หาก ‘Backpacker’ คือความฝันของใครหลาย ๆ คนที่อยากท่องเที่ยวรอบโลก ‘Begpacker’ ก็คงเป็นขั้วตรงข้าม ที่นักเดินทางแบกเป้ไปขอเงินไป ไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับคนแถบเอเชียมากนัก
คำศัพท์ว่า ‘Backpacker’ มาจากการรวมกันของ “begging” ที่แปลว่า ขอ และ “backpacking” ที่แปลว่านักเดินทางแบกเป้ ซึ่งมีความหมายในเชิงลบ หลังเงินที่นำมาเที่ยวอาจไม่เพียงพอให้หล่อเลี้ยงชีวติในต่างแดนได้ เลยต้องหาป้ายมาเขียน และนั่งขอเงินจากคนในท้องที่
และเหตุการณ์นี้ก็มักจะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก ที่คอยตระเวนขอเงินจากคนประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะในไทย อินโดนีเซีย มาเลฌวีย และสิงคโปร ซึ่งมีทั้งการเขียนป้ายระดมเงินเฉย ๆ ไปจนถึงแสดงความสามารถพิเศษ เช่น เล่นดนตรีโชว์ หรือถักสร้อยร้อยลูกปัดขาย
หากใครที่มีโชว์หรือสินค้ามาแลกเปลี่ยนเป็นเงิน มักจะถูกมองในด้านที่ดีกว่ากลุ่มที่เขียนป้ายขอเงินแล้วนั่งเฉย ๆ
และแม้การขาย หรือการแสดงโชว์ที่นำมาแลกเป็นเงินจะดูไม่ใช่การขอเงินเฉย ๆ แต่ก็มีหลายมุมมองที่มองว่า ไม่ควรทำให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ เพราะชาวแบกเป้เที่ยวที่มีโอกาสท่องเที่ยวทั่วโลก และหนังสือเดินทางผ่านง่าย
กลับกันชาวเอเชียที่เป็นเจ้าของประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ขอวีซ่าได้ยากกว่าเมื่อต้องออกนอกประเทศ แต่ต้องเป็นฝ่ายถูกขอระดมเงินจากกลุ่มคนที่เป็น Begpacker แทน เพราะความจริงแล้วพวกเขาก็มีอภิสิทธิ์ในการหาเงิน และท่องโลกมากกว่าด้วย
โดยในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่มีความเข้มงวดกับเรื่องนี้มากนัก เว้นขอทานที่อยู่ทางเท้าก็มักจะต้องวิ่งหนีเทศกิจเป็นประจำ แต่เพราะความเป็นคนไทยขี้สงสาร และกฎหมายไทยที่มีช่องโหว่ให้เหล่า Backpacker ได้ใช้พื้นที่เพื่อระดมเงินเที่ยวใหม่ ก็อาจจะทำให้เกิดการปิดหูปิดตาเหตุการณ์เหล่านี้มีมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ดี ประเทศอื่น ๆ ในแถบเอเชียนั้น ไม่ค่อยต้อนรับกลุ่มนักท่องเที่ยว Backpacker เท่าไหร่นัก แม้นี่จะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อให้ได้อยู่ต่อประเทศนั้น ๆ ก็ตาม
รวมไปถึงผู้คนบางกลุ่มก็มองว่านี่อาจเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวแบบใหม่ เพราะทำให้นักท่องเที่ยวแบกเป้ในประเทศเยอะขึ้น แต่ก็อาจเป็นการผลักภาระให้ผู้คนท้องถิ่นเหล่านั้นมากเกินไปเช่นกัน เพราะสถานทูตไม่ได้มีการรับเรื่องช่วยเหลือประเด็นนี้ด้วย
อ้างอิง: The Guardian, Miami Herald