Case Study
การเลือกตั้งในครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการรายงานผลการเลือกตั้งออนไลน์ (การเลือกตั้งครั้งก่อนเป็นเพียงการนำข้อมูลมาสรุปบนเว็บไซต์)
ทุกวันนี้กระแส Content Marketing กำลังมาแรงมาก และกลายเป็นว่าทุกวันนี้คำพูดว่า Content is King ไม่ใช่แค่คำพูดเท่ ๆ อีกต่อไป เพราะจริง ๆ แล้วการที่เราได้ทำคอนเทนต์นั้นก็เหมือนกับว่าเราเป็นสื่อ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของคน ถ้าอธิบายง่าย ๆ เลยก็คือเราสามารถเลือกที่จะ “พูด” สิ่งที่เราอยากจะให้ลูกค้าได้ยินได้
ทุกวันนี้เราจะเห็นเทรนการนำ Avatar ที่เป็นตัวการ์ตูนมาแทนตัวเองเยอะมากตั้งแต่ Bitmoji ที่ใครที่ใช้ Snapchat ก็น่าจะต้องเคยใช้กัน หรือ Zepeto ที่เคยฮิตกันอยู่พักนึง และที่ดังที่สุดเลยก็คือ Memoji ที่ Apple ถึงกับเพิ่มเข้ามาในระบบปฏิบัติการ iOS ที่ให้เราเปลี่ยน Animoji เดิมที่เป็นหน้าหน้า emoji ให้กลายเป็นหน้าของเราจริง ๆ แถมใน iOS 13 ก็จะปรับปรุงให้สามารถแต่งหน้า ใส่แว่นใส่หูฟังอะไรได้ด้วย
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมาบรรดา Social Media ทุกตัวไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube ต้องผ่านบทสดสอบยามวิกฤติสำคัญ เมื่อ Social Media ที่คนเล่นนับพันล้านคนทั่วโลกกลายเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดสดและเผยแพร่ภาพความรุนแรงในเหตุกราดยิงที่เมือง Christchurch ในตอนนั้น เราเคยนำความรุนแรงของเหตุการณ์มาเล่าใน บทเรียนจากเหตุกราดยิง Christchurch การก่อการร้ายที่ถ่ายทอดสดบนโลกโซเชียล ซึ่งสรุปง่าย ๆ ก็คือ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง Facebook หยุดยั้งการเผยแพร่คลิปซ้ำไปมากกว่า 1.2 ล้านครั้ง (เข้าใจว่าเป็นการแชร์) และคอนเทนต์ที่เกิดจากการ Live ครั้งนั้น (ภาพ วิดีโอ อัพโหลดซ้ำ) มากกว่า 300,000 ครั้ง
หลังจากที่ Facebook หันมาจริงจังกับ Video ทำให้เกิดกระแสตามมาต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้นก็คืออัตราส่วนของวิดีโอ สมัยก่อนเราจะพบว่าการอัพโหลดวิดีโอแนวตั้งนั้นเป็นอะไรที่หยาบคายมาก ไม่ว่าจะเป็นบน Facebook หรือ YouTube เพราะจะทำให้เราเห็นขอบดำที่ด้านข้างของจอ จนมาถึงวันที่หน้าจอของโทรศัพท์มือถือทำให้เราหันมาทำวิดีโอแบบแนวตั้ง เริ่มต้นตั้งแต่ Story ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งวิดีโอแนว Square หรือสี่เหลี่ยมจตุรัสที่พยายามกินพื้นที่บนหน้าจอมือถือเราให้ได้มากที่สุด
ประเด็นเรื่องการหาเสียงบน Social Media เราอาจจะเคยพูดถึงในประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมและความน่ากลัวของการ Targeting ที่เปลี่ยนรูปแบบของการหาเสียงให้ผู้สมัครสามารถเลือกคุยเฉพาะกับคนที่อยากจะเห็น หรือแม้กระทั่งเลือกที่จะพูดบางข้อความกับคนที่สนับสนุนและพูดอีกข้อความหนึ่งกับคนที่ต่อต้านได้ ซึงความน่ากลัวนี้ก็ปรากฏให้เห็นตั้งแต่กรณีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ลามมาจนถึงการเลือกตั้งในไทย และประเด็นด้านการเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ในวันนี้เราจะมาดูจำนวนของเม็ดเงินที่ใช้ในการหาเสียงออนไลน์กันบ้าง
เรารู้กันว่าในการที่ Facebook จะเลือกเอาเนื้อหาจากเพื่อน หรือเพจใด ๆ มาแสดงบนหน้า News Feed ของเรานั้น เป็นการคัดเลือกมาจากพฤติกรรมของเรา และนำเข้าไปสู่อัลกอริทึมที่จะประมวลผลในการสร้างหน้า Feed ของเราขึ้นมาให้เราพอใจ ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนแรกที่ Facebook ได้ถูกสร้างขึ้น และวัตถุประสงค์ของ Facebook ก็คือต้องการให้คนกลับมาดูอีก มาดูเรื่อย ๆ เพราะคนเล่นได้เห็นสิ่งที่ตัวเองอยากจะเห็นและอยากจะรู้ แม้ว่าบางครั้ง พฤติกรรมเช่นนี้จะนำไปสู่ Echo Chamber ที่ดู ๆ แล้วน่าจะมีข้อเสียไม่น้อยไปกว่าข้อดีเลย ถ้าเราไม่รู้จักรู้เท่าทัน
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า