เฟซบุ๊กได้เพิ่มวิธีการเข้าถึงอีโมจิภายในแชท Messenger ให้สะดวกขึ้น โดยการเพิ่มช่องเสิร์ชอีโมจิ พร้อมกับเปลี่ยนธีมพื้นหลังแชทเป็นธีม Space Jam
Social
Youtube
ยูทูบได้ประกาศฟีเจอร์ใหม่อย่าง ‘Super Thanks’ ที่เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ชมในการสนับสนุนผลงานของเหล่าครีเอเตอร์ โดยฟีเจอร์นี้ได้ขยายมาจากฟีเจอร์การบริจาคผ่านสตรีมอย่าง Super Chat
Tips
การทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย หรือที่เราคุ้นหูกับคำว่า ‘Social Marketing’ มีปัจจัยมากมายที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้เกิดการจัดการกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและนำเราไปถึงเส้นชัยแห่งความสำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่าบนเส้นทางย่อมต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ‘คู่แข่ง’ อยู่ในทุกเกม แต่ใช่ว่าคู่แข่งจะเท่ากับศัตรูเสมอไป เพราะบางครั้งบทเรียนสำคัญก็สามารถเรียนรู้ได้จากคู่แข่งเช่นเดียวกัน อยู่ที่ว่าเราจะบริหารจัดการกับสิ่งที่มีอยู่อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่านั้นเอง วันนี้ RAiNMaker เลยลิสต์ 10 แนวคิด ที่จะช่วยให้คุณใช้สิ่งที่มีทั้งจากของตัวเองและคู่แข่ง เพื่อเสริมกลยุทธ์ในการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียได้อย่างมีศักยภาพมากขึ้นมาฝากกันค่ะ
เมื่อวานนี้ (วันที่ 21 ก.ค.) อินสตาแกรมได้ปล่อยฟีเจอร์ ‘Translation’ หรือฟีเจอร์แปลภาษาใหม่บนสตอรี เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงคอนเทนต์จากภาษาทั่วโลกได้มากขึ้น
ขณะนี้ผู้ใช้ทวิตเตอร์บางกลุ่มบน iOS สามารถทดลองใช้ฟีเจอร์ ‘Upvote และ Downvote’ โดยที่ Upvote จะขึ้นเป็นการกด Like และ Downvote ที่เปรียบเสมือน Dislike จะไม่แสดงสาธารณะ (ตัวอย่างทวีต: https://bit.ly/3kGyI2L) ซึ่งฟีจอร์นี้ได้เปิดให้ทดสอบเพื่อให้ทวิตเตอร์ได้เข้าใจผู้ใช้มากขึ้นว่าบทสนทนาในลูปการตอบกลับมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อที่ทวิตเตอร์จะได้เลือกแสดงบทสนทนาที่เกี่ยวข้องมากขึ้นนั่นเอง
หลังจากที่ทวิตเตอร์เคยประกาศไว้ว่าจะอัปเดต TweetDeck เมื่อต้นปี ที่ผ่านมาก็ได้มีการใบ้ถึงการจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงฟีเจอร์เพิ่มเติม อย่างระบบการสมัครสมาชิก หรือ subscription ซึ่งเมื่อวานนี้ (20 ก.ค.) ก็ได้มีการปล่อย live test ของ TweetDeck ออกมาให้ชมเป็นตัวอย่าง ที่รวมถึง Tweet Composer, ฟีเจอร์ค้นหา, ประเภทคอลัมน์ และวิธีการจัดกลุ่มคอลัมน์ให้เป็น Decks เพื่อขยายการใช้งาน
เฟซบุ๊กได้ประกาศเมื่อวาน (วันที่ 20 ก.ค.) ว่าได้ร่วมมือกับ Coursera ในการเปิดคอร์สเรียนเพื่ออาชีพถึง 2 คอร์สด้วยกัน โดยบทเรียนเน้นไปที่เรื่อง การวิเคราะห์การตลาด (Marketing Analytics) และ การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development)
Tips
แน่นอนว่ายุคนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์อย่างโซเชียลมีเดียที่เป็นคลังข้อมูลข่าวสารมหาศาลจนเลือกอ่านกันไม่ไหว ไหนจะมีข่าวจริงข่าวปลอมที่ต้องนั่งกรองกันอีก ผู้อ่านก็คงใช้ความคิดวิเคราะห์กันมากขึ้นในการรับสาร เพราะสมัยนี้อ่านปุ๊บแชร์ปั๊บไม่ได้ ขืนแชร์ Fake news ไปล่ะก็เป็นเรื่อง! วันนี้ RAiNMaker เลยอยากมาแนะนำทุกคนในฐานะคนสร้างคอนเทนต์ ว่าเราเองก็ควรจะมีวิธีในการผลิตคอนเทนต์ออกมาให้น่าเชื่อถือ และทำให้คนอ่านรู้สึกไว้วางใจได้ในการเลือกเสพข้อมูล เราเลยสรุปออกมาเป็น 7 วิธีพื้นฐานที่ควรทำ เพื่อเสริมให้คอนเทนต์น่าเชื่อถือมากขึ้นนั่นเองค่ะ จะมีอะไรบ้างลองไปดูกันเลยดีกว่า
เฟซบุ๊กได้เพิ่มเครื่องมือใหม่ภายในกลุ่ม ซึ่งมีป้ายกำกับ ‘Group Expert’ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการชักชวนให้สมาชิกในกลุ่มได้ออกมาแสดงความคิดเห็นหรือมีส่วนร่วมอยู่บนพื้นฐานความชำนาญในเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้ยังมี ‘Auto-invites’ เพื่อมีส่วนร่วมมกับผู้ติดตามเพจที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย
หลังจากเมื่อเดือนกันยายน ปี 2020 ที่ผ่านมา อินตาแกรมมได้เพิ่มฟีเจอร์ ‘Auto captions’ สำหรับ IGTV เพื่อพัฒนาการเข้าถึงให้กับทุกคน และในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2021 ก็ได้เพิ่มฟีเจอร์นี้เข้ามาในสตอรีเช่นกัน โดยแคปชันที่แปลจะขึ้นเป็นตัวหนังสืออยู่บนหน้าจอในวิดีโอ แม้ไม่ต้องเปิดเสียงฟังก็สามารถอ่านข้อความที่แปลจากในคลิปได้อย่างสะดวกมากขึ้น