กรณีศึกษา Social Media จาก Christchurch สู่โคราช ช่วยป้องกันคลิปความรุนแรงได้อย่างไร

สิ่งหนึ่งที่สำคัญเมื่อเกิดเหตุกราดยิงในที่สาธรณะ (Public Mass Shooting) นอกจากการเข้าควบคุมสถานการของเจ้าหน้าที่ ณ จุดเกิดเหตุแล้ว สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลอย่างมากก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นบน Social Media เมื่อปี 2019 มีกรณีศึกษาที่สำคัญจากเหตุการณ์ที่ Christchurch ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งผู้ก่อเหตุได้ใช้ Facebook Live ในการแพร่ภาพความรุนแรงไปทั่วโลก คลิปดังกล่าวถูกลบใน 29 นาที แต่ 29 นาทีบนอินเทอร์เน็ตนั้นยาวนานกว่าที่คิด มีการเผยแพร่ภาพซ้ำความรุนแรกนั้นไปมากกว่า 1.2 ล้านครั้ง

จากเหตุการณ์ที่โคราช เราขอยกจุดสังเกตที่มีนัยสำคัญต่อการศึกษากรณี

  • ผู้ก่อเหตุมีการโพสต์ภาพลงบน Facebook รวมถึงการอัพเดท Status ของการต่อเหตุ ไม่ถึงชั่วโมง Facebook สามารถลบบัญชีของผู้เกิดเหตุได้ แต่ก็ได้มีการส่งต่อภาพและข้อความออกไปเป็นจำนวนมากอยู่
  • ทันทีที่เกิดเหตุ (ย้ำว่าทันที) คลิปในเหตุการณ์ถูกอัพโหลดขึ้นลงบน Social Media โดยเฉพาะ YouTube ทีมงาน RAiNMaker ได้ลอง Search ดู พบว่า มีการอัพโหลดวิดีโอขึ้นโดยระยะเวลาที่อัพนานไม่ถึง 3 นาที อยู่เยอะมาก ไม่กี่นาทีหลังจากแต่ละเหตุการณ์
  • บางคลิปที่มีความรุนแรง เช่น ผู้บาดเจ็บ หรือเลือด ถูกลบออกในเวลาอันรวดเร็ว
  • ในขณะที่ Facebook ยังมีภาพของความรุนแรงปรากฎและแชร์ต่อกันอยู่
  • ความรุนแรงจบลงเมื่อผู้ก่อเหตุถูกสังหาร และช่วยเหลือเหยื่อออกมาได้ โดยมีผู้สูญเสียจำนวนมาก
  • Facebook ได้ส่งอีเมลหาสำนักข่าวต่าง ๆ เองว่า “ได้ลบบัญชีของผู้ก่อเหตุด้วยตัวเอง” (รายงานจากกองบรรณาธิการสื่อ)

เนื่องจากว่าในครั้งนี้ ผู้ก่อเหตุไม่ได้ Live ภาพในแบบ First Person ทำให้ภาพความรุนแรงที่ออกมาจากผู้ก่อเหตุเองไม่ได้ชัดเจนเท่าในเหตุการณ์ Christchurch

ในขณะที่ทาง Facebook และ YouTube ก็ไม่ได้ออกแถลงอย่างเป็นทางการ ลงบน Facebook Newsroom หรือ YouTube Newsroom เหมือนกับตอนที่ Christchurch (และเชื่อว่าการลบเป็นการลบโดย Manual)

3 เดือนหลังจากเหตุการณ์ที่ Christchurch ทาง Social Media ได้ออกมาประกาศการปรับปรุงอัลกอริทึมที่ใช้ในการตรวจจับความรุนแรง ซึ่งกรณีที่โคราชนี้ ก็น่าจะเป็นเหตุที่รุนแรงที่ต่อเนื่องกันโดยทิ้งระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ทำให้อัลกอริทึมเหล่านี้มีความสำคัญในการช่วยยับยั้งการแพร่ภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้น

สาเหตุของการก่อการร้ายนั้น ก็คือต้องการให้ภาพความรุนแรงแพร่ออกไปได้ไกลและรวดเร็วที่สุด เหนือกว่าสิ่งอื่นใด ทำให้การส่งต่อภาพความรุนแรง ไม่ว่าจะในนามของบุคคลหรือในนามของสื่อกลางอย่าง Facebook, Twitter หรือ YouTube เอง กลายเป็นว่าช่วยให้การก่อเหตุบรรลุวัตถุประสงค์ (บทความชื่อ Protecting Facebook Live from Abuse and Investing in Manipulated Media Research ได้พูดถึงการป้องกันความรุนแรงบน Facebook Live)

ทั้ง Facebook และ YouTube มีทีมที่ “มานั่งดู” จริง ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แค่ใช้การประมวลผลภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และเราก็เชื่อว่าหลาย ๆ คลิป หลาย ๆ ภาพ ก็ถูกลบออกโดยวิธีการ Manual จริง ๆ (รวมถึงการลบบัญชีของผู้ก่อเหตุ)

นอกจากนโยบายป้องกันของ Facebook, YouTube เองแล้ว การทำงานของสื่อยังถูกตั้งคำถามอย่างมากในเหตุการณ์นี้ (แต่นั่นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง) สิ่งที่บทความนี้ต้องการจะสื่อก็คือ Social Media นั้น ช่วยให้การก่อการร้าย หรือการแสดงออกซึ่งความรุนแรงบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น เป็นทั้งหน้าที่ของ Social Media และผู้ใช้งานที่ต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

 

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMaker

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save