Social
Remini เป็นแอปพลิเคชันที่นำภาพเก่าที่ถูกถ่ายด้วยเทคโนโลยีที่ไม่ได้ทันสมัยมาก อาจถูกถ่ายด้วยกล้องฟิล์มเก่า หรือภาพดิจิทัลที่จำนวนพิเซกไม่มาก มาปรับให้ดูชัดมากขึ้นด้วย AI ที่เรียนรู้ pettern ใบหน้าคนจากฐานข้อมูลใบหน้าจำนวนมหาศาล ของ Remini
สมมติว่าเราเขียนบทความขึ้นมา 1 บทความ ในบทความเรื่อง รู้จักกับ Discoverable แนวคิดว่าคนจะหาคอนเทนต์เราเจอได้อย่างไร ในโลกออนไลน์ที่วุ่นวาย เรารู้กันไว้แล้วว่าเราจะต้องคิดเผื่อคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราว่าพอเรากด Publish คอนเทนต์นั้น ๆ ออกไป จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น คนจะเข้ามาเจอได้อย่างไร จากทางไหนบ้าง ด้วยพฤติกรรมอย่างไร พอคิดง่าย ๆ แล้ว เราก็อาจจะแบ่งได้ก่อนเป็น 3 กลุ่ม ก็คือ กดเข้ามาดูที่ช่องทางเราโดยตรง, เจอผ่าน Search Engine และ ไถ Feed อยู่แล้วเจอ
เดี๋ยวนี้คลังไอเดียมีมากมายให้เราเลือกศึกษา ไม่เว้นแม้แต่ในอินสตาแกรมหรือ ไอจี!! ก็เป็นแหล่งแชร์ความรู้ดีๆ จากกลุ่มคนใจดีที่มาแบ่งปันแบบไม่มีกั๊ก อย่างการสอนแต่งรูปผ่านแอปบนมือถือ สำหรับมือถือหรือมือโปรที่ต้องการแต่งภาพตัวเอง แต่งภาพสินค้า หรือวาง text คมๆ ไว้โพสต์ลงโซเชียล ฉบับเร่งด่วน ที่บอกเลยน่า follow ไว้มากๆ เลยค่ะ ทีมงาน RAiNMaker ขอรวบรวมมาฝากตามนี้เลย
ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา เราได้เจอประเด็นหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเกมแคสเตอร์ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงในหมู่เยาชน หรือการนำเสนอประเด็นที่สุดท้ายกลายเป็นการสร้างหรือกระตุ้นความเกลียดชังจนเกิดสถานการวุ่นวายบนโลกแห่งความจริงนอกจอ เวลาที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ความรับผิดชอบก็จะถูกโยนให้เป็นหน้าที่ของผู้รับข่าว หรือ Audience เอง ว่าไม่มีการแยกแยะ หรือมีพฤติกรรมที่ถูกชักจูงโดยปัจจัยอื่นที่เหนือการคิดวิเคราะห์ของตน
Facebook ได้ดำเนินการปล่อยฟีเจอร์ที่เพิ่มความโปร่งใสให้กับผู้ใช้มาอย่างต่อเนื่อง และในครั้งนี้เองก็เช่นกัน ที่ทาง Facebook จะแสดงชื่อบริษัทที่เป็นเจ้าของ Page ให้ผู้ใช้งานได้เห็นอย่างชัดเจนว่าเบื้องหลังแล้วเป็นคอนเทนต์ที่มาจากใคร เพื่อหวังว่าจะช่วยลดการแพร่กระจายของ Fake News ได้ด้วย
เวลาที่เราดูคลิปบน YouTube สิ่งที่เราจะเจอแน่ ๆ ก็คือตอนท้ายคลิปจะมีการบอกว่า อย่าลืมกดติดตาม กดไลค์ กด Subscribe หรือให้กดรับ Notification ด้วย ซึ่งเราอาจจะได้ยินกันจนเป็น Standard ของการทำ YouTube ไปแล้ว และวัตถุประสงค์ของมันค่อนข้างชัดเจนก็คือให้คนกดติดตาม จะได้มีคนดูเยอะ ๆ แต่จริง ๆ แล้วแนวคิดแบบนี้นั้นเรียกว่า Call-to-action และไม่ได้นำมาใช้ได้แค่เพียงคลิปบน YouTube เท่านั้น จริง ๆ แล้ว แนวคิด Call-to-action สามารถนำมาใช้ได้กับทุกการทำคอนเทนต์ในทุกรูปแบบถ้าหากเราเข้าใจวัตถุประสงค์ของมันจริง ๆ
ปกติแล้วเวลาเราจะเขียนบทความปัญหาของหลายคนเลยก็คือไม่รู้ว่าจะเลือกรูปอะไรเป็นหน้าปกบทความดี หรือจะต้องใช้รูปแบบไหน หรือมีอะไรที่ต้องคำนึงถึงบ้าง วันนี้ทีมงานจะมาลองพาค่อย ๆ คิดกันไปว่าปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรคำนึงถึงในการเลือกจะเอารูปมาเป็นรูปประกอบบทความ ซึ่งทุกวันนี้เวลาเราเอาลิ้งค์ไปแชร์หรืออะไรก็ตามภาพเหล่านี้จะปรากฎให้เห็นเป็นอย่างแรก
พอพูดว่าทำคอนเทนต์ด้วยตัวเลขและสถิติ หลายคนอาจจะนึกว่ามันจะต้องเป็นกราฟ ต้องเป็น Data Visulization ต้องเป็นอะไรที่ดูทำยาก แต่จริง ๆ แล้วการทำคอนเทนต์ที่เป็นตัวเลข แทบจะไม่ได้หาข้อมูลหรือเขียนหรือทำ Research ยากไปกว่าการทำคอนเทนต์แบบเนื้อความปกติเลย หลายคนอาจจะสงสัยว่าสรุปแล้วการทำคอนเทนต์ด้วยตัวเลขจริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ คือการทำ Listing Content เป็นข้อ ๆ หรือเปล่า
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า