News
Facebook ประกาศอัปเดตหลายฟีเจอร์ใหม่สำหรับ video creators และ publishers โดยเฉพาะ ทั้ง Facebook, Instagram และ IGTV ในงาน International Broadcasting Convention (IBC)
เคยไหมเวลาจะเริ่มต้นคุยอะไรกับใครซักคนแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มบทสนทนาอย่างไรดีเพื่อไม่ให้ดู Awkward จนเกินไป เชื่อว่าปัญหานี้ก็อยู่บนโลกโซเชียล หรือบนออนไลน์ด้วยเช่นกัน เมื่อบางทีเราอยากจะคุยอะไรซักอย่างกับลูกเพจ, ผู้ติดตาม ทั้งบน Facebook, Twitter, Instagram ของเรา แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ขอเสียงหน่อยก็ดูจะเป็น Concert ไป จนสุดท้ายก็กลายเป็นหาอะไรมาแชร์นู่นนี่หรือเขียนบทความหรือข่าวยาว ๆ ไป
ในยุคนี้ต้องยอมรับว่าหลายคนทำ Facebook Page (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เพจ”) เป็นจำนวนมาก แต่จะเห็นได้ว่าในยุคหลัง ๆ หลายเพจทำเนื้อหาที่กระตุ้นให้เกิดการถกเถียง แต่ไม่ใช่ในทางบวก แล้วไปในทางลบ หรือเป็นการสร้างคอนเทนต์ “ดราม่า” ขึ้นมามากขึ้น และต้องยอมรับอีกว่า คอนเทนต์แนวนี้ยังได้รับความนิยมต่อผู้ติดตาม Social Media อยู่บ่อยครั้ง แต่คำถามคือ คอนเทนต์ดราม่าดีกับเพจจริงหรอ? หรือคอนเทนต์แนวไหนที่ทำแล้วจะดีจริง วันนี้เรามีข้อมูลหลาย ๆ ชุดที่วิเคราะห์ในหลายแง่มุมมาฝากกัน เพื่อหาคำตอบกันว่า “คอนเทนต์บนเพจแนวไหนที่คนให้การตอบรับดี?”
เวลาที่เราเอาลิ้งค์ต่าง ๆ ไปแชร์บน Facebook ไม่ว่าจะเป็นบทความ หน้าเว็บ ต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ก็คือทุกอย่างที่เป็นลิ้งค์ เราจะเห็นสิ่งที่สำคัญ 2-3 อย่าง ได้แก่ ภาพตัวอย่าง (ที่ Facebook เรียกว่า Open Graph Image), ชื่อของบทความ (Open Graph Title) และถ้าบน Desktop เราก็จะเห็นคำอธิบายหรือตัวอย่างบทความ (Open Graph Description) แต่ถ้าเราสังเกตเว็บไซต์ที่เป็นพวกเว็บข่าวหรือบทความ เราจะเห็นอีกสิ่งหนึ่งที่ Facebook นำมาแสดงใน Preview ของลิ้งค์ก็คือ ชื่อของคนเขียน หรือชื่อของเพจที่เขียนบทความ พอเรากดตรงนั้นมันก็จะไปยัง Facebook Profile ดังกล่าว หรือถ้าบน Mobile ก็จะมีเมนูให้เลือก Follow หรือกด Like นักเขียน, เพจ ดังกล่าวอีกด้วย
ในปี 2016 ที่ผ่านมา การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐกลายเป็นเวทีที่ทำให้ทั้งโลกได้เห็นผลกระทบอันรุนแรงของ Fake News และการแทรกแซงด้วยเนื้อหาบนโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมายโดยเฉพาะกรณีของ Facebook กับ Cambridge Analytica ที่ปล่อยให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ถูกนำมาใช้สำหรับการยิงโฆษณาจากฝั่งรัสเซีย ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน Fake News ก็ดูเหมือนจะยังมีอิทธิพลต่อโลกออนไลน์โดยเฉพาะการเลือกตั้งในไทยเองด้วย
หลังจากความวุ่นวายต่าง ๆ ในโลกที่มีการใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการยิง Ads เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมือง หรือแม้กระทั่งการหาเสียงออนไลน์ซึ่งความน่ากลัวมันอยู่ตรงที่ในการยิง Ads นั้นเราสามารถเลือกที่จะให้เฉพาะคนที่เราต้องการจะให้เห็น Ads เหล่านั้นเห็นได้ เช่น สมมติว่าเป็นพรรคการเมืองเราอาจจะตั้ง Audience คนรวยให้เห็น Ads อย่างนึง คนจนให้เห็น Ads อย่างนึงได้ ซึ่งตรงนี้ Facebook ได้เคยออกเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถเข้าไปที่เพจต่าง ๆ แล้วกดดูว่ากำลังมี Ads ตัวไหน run อยู่บ้าง ซึ่งเราจะเห็น Ads ทุกตัว ไม่ใช่แค่ตัวที่เราถูกตั้ง Audience ให้เห็น
เวลาที่เราจะบูสโพสต์บน Facebook บางทีเราแต่งรูปเสร็จอะไรเสร็จ มาลืมนึกได้ว่า Facebook นั้นจะไม่ยอมให้เราบูสโพสต์ถ้ามี Text หรือตัวอักษรเกิน 20% Facebook จะลดระดับการแสดงผลของเรา หรือไม่ยอมให้เราบูสโพสต์นั้นเลยก็ได้ ซึ่งหลายคนอาจจะหงุดหงิด เพราะบางทีเราก็ไม่ได้อยากให้มันมี Text แต่มันจำเป็นต้องมีนี่สิ ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณา หรือโปสเตอร์ หรือปกหนังสืออะไรต่าง ๆ แต่วันนี้เราจะมาดูกันว่าเรามีวิธีที่ทำให้ Facebook ยอมให้เราบูสภาพเหล่านั้นได้แม้ว่าจะมี Text เกิน 20% ก็ตาม
ทุกวันนี้การ Live เป็นหนึ่งในรูปแบบของคอนเทนต์ที่เป็นที่นิยมมาก ๆ หลังจากที่ Facebook ได้เปิดตัวฟีเจอร์ Facebook Live มา ก็กลายเป็นว่าเป็นที่ชื่นชอบของคนไทย ซึ่งเราได้เห็นการ Live อะไรแปลก ๆ แต่กลับเป็นกระแสขึ้นมาเช่น การ Live ขายเสื้อผ้า ขายขนม ขายคอร์ส ขายอาหารทะเล ซึ่งสร้างสรรค์จนไม่พูดถึงไม่ได้ หรือแม้กระทั่งการ Live อะไรที่ผิดกฏหมาย ดังนั้นคนไทยดูเหมือนจะชืนชอบการ Live มาก ๆ และมี Engagement กับมันเยอะจริง ๆ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า