News
พักหลังมานี้ได้ยินผู้ใช้ Facebook รอบตัวบ่นกันเยอะมาก เกี่ยวกับโพสต์ที่ facebook คัดเลือกมาแสดงบน news feed เพราะหลายครั้งเป็นโพสต์ที่เราไม่ได้รู้สึกสนใจ หรือบางครั้งเป็นโพสต์ที่เกิดขึ้นมาหลายวันแล้ว
ทุกวันนี้สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น Controversy มาก ๆ อย่างหนึ่งก็คืออัลกอริทึมของ Facebook ที่เลือกสรรเอาสิ่งต่าง ๆ มาแสดงบนหน้า Feed ของเรา ตั้งแต่โพสต์ของเพื่อน โพสต์และข่าวจากเพจต่าง ๆ ไปจนถึงโฆษณาที่บรรดา Advertiser เลือกที่จะยิงใส่เรา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Facebook เองก็เห็นถึงความสำคัญในส่วนนี้สืบเนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นเช่น Fake News, Echo Chamber ที่ส่งผลต่อทิศทางของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หรือแม้กระทั่งการเลือกตั้งในไทยเองก็ตาม
Facebook ยังคงเป็นแพลตฟอร์มอันดับ 1 ที่สื่อใช้ในการปล่อยข่าวสาร แม้จะมี YouTube และ Twitter ตีคู่มาติดๆเลยก็ตาม ด้วยความเป็นแพลตฟอร์มที่เข้ามาสร้างเพจได้ง่าย การคัดกรองละหลวม แต่กลับเข้าถึงคนหลากหลายกลุ่มทำให้เกิดปัญหา Fake News อยู่บ่อยครั้ง ทำให้ Facebook ต้องหาทางออกให้กับเรื่องนี้ในหลายๆทาง รวมถึงการวางแผนจะสร้างแถบข่าวแยกออกมาให้ชัดเจนไปเลยด้วย
ทุกวันนี้เวลาเราหาเพลงฟรีมาประกอบคอนเทนต์เราก็อาจจะเข้า YouTube แล้ว Search หาเพลงฟรีไม่ติดลิขสิทธ์ิ แล้วใช้โปรแกรม Download มาใช้ แต่จริง ๆ แล้วมีวิธีที่ง่ายกว่านั้นมาก ๆ และไม่เสี่ยงว่าเพลงที่เราคิดว่าแจกให้ใช้ฟรีแต่ดันมีลิขสิทธิ์หรือลายน้ำในเพลงซะงั้น ซึ่งบริการดังกล่าวที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้ก็คือ Facebook Sound Collection
24 มีนาคม หลังจากการอยู่ภายใต้อำนาจของเผด็จการมานานกว่า 5 ปี ในที่สุดประเทศไทยก็ได้จัดการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อปี 2557 การเลือกตั้งครั้งนี้มีนัยสำคัญอยู่ตรงที่ถูกมองว่าเป็นการสู้กันระหว่างเสียงของผู้สนับสนุนเผด็จการ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กับเสียงของฝ่ายประชาธิปไตย วันนี้ทีมงาน RAiNMAKER จะมาลองสรุปภาพรวมของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นลากยาวมาตั้งแต่ช่วงวันก่อนเลือกตั้ง มาจนถึงวันที่ 24 มีนาคมนี้ ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วสื่อออนไลน์มีวิธีการเข้ามา “ได้ซีน” ในช่วงที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งของประเทศไทยในช่วงนี้อย่างไร ก่อนหน้าวันเลือกตั้ง เมื่อออนไลน์กลายเป็นสนามที่น่าจับตามอง ก่อนหน้าการเลือกตั้งในครั้งนี้ในทางของฝั่งโลกออนไลน์ ก็มีกระแสต่าง ๆ ปรากฎให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน ตั้งแต่ “ประเทศกูมี” รายการทางออนไลน์ที่ดุเด็ดเผ็ดมัน “หาเรื่อง” ของคุณ จอห์น วิญญู เจ้าเก่า หรือการทำผลงานบนโลกโซเชียลของทั้งทางฝั่งพรรคเอง ทั้งเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ที่ทางประชาธิปัตย์เองมาซื้อโฆษณาในช่วงเกือบโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งว่า คุณอภิสิทธ์ไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือกระแสจากฝั่งชาวเน็ต “ฟ้ารักพ่อ” ทำให้โลกออนไลน์กลายเป็นสนามที่น่าจับตามองแห่งหนึ่ง นอกจากนี้กระแสในเรื่องของการดีเบตในเวทีต่าง ๆ ตั้งแต่ไทยรัฐ ไปจนถึง The Standard ยังทำให้เกิดบทสนทนาต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย จนถึงแทบจะวินาทีสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง กระแส […]
ทุกวันนี้เวลาเราจะเล่น Facebook แบบดู Timeline หาเพื่อน ดูรูปต่าง ๆ เราก็กดเข้า Facebook ในขณะที่ถ้าเราต้องการจะคุยกับเพื่อนเราก็เปิด Messenger ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่เราไม่ได้เอะใจอะไร แต่จำได้หรือเปล่าถ้ายันทันกันมีวันนึงที่เราโวยวายที่ Facebook แยกระบบแชทออกจากแอพ Facebook มาเป็น Messenger ยังจำวันนั้นได้หรือเปล่า ? จำได้หรือเปล่าว่าเราเคยแชทในแอพ Facebook ถ้าจำได้ให้ลองย้อนกลับไปคิดว่าตอนนั้นเราคิดอะไรบ้าง และมองอนาคตของ Facebook ไว้ว่าอย่างไร
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์ความสูญเสียขึ้นเมื่อมีการก่อการร้ายคือเหตุกราดยิงในมัสยิดเมือง Christchurch ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บแจะเสียชีวิตจำนวนมาก ข่าวนี้ถูกส่งต่อสู่ชาวโลกอย่างรวดเร็วในยุคที่ Social Media ทำให้เราสามารถรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกฝั่งหนึ่งของโลกได้ในเวลาระดับวินาที ซึ่งสิ่งนี้ก็ได้นำมาซึ่งปัญหาที่ค่อนข้าง Sensitive ในแง่ของภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นและภาพ, วิดีโอ ที่เป็นที่สะเทือนใจ ทั้งกับคนทั่วไปเองและญาติของผู้ที่สูญเสีย
ทุกวันนี้ชีวิตออนไลน์การเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณคนแทบจะต้องมีไปแล้วนอกเหนือจากการพบปะพูดคุยกันแบบเห็นหน้าในชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้ Social Network ทำให้เราสามารถสร้างสังคมที่มีการพบปะ พูดคุย ผ่านการไลค์ คอมเม้น และพิมพ์แชทคุยกัน คำถามก็คือ มี Pattern อะไรบางอย่างที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมการนอนที่มีผลต่อ Social Network หรือเปล่า ?
อย่างที่เรารู้กันมาตลอดว่า ณ เวลานี้ Facebook เริ่มไม่นิ่งเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว(ย้อนไปประมาณ 2 – 3 ปี) ทั้งการแสดงผลที่ให้คนเห็นเนื้อหาจากเพจน้อยลง ค่าโฆษณาที่แพงขึ้น และยังไม่รวมอีกหลายๆเรื่องที่เรามักจะเจอกันบ่อยๆเช่น Bug การแสดงผล/การเข้าถึง, การแสดงผลของรูปภาพและวีดีโอที่เปลี่ยนบ่อย
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า