บทเรียนจากเหตุกราดยิง Christchurch การก่อการร้ายที่ถ่ายทอดสดบนโลกโซเชียล

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์ความสูญเสียขึ้นเมื่อมีการก่อการร้ายคือเหตุกราดยิงในมัสยิดเมือง Christchurch ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บแจะเสียชีวิตจำนวนมาก ข่าวนี้ถูกส่งต่อสู่ชาวโลกอย่างรวดเร็วในยุคที่ Social Media ทำให้เราสามารถรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกฝั่งหนึ่งของโลกได้ในเวลาระดับวินาที ซึ่งสิ่งนี้ก็ได้นำมาซึ่งปัญหาที่ค่อนข้าง Sensitive ในแง่ของภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นและภาพ, วิดีโอ ที่เป็นที่สะเทือนใจ ทั้งกับคนทั่วไปเองและญาติของผู้ที่สูญเสีย

วันนี้เราอาจจะไม่ได้มาสรุปว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เพราะผู้อ่านสามารถไปดูรายงานและวิเคราะห์ที่ละเอียดกว่านี้ถึงที่มาที่ไปของเหตุสะเทือนขวัญในครั้่งนี้ได้ไม่ยาก แต่วันนี้ผู้เขียนจะพาไปดูกรณีว่า Social Network นั้นช่วยให้ภาพของความรุนแรงดังกล่าวแพร่กระจายอย่างรวดเร็วได้อย่างไร และมีเรื่องอะไรบ้างที่เราต้องเรียนรู้

ภาพความรุงแรงที่แพร่ไปอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน

สำนักข่าว The Washington Post เรียกเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่าเป็น dystopian reality show เพราะทุกอย่างถูกอัพโหลดขึ้นบน Social Media แบบไม่สามารถคาดเดาได้มาก่อนไม่ว่าจะเป็นบน YouTube, Facebook, Reddit และ Twitter

สิ่งที่น่าสะเทือนใจที่สุดของเหตุการณ์ในครั้งนี้ก็คือ Facebook Live ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ภาพความรุนแรงนี้ออกไปทั่วโลก เมื่อกลุ่มผู้ก่อเหตุได้ทำการ Live เหตุการณ์ดังกล่าวออกไป และจากความจริงที่ว่าเมื่อคอนเทนต์อะไรถูกอัพโหลดขึ้นไปบนอินเทอร์เน็ตแล้ว มันจะไม่เคยหายไป แม้ว่า Facebook จะลบบันทึก Live ดังกล่าวออกไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็ได้มีการ Re-upload และเผยแพร่ต่อไปมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะทั้งบนตัว Facebook เอง หรือบน Platform อื่น ๆ อย่าง YouTube และ Reddit เพียงแค่ Search ว่า “New Zealand” ก็ปรากฎคลิปดังกล่าวออกมาให้เห็นแล้ว

ภาพด้านบนจาก Google Trend ก็คงไม่ต้องเดาว่าคนให้ความสนใจกับเหตุการณ์นี้มากแค่ไหน ซึ่งสิ่งนี้ยิ่งช่วยให้ “อัลกอริทึม” ของ Google เลือกนำคอนเทนต์ต่าง ๆ มาแสดงเพื่อให้ตรงกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นบนโลก และหนึ่งในกระทู้ Reddit หรือคลิป YouTube ที่มีคอนเทนต์รุนแรงก็ได้ถูกนำขึ้นมาแสดงด้วย

ทาง YouTube ก็ได้ออกมาทวีตบอกว่า “Our hearts are broken over today’s terrible tragedy in New Zealand. Please know we are working vigilantly to remove any violent footage.” ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้มีกรณีและประเด็นที่น่าสนใจอย่างมากเกี่ยวกับความรุงแรงนี้ครั้งนี้ ซึ่งทางกลุ่มผู้ก่อเหตุได้ออกแบบมาให้มันแพร่กระจายทั่ว Social Media ทำให้ความรุงแรงนั้นไม่จบลงเพียงแค่กระสุนที่ออกจากกระบอกปืน แต่เสียงที่ก้องดังของโลกโซเชียลกลับทำให้เสียงของกระสุนเหล่านั้น ดังก้องไปมาบนโลกออนไลน์ อ้างอิงจากรายงานของ BBC

  • Facebook Live ดังกล่าว มีการแจ้งลบนานถึง 29 นาที หลังจากมันเริ่มต้น อาจจะฟังดูไม่นาน แต่อย่าลืมว่ามันคือ “โซเชียล”
  • ภายในเวลา 24 ชั่วโมง Facebook หยุดยั้งการเผยแพร่คลิปซ้ำไปมากกว่า 1.2 ล้านครั้ง (เข้าใจว่าเป็นการแชร์) และคอนเทนต์ที่เกิดจากการ Live ครั้งนั้น (ภาพ วิดีโอ อัพโหลดซ้ำ) มากกว่า 300,000 ครั้ง
  • อย่างไรก็ตาม Facebook บอกว่าคลิป Original นั้นมีการดูสดเพียงแค่ 200 ครั้ง และดูบันทึก Live 4,000 ครั้ง
  • แต่นั่นไม่ได้รวมถึงคลิปที่ถูกเผยแพร่ออกไปมากมาย และอย่าลืมว่ายังมีเว็บไซต์ที่เป็น Dark Web อยู่ (แต่ขอร้องว่าอย่าไปหาดูเลยครับ มันไม่มีอะไรน่าดูหรอก)

ทาง The Guardian ได้พูดคุยกับ YouTube บอกว่า คลิปดังกล่าวถูกอัพโหลดขึ้นบน YouTube ในระดับวินาทีต่อวินาที ไม่ได้บอกตัวเลขแต่บอกว่าเป็นจำนวนมหาศาล และรวดเร็วมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน เป็นความท้าทายของ YouTube ที่ต้องคอยจัดการกับคลิปเหล่านี้

ผลกระทบและบทเรียนจากกรณีนี้

แน่นอนว่าอย่างที่เรารู้กัน เหตุการณ์ไม่ได้จบลงที่ปลายกระบอกปืน และถูกส่งต่อผ่านการแชร์นับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งหลายคนอาจจะบอกว่าแชร์ไปเพื่อบอกว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นก็ควรเป็นหน้าที่ของโลกอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เหรอ ? แต่จริง ๆ แล้ว การบอกว่าเกิดอะไรขึ้นกับการสนับสนุนความรุนแรงนั้นเป็นคนละเรื่องกัน โดยเฉพาะถ้าเราไปมองย้อนดูวัตถุประสงค์ของการสร้างคอนเทนต์ดังกล่าวที่เกิดจากผู้ก่อการร้ายเองที่อยากให้เกิดความรุนแรง การเข้าไปมี Engage ร่วมกับคอนเทนต์เหล่านี้ ยิ่งสนับสนุนความรุนแรง และสานต่อเจตนาของผู้ก่อการร้ายที่ต้องการสร้างความเกลียดชัง และฝังความรุนแรงเข้าไปไว้ในโลกโซเชียลที่ไม่มีวันหายไป

ทาง Stuff สำนักข่าวของนิวซีแลนด์ได้ลงบทความหนึ่งที่น่าสนใจมากชื่อว่า Common sense to apply on shooting video – but time for excuses over ซึ่งกล่าวถึงกรณีนี้ในเชิงสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ และผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้ยกเหตุการณ์จริงที่น่าสนใจประกอบกับข่าวที่เกิดขึ้นหลังเหตุกราดยิง เช่นทาง Stuff ไปสัมภาษณ์คุณแม่คนนึง พบว่าเธอโกรธมากที่การ Block วิดีโอดังกล่าวช้าทำให้ลูกชายของเธอได้เห็นความรุนแรงทั้งหมดที่เกิดขึ้น หรือ พนักงานบริษัทถูกไล่ออกเพราะเปิดดูคลิปดังกล่าวในที่ทำงาน และเรื่องราวในแนวเดียวกันที่เกิดขึ้น ที่คนที่ช่วยเผยแพร่ความรุนแรงเหล่านี้ถูกเอาผิดและมีโทษ (สามารถไปไล่ดูทั้งหมดได้ใน Stuff)

สรุปบทเรียนที่เราได้จากกรณีในครั้งนี้

  • การรายงานสิ่งที่เกิดขึ้น กับการช่วยเผยแพร่ความรุนแรงนั้นเป็นคนละอย่างกัน
  • กระสุนที่ออกจากปืนอาจจะดังครั้งเดียว แต่โลกโซเชียลนั้นทำให้มันดังซ้ำไปซ้ำมานับครั้งไม่ถ้วน
  • วัตถุประสงค์ของการก่อการร้ายได้บรรลุแล้วทุกครั้งที่มีการกดแชร์หรืออัพโหลดซ้ำคลิปดังกล่าว
  • เป็นความท้าทายของ Social Network ที่ถูกออกแบบมาให้สะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้น และเลือกนำคอนเทนต์ที่คนอยากชมมาให้ชมผ่านอัลกอริทึม แต่ก็ต้องเลือกที่จะเรียนรู้ถึงความรุนแรง และคอนเทนต์ที่ไม่ควรอยู่บนโซเชียล ไม่เช่นนั้นมันจะกลายเป็น “dystopian reality show” เหมือนที่ Washington Post บอก

ดังนั้นเราในฐานะทั้งคนทำคอนเทนต์และผู้ที่ต้องอยู่ร่วมกับ Social Media ไปทั้งชีวิตต่อจากนี้ ที่จะมีเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมายเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งเรื่องที่ดี และเรื่องที่ไม่ดี เราก็ต้องเลือกที่จะใช้งานมันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในตอนแรก Social Network และอินเทอร์เน็ต ถูกสร้างขึ้นมาโดยหวังให้เกิดสิ่งดี ๆ ขึ้น อาจจะไม่ใช่เรื่องผิดของมันที่บางครั้งมันอาจจะเอื้ออำนวยให้ผู้ที่ไม่หวังดี สร้างความเกลียดชัง แต่ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องช่วยกันประคับประคองให้มันกลายเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ และสร้างคุณค่าให้กับมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่ทำลายมัน

 

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save