News
เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของปี 2018 กันแล้ว ในปีนี้ก็มีสื่อใหม่ที่เปิดตัวมาแล้วน่าจับตามองอยู่หลายเจ้า โดยเฉพาะรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ที่ค่อนข้างสดใหม่ ใครที่ทำคอนเทนต์อยู่เรียกว่าต้องไม่พลาดในการสังเกตคลื่นลูกใหม่ในวงการด้วยครับ
น่าจะเป็นเรื่องอยากที่จะอธิบายให้ใครหลาย ๆ คนที่ไม่ได้อยู่ในยุคดิจิทัล พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ฟังว่าการเป็นบล็อกเกอร์, นักเขียน หรือ YouTuber นั้นหาเงินได้อย่างไร หรือกลายมาเป็นอาชีพได้อย่างไรด้วยซ้ำ แต่ถ้าคนเจนเดียวกันก็อาจจะพอเดาออกได้ว่า มีรายได้มาจากการโฆษณา เช่น รับรีวิว หรือถ้าใครทำเว็บไซต์ก็อาจจะมีโฆษณาเป็น Banner ไม่ว่าจะรับเองหรือ Google Adsense ส่วนบน YouTube ก็อาจจะมีการเล่นคลิปโฆษณาต่าง ๆ บนวิดีโอของเรา
เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่กฎกหมาย GDPR ถูกนำมาใช้และถูกพูดถึงมากพอสมควร แต่ภาพที่เรามองเกี่ยวกับ GDPR ก็คือสัญลักษณ์กุญแจ กับดาวสีเหลืองบนพื้นสีน้ำเงิน ซึ่งใคร ๆ ก็ดูออกว่าเกี่ยวกับสหภาพยุโรปแน่ ๆ แต่ทำไมการบังคับใช้กฎหมาย GDPR ถึงได้ส่งผลกระทบทั่วโลกขนาดนี้
ปลายปีแบบนี้ Social Media ต่างๆก็ทยอยออกสรุปประจำปีมาให้ดูกันทั้ง YouTube และ Twitter คราวนี้ถึงตา Instagram ที่เขาออกมาสรุปเทรนด์ ความเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้น มีทั้งมุมสนุกๆ และมุมซีเรียส ที่ชาวเน็ตเขาใช้ไอจีในการขับเคลื่อน รณรงค์บางอย่างที่อิมแพคไปทั่วโลก
Twitter คงความเป็นตัวเองนับตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งมา โดยเป้าหมายของ Twitter คือ Social Media ที่สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งควาจริงให้มาอยู่บนอินเตอร์เน็ตตามคอนเซป “What’s happening” ซึ่งนั่นทำให้เรื่องราวหรือประเด็นต่าง ๆ บน Twitter เป็นประเด็นที่มาจากโลกความเป็นจริง ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่า Trend ว่าคนกำลังพูดถึงเรื่องอะไรมาก และรวบรวมไว้ผ่าน Hashtag ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการใช้ Hashtag มากถึง 125 ล้าน Hashtag เพื่อบอกเล่าเรื่องราว
สงสัยไหมว่าทำไมเวลาที่เราเล่น Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Instagram โดยเฉพาะ Story หรือการอัดวิดีโอ เราจะมีพฤติกรรมแนว ๆ “สวัสดีครับ วันนี้เราอยู่กันที่ …” หรือถามเพื่อนที่เรากำลังถ่ายว่า “ตอนนี้เราทำอะไรกันอยู่คะ ?” หรือ “วันนี้มากินข้าวกันที่ … อร่อยมากเลย” คำถามก็คือ ณ ตอนนั้น เรากำลังพูดถึงปัจจุบันหรือพูดถึงอดีตกันแน่ ?
ในขณะที่คณะนิเทศศาสตร์ถูกมองว่าเรียนจบไปจะทำอะไร ? เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ทำสื่อได้ เรามี Social Network ใคร ๆ ก็เป็นสื่อได้ วาทกรรมต่าง ๆ แม้กระทั่งบอกว่าถ้ามีลูกจะไม่ให้เรียนนิเทศศาสตร์ การเรียนการสื่อสารนั้นไม่จำเป็น หรือว่าแนวคิดพื้นฐานของ Journalism จริง ๆ จะหายไปแล้ว แต่ก็โชคดีที่มันคงจะไม่เป็นแบบนั้น ในที่สุดหลังจากที่ได้ทีการเปิดให้โหวตและเสนอชื่อ Candidate ต่าง ๆ นานา TIME Magazine ก็ได้ประกาศชื่อ Person of the Year 2018 แล้ว ซึ่งก็คือ “The Guardians and the War on Truth” ผู้พิทักษ์และสงครามบนความจริง
การจะลุกขึ้นมาทำเพจ ทำคอนเทนต์นั้นเราก็มักจะนำเรื่องใกล้ตัวมาเล่า เรื่องที่เกิดในชีวิตประจำวัน งานอดิเรก สิ่งที่เราสนใจต่างๆ แต่ก็มีนักทำคอนเทนต์อยู่อีกกลุ่มหนึ่งที่นำเอา ‘อาชีพ’ ของตัวเองนี่ละมาทำเป็นคอนเทนต์ ไม่เพียงแต่พวกเขาจะรู้ลึกรู้จริงแล้ว ก็ยังมีสเน่ห์ในการเล่าเรื่องว่าในฐานะคนทำงานอาชีพนั้นๆ กับมุมมองเฉพาะบุคคลก็ทำให้เล่าเรื่องออกมาไม่ซ้ำใคร
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า