ในช่วงวันนี้ หลายท่านอาจจะได้รับข่าวสาร ความสับสนเรื่องที่กทม. สั่งปิดห้างสรรพสินค้า รวมถึงตลาด ทั่วกรุงเทพฯ (ยกเว้นโซนซูเปอร์มาร์เก็ต, แผงของสด หรือของจำเป็น)
เมื่อฝ่ายหนึ่งบอกว่าปิด อีกฝ่ายหนึ่งบอกไม่ปิด และมีการให้ข่าวที่สับสนไปมา จนหลายคน งงในงง ไปหมดแล้ว
ทีมงาน Rainmaker ขอเรียบเรียงที่มาที่ไป และมองว่านี่เป็นกรณีศึกษาที่ดีในยุคสื่อออนไลน์ ที่ข่าวไปไวมาก จนบางทีเราก็หยุดไม่อยู่
ไล่ตาม Timeline ดังนี้
ด่วน! ผู้ว่าฯกทม. ชงประกาศปิดห้างทั่ว กทม.
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/871907
ต่อมา – โฆษกรัฐบาลวอนหยุดปล่อยข่าวลือสั่งปิดห้างฯพรุ่งนี้สร้างความแตกตื่น รอประกาศจากทางการ
https://siamrath.co.th/n/140705
ไม่นาน ผู้ว่าก็ได้ทำการ Live ผ่าน Facebook Page เผยว่าจะมีการปิดห้างทั่วกทม.จริง https://www.facebook.com/aswinkwanmuang/videos/216044333111352/
จากนั้น รองโฆษกรัฐบาล ยัน มีประกาศปิดห้างจริง ขอรอผู้ว่าฯ กทม. เป็นคนแถลง https://www.thairath.co.th/news/politic/1800498
จบด้วย ผู้ว่าโพสต์เอกสารคำสั่งปิดห้างจริง https://t.co/GYaVxVn3bN
การสื่อสารที่สับสน มีผลกับความเชื่อมั่นของประชาชน
ด้วย Timeline ที่ห่างกันไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ทำให้เกิดการส่งต่อข่าวทั้ง 2 แนวทางออกไปอย่างทั่วถึง
ฝ่ายหนึ่งโพสต์ข่าวผู้ว่าสั่งปิดห้าง
อีกฝ่ายหนึ่งไปเม้นต่อว่าเป็นข่าวปลอม โฆษกรัฐบาลออกมาบอกแล้ว อย่าปล่อยข่าวลือ
ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งบอกว่าเป็นข่าวปลอม อย่าแชร์กันนะ
อีกฝ่ายก็เม้นว่า นี่ไง Live ของผู้ว่า ออกมาบอกตรงๆ จะปลอมได้อย่างไร
ในทางข้อมูลข่าวสาร เราเรียกการสื่อสารระดับนี้ว่าเป็น Mass Communication คือการสื่อกับผู้คนหมู่มาก ที่โดยหลักการจะมีการเตรียมข้อมูล และพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ก่อนเผยแพร่
ในอีกมุมหนึ่ง การสื่อสารในระดับภาครัฐนั้น ส่วนที่สำคัญที่สุดคือการ Make Common หรือการทำให้เข้าใจตรงกัน ในการสื่อสาร
โดยมากจึงมักจะมีการแถลง หรือออกนโยบายจากหน่วยงานเดียว คนเดียว หรือผู้ดูแลสูงสุดเพียงท่านเดียว
กรณีนี้อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องคอขาดบาดตายมากนัก แต่หากเรามาลองคิดดูว่า หาก Message ที่ต้องการสื่อสาร ไม่ใช่คำสั่งนี้ แต่เป็นคำสั่งที่มีความสำคัญมากกว่านั้น
เช่น การสั่งเคอร์ฟิว ห้ามออกจากบ้าน หรือ คำสั่งสำคัญอื่นๆ ที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม
ทีมงาน Rainmaker เล็งเห็นว่าปัญหาของภาครัฐในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด19 สำคัญมากคือ “การสื่อสาร” และวิงวอนให้มีการจัดการ ยกระดับ หรือปรับปรุงในเรื่องนี้โดยเร่งด่วน
เชื่อว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ผู้นำสื่อสารสับสน เราจะงงกันหมด
เรียบเรียงโดย
Rainmaker