่วโลกแล้ว Bard ยังเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่ใช่มากขึ้นด้วย เช่น
- ฟังคำตอบจาก Bard: เพราะบางครั้งการฟังคำตอบจากเสียงอาจจะทำให้เข้าใจมู้ดโทนของคำตอบมากกว่า Bard เลยมี Prompt และเลือกไอคอน “ฟัง” ได้
- มีฟังก์ชันเปลี่ยนการตอบคำถาม: สามารถเลือกให้ Bard มีน้ำเสียง และสไตล์การตอบได้ทั้งหมด 5 แบบ (แต่รองรับภาษาอังกฤษเท่านั้น) คือ
- แบบเรียบง่าย
- แบบยาว
- แบบสั้น
- แบบมืออาชีพ
- แบบเป็นกันเอง
- ปักหมุด และเปลี่ยนชื่อบทสนทนา: Bard สามารถเลือกปักหมุดบทสนทนาสำคัญที่เคยคุยกันไว้ได้ พร้อมเปลี่ยนชื่อบทสนทนาได้จากแถบด้านข้างเลย
- ส่งโค้ดไปรันบนแพลตฟอร์มอื่น: นำ Bard ไปใช้เขียนโค้ด และส่งออกโค้ด Python ไปรันบน Replit ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทำได้แค่บน Google Colab พร้อมรองรับมากกว่า 40 ภาษา
- แชร์คำตอบกับเพื่อน: แชร์คำตอบที่คุยกับ Bard บางส่วนหรือทั้งหมดให้เพื่อน ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะเหมือนเป็นการแชร์ไอเดีย โดยรองรับ 40 ภาษาทั่วโลก
- ใส่รูปภาพเป็น Prompt: Bard มี Google Lens สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล หรือคำตอบจากรูปภาพได้ ผู้ใช้จึงอัปโหลดรูปภาพแทนการพิมพ์ Prompt ได้เลย แล้ว Bard จะวิเคราะห์ให้ แต่ตอนนี้ยังรองรับการวิเคราะห์แค่ภาษาอังกฤษอยู่ และจะรองรับภาษาอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคต
อ้างอิง: Google Thailand Blog