Brand MarketingCase Study

sarun.roj

sarun.roj November 3, 2021

กรณีศึกษา Metaverse กับการปรับใช้ในโลกธุรกิจ

‘เมตาเวิร์ส (Metaverse)’ กลายเป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่ถูกเสิร์ชมากที่สุด หลังเฟสบุ๊ก (Facebook) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลกประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น เมตา (Meta) เพื่อเดินหน้าสนับสนุนเทคโนโลยีโลกเสมือนแบบเต็มตัว

เมตาเวิร์ส คืออะไร? ให้ลองนึกภาพการมองเห็นและการสัมผัสสิ่งของในโลกเสมือนผ่านโลกกายภาพ หรือให้ง่ายกว่านั้นให้นึกภาพโลกในแบบภาพยนต์เรื่อง Ready Player One หรือ The Matrix ที่ผู้ใช้สามารถมีร่างอวตารและใช้ชีวิตได้ในโลกเสมือน

แล้วมันสำคัญยังไง? เปรียบเทียบได้กับการมาของอินเทอร์เน็ตเมื่อ 30 ปีที่แล้ว หรือการมาของเว็บไซต์เมื่อ 20 ปีก่อน ธุรกิจต่างๆ ถึงจะตระหนักได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทั้งคำตอบและโอกาสสำหรับโลกการตลาดแต่ละยุค

ปัจจุบันการบรรจบกันของ 5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), ฐานข้อมูล (Big Data) รวมถึงความพร้อมด้านเทคโนโลยีอื่นๆ จะช่วยส่งเสริมให้ AR และ VR ส่งมอบประสบการณ์ได้แบบไร้รอยต่อ เพลิดเพลิน และอุปกรณ์ราคาคุ้มค่ากว่าที่เคยมีมา 

ดังนั้น แบรนด์ ธุรกิจ รวมถึงนักการตลาดควรเตรียมพร้อมสำหรับเทคโนโลยีใหม่นี้ ซึ่ง RAiNMaker ได้หยิบยกกรณีศึกษาจากต่างประเทศมาไว้แล้วครับ

1. การประชุมผ่านโลกเสมือน

วิกฤตโรคติดต่อทำให้โลกการทำงานต้องปรับไปทำงานจากที่บ้านมากขึ้น แต่การประชุมเป็นเรื่องจำเป็น ส่งผลให้แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์กลายเป็นกลุ่มแอปฯที่มียอดดาวน์โหลดสูงที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็น Zoom, Google Meet, Microsoft Teams, ฯลฯ

ล่าสุดMicrosoft ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Mesh ผสานเทคโนโลยีระหว่าง Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ใน Microsoft Teams เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมีปฎิสัมพันธ์กันได้ในรูปแบบตัวละครเสมือน (Avatar) ทำให้การประชุมทางไกลและการทำงานร่วมกันมีความความสมจริงมากยิ่งขึ้น

2. สินทรัพย์ในโลกเสมือน

Metaverse คือการผสานระหว่างโลกความเป็นจริงและโลกเสมือน พื้นที่ในโลกกายภาพยังคงอยู่ แต่พื้นที่ในโลกเสมือนทุกสิ่งทุกอย่างสามารถสร้างขึ้นได้ เมื่อผู้ใช้กลายเป็นอวตารจึงเกิดชุมชนในโลกเสมือนขึ้น

แบรนด์ต่างๆ เช่น Nike, Disney, Gucci รวมถึงแบรนด์ขนาดเล็กก็สามารถสร้างสินทรัพย์ แฟชั่นเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ รวมไปถึงงานศิลปะต่างๆ ได้ด้วยความสร้างสรรค์ที่ไม่จำกัด เกิดเป็นเศรษฐกิจ สกุลเงินดิจิทัล และพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค

3. พื้นที่โฆษณาในโลกเสมือน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายแบรนด์เช่น MTV, Coke, American Apparel, Dell ได้ทุ่มเงินและสร้างแคมเปญโฆษณาผ่านโลกเสมือน ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณาในเกมจำลอง หรือการให้อวตารลองเสื้อผ้า และสามารถสั่งซื้อได้ในโลกแห่งความเป็นจริง

จากผลสำรวจผู้ใช้งานพบว่าพวกเขาตัดสินใจที่จะใช้แบรนด์ในโลกแห่งความเป็นจริงที่ได้โปรโมทในโลกเสมือนเพิ่มขึ้น

นอกจากการสร้างสรรค์โดยแบรนด์แล้ว ผลงานโดยเหล่าครีเอเตอร์ในโลกเสมือนก็น่าสนใจ บางคนอาจสร้างสรรค์สตรีทอาร์ทตามตึกหรือถนน หรือสร้างงานศิลปะที่มีข้อจำกัดในโลกแห่งความจริง ซึ่งจะนำมาสู่รายได้ในช่องทางใหม่ๆ อีกด้วย

4. ประสบการณ์ในโลกเสมือน

เมื่อ AR และ VR ทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ในโลกเสมือนที่เข้าใกล้ความเป็นจริงยิ่งกว่าเดิม Metaverse จะไม่ได้เป็นแค่เกม แต่สามารถทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได้ เช่น ประสบการณ์รับชม NBA Playoff ติดขอบสนาม แถวหน้าคอนเสิร์ตของ Blackpink การเดินทางไปดูแสงเหนือที่ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เป็นต้น

สุดท้ายนี้ โลกเสมือนเป็นสิ่งที่โลกธุรกิจต้องเตรียมพร้อมกับความท้าทายใหม่ๆ แน่นอนว่าต้องเจอปัญหาอีกมากมายในช่วงเริ่มต้น ทั้งกฎหมาย การทำงานร่วมกันระหว่างโลกความเป็นจริงและโลกเสมือน ความเหมาะสมอื่นๆ ขณะเดียวกันก็เป็นเหมือนคลื่นลูกใหม่ที่ใครไม่พร้อมก็อาจตกรถได้เลย

 

อ้างอิง

Srushtiimx

builtin

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save