อย่างที่เข้าใจกันมาตลอดว่า YouTube สร้างรายได้ให้กับเหล่าครีเอเตอร์ที่เป็น YouTuber ด้วยการคำนวณจากยอดวิวเป็นหลัก แต่การที่ได้ล้านวิวก็ไม่ได้แปลว่าจะทำให้ได้รายได้เยอะ เพราะความจริงแล้ว YouTube เน้นจ่ายให้กับการดูโฆษณามากกว่ายอดวิวธรรมดา ใครที่ทำคอนเทนต์บน YouTube อยู่ แล้วอยากรู้ว่าคุ้มค่าไหม RAiNMaker จะมาอธิบายให้อ่านกัน!
สำหรับยอดวิวแล้วก็เป็นเรื่องจำเป็นทั้งกับการคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์ หรือการสร้างรายได้ แต่หากจะให้คำนวณได้อย่างถูกต้อง ก็ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างยอดวิวที่ได้จากคลิปวิดีโอ (Video Views) และยอดวิวที่ได้จากการดูโฆษณา (Ad Views) ก่อน
- Video Views: จำนวนที่ได้รับจากการรับชมคลิปวิดีโอ
- Ad Views: จำนวนที่ได้รับจากการรับชมโฆษณาในคลิปวิดีโอ
ซึ่งหมายความว่า หาก YouTube จ่ายเงินให้ตามจำนวนการรับชมโฆษณาในคลิปวิดีโอ แต่ถ้าในคลิปวิดีโอมีเพียงแค่ยอดวิวเป็นล้านโดยไม่มีโฆษณาเลย คลิปวิดีโอนั้นก็จะไม่สามารถสร้างรายได้ได้
แต่ถ้าคลิปวิดีโอมียอดวิวล้านครั้ง แต่มียอดรับชมโฆษณาในวิดีโอ 10,000 ครั้ง เราก็จะได้รายได้จากการรับชมโฆษณา 10,000 ครั้งเท่านั้น เพราะ YouTube เน้นสร้างรายได้จากพื้นที่โฆษณา
สิทธิ์การรับรายได้จากโฆษณาบน YouTube
สำหรับเหล่าครีเอเตอร์ที่เป็น YouTuber จะสามารถรับรายได้จาก YouTube ได้ก็ต่อเมื่อเข้าร่วมโปรแกรม YouTube (YPP) และได้รับการยืนยันบัญชีว่าเป็นครีเอเตอร์แล้วเท่านั้น
- ปฏิบัติตาม นโยบายการสร้างรายได้ ของช่อง YouTube
- อาศัยอยู่ในประเทศ หรือภูมิภาคที่มีโปรแกรม YouTube (YPP) ให้บริการ
- ปฏิบัติตาม Community Guidelines ของ YouTube
- เปิดการยืนยันบัญชีแบบ 2-Step Verification บน YouTube
- มีสิทธิเข้าถึง Advanced Features บน YouTube
- ต้องมีบัญชี AdSense ที่เชื่อมโยงกับช่องของตัวเองบน YouTube
โดยทุกคนสามารถมีสิทธิ์เริ่มสร้างรายได้จากโปรแกรม YPP ผ่านทั้ง YouTube Shorts และวิดีโอแบบ Long-form หรือจะทั้ง 2 ประเภทก็ได้ เพียงแค่ทำให้ได้ตามนี้
- มีผู้ติดตามช่องจำนวน 1,000 คน พร้อมยอดวิวที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ 4,000 ชั่วโมงในเวลา 12 เดือน
- มีผู้ติดตามจำนวน 1,000 คน พร้อมยอดวิว YouTube Shorts ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ 10 ล้านครั้ง ในช่วง 90 วัน
ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการสร้างรายได้
- อัตราการรับชมวิดีโอที่ดูโฆษณาน้อยกว่า 30 วินาที จะไม่นับเป็นยอดวิว
- ค่า .CPM (Cost per 1000 Impressions/ Mille) ของ YouTube หรือต้นทุนการแสดงผลต่อ 1,000 ครั้ง จะคิดต่างกันไปตามภูมิภาค เช่น ในนอร์เวย์มีแนวโน้มที่จะได้รับค่า CPM มากกว่าในอเมริกา
- ประเภทคอนเทนต์ หรืออุตสาหกรรมคอนเทนต์ จะมีผลต่อการคำนวณ CPM เช่น การทำคอนเทนต์เกี่ยวกับตลาดหุ้นจะมีมูลค่ามากกว่าสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
- การแข่งขันที่สูงขึ้น จะมีผลต่อกระบวนการเสนอราคาสำหรับโฆษณา YouTube และส่งผลให้ CPM สูงขึ้นตามไปด้วย
สำหรับส่วนแบ่งรายได้ตามหมวดหมู่คอนเทนต์ หรือตรวจสอบข้อตกลงการแบ่งรายได้ในการตั้งค่าบน YouTube Studio สามารถเช็กได้ที่นี่: https://support.google.com/youtube/answer/9962634
โมดูลการสร้างรายได้บน YouTube
- Commerce Produce Module
เมื่อใช้โมดูลนี้ในการสร้างได้รายได้ด้วย ทาง YouTube จะจ่ายเงินของรายได้สุทธิจากการเป็นสมาชิกของช่องเพิ่มด้วย เช่น การใช้ Super Chat, Super Stickers และ Super Thanks
- Watch Page Monetization Module
เมื่อเปิดการรับชมโฆษณาบนหน้าเพจสำหรับการรับชม YouTube ด้วย จะได้รับการจ่ายเงิน 55% ของรายได้สุทธิจากโฆษณาที่แสดงหรือสตรีมบน Public Video หน้า Watch Page นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้เมื่อมีการสตรีมบน YouTube Video Player บนเว็บไซต์ หรือแอปอื่น ๆ ด้วย
- Shorts Monetization Module
หากเลือกใช้การโฆษณาบน YouTube Shorts จะได้รับเงินจาก YouTube 55% ของรายได้สุทธิจากโฆษณาที่แสดงหรือสตรีมบน Public Video หน้า Watch Page
นอกจากนี้ YouTube ยังจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งที่ได้จาก Shorts ไปยังกลุ่มครีเอเตอร์ และส่วนหนึ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์เพลงด้วย
YouTube และการจ่ายเงิน
จำนวนเงิน หรือรายได้ที่ได้จาก YouTube จะแตกต่างไปตามการรับชมโฆษณาเป็นหลัก โดยสามารถคำนวณรายได้เฉลี่ยของแต่ละอุตสาหกรรมคอนเทนต์ หรือภูมิภาคได้ด้วยการใช้เครื่องมือ Google AdSense เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้
โดยแหล่งที่มาส่วนใหญ่เฉลี่ยแล้วเหล่า YouTuber ในอเมริกามีรายได้ประมาณ 0.01 ถึง .03 ดอลลาร์ต่อการดูซึ่งอยู่ที่ประมาณ 10-30 ดอลลาร์ต่อการดู 1,000 ครั้ง โดยประมาณเป็นค่าเงินไทย ดังนี้
Ad Views
- 10K views – ~3K – 10K Baht
- 100K views – ~35K – 100K Baht
- 500K views – ~170K – 510K Baht
- Million views – ~350K – 1M Baht
Video Views
- 10K views – ~1.7K – 2.4K Baht
- 100K views – ~17K – 24K Baht
- 500K views – ~86K – 120K Baht
- Million views – ~170K – 240 Baht
หมายเหตุ: จำนวนรายได้อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามประเภทคอนเทนต์ ภูมิภาค และค่าเงิน
YouTube Shorts
- Views: 18,400
- Revenue: .04
- CPM: .002
Reel in Stoy (60-second)
- Run time: 4:50
- Views: 9,565
- Impressions: 1,561
- Ad Type: Display Ads
- Revenue: ~68.70 Baht
- CPM: ~43.85 Baht
- RPM (Revenue Per Mille): ~3.45 Baht
จากการทดลองทั้งหมดของทาง Hootsuite สรุปได้ว่า YouTube จะให้ความสำคัญกับเหล่า YouTuber ที่สามารถสร้างคลิปวิดีโอที่มีความยาวเกิน 10 นาที แม้ความยาวคลิปวิดีโอเวลา 30 วินาที หรือ 3 นาทีจะท้าทายในแง่ดึงดูดความสนใจของผู้ชมอยู่แล้วก็ตาม แต่ 10 นาทีเป็นอะไรที่ยากกว่า
และหากใครที่มีเป้าหมายในการลงคลิปวิดีโอบน YouTube เพื่อหวังสร้างรายได้เป็นหลัก การเน้นทำ YouTube Shorts อาจจะไม่ตอบโจทย์เท่ากับวิดีโอแบบ Long-form เว้นแต่คลิปสั้นของเราจะสร้างไวรัลได้จริง ๆ
ส่วนผู้ใช้ที่สมัคร YouTube Premium และไม่ต้องรับชมโฆษณาบน YouTube เหล่า YouTuber ก็ไม่ต้องกังวลไป! เพราะสิ่งนี้จะไม่กระทบต่อรายได้ของทุกคน โดยครีเอเตอร์ยังได้รับรายได้ที่คำนวณตามความถี่ที่สมาชิก YouTube Premium รับชมวิดีโออยู่
แต่! การสร้างรายได้ไม่จำเป็นต้องโฟกัสการสร้าวคลิปวิดีโอที่สั้น หรือยาวเพียงอย่างเดียว และมีวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับทุกคนด้วยนะ
วิธีสร้างรายได้บน YouTube
- แปะลิงก์ Affiliate
เมื่อคอนเทนต์ของเราผนวกเขากับการขายของ หรือดึงดูดความสนใจผู้ชมในการเพิ่มความอยากรู้อยากเห็น หรืออยากซื้อสินค้าตามก็สามารถแปะลิงก์ Affiliate ของสินค้า หรือแบรนด์นั้น ๆ ได้ด้วย เพราะเราจะได้ค่าคอมมิชชันเพิ่มนอกจากการโฆษณาในคลิปวิดีโอนั่นเอง
ซึ่งใครที่มีสินค้า หรือบริการที่ชอบอยู่แล้วก็สามารถติดต่อหาแบรนด์ หรือช่องทางสร้างรายได้เพื่อแปะลิงก์ Affiliate เพิ่มได้เลย
- คอลแลปคอนเทนต์กับ Sponsor
เรียกได้ว่าเป็นวิธี win-win ที่สุด ทั้งสำหรับฝั่งแบรนด์ และครีเอเตอร์เลยก็ว่าได้ เพราะครีเอเตอร์ที่สร้างคอนเทนต์เพื่อโปรโมตแบรนด์ แบรนด์ก็จะได้การรับรู้ การกระตุ้นยอดขายเพิ่มจากคอมมูนิตี้ของครีเอเตอร์ ในขณะเดียวกันครีเอเตอร์ก็จะได้รายได้เพิ่มจากการดีลครีเอทีฟคอนเทนต์กับแบรนด์ หรือยอดขายที่ทำให้แบรนด์ได้เช่นกัน
แม้กระทั่งรีวิวสินค้า แกะกล่องสุ่ม หรือคอนเทนต์ที่ทำให้รู้จักกับแบรนด์แบบอินไซต์มากขึ้นก็ทำได้ หรือจะแปะลิงก์ Affiliate เพื่อให้ได้รับค่าคอมมิชชันเพิ่มก็ได้ด้วย ซึ่งนอกจากจะสร้างยอดขาย ก็ยังสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อแบรนด์ มีคอนเน็กชันเพิ่มเกิด “BrandConnect” ได้
- สร้าง Channel Memberships
นับว่าเป็นสิทธิพิเศษแบบเอ็กซ์คลูซีฟในการสร้างคอมมูนิตี้ของช่อง YouTube มาก ๆ เพราะการมีสมัครเมมเบอร์ชิปของช่อง จะช่วยให้ผู้ชมของเรารู้สึกพิเศษ และจ่ายเงินเพื่อที่จะให้ครีเอเตอร์มองเห็นทั้งคอมเมนต์ หรือได้ส่วนลด และคอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟที่ไม่เผยแพร่ที่ไหนมาก่อนมากขึ้น
โดยการชำระเงินสำหรับการเป็นเมมเบอร์ชิปของช่องนั้น ๆ จะต้องดำเนินการผ่าน YouTube และจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ให้กับแพลตฟอร์ม
- ขายสินค้า Merchandise
การมีคอมมูนิตี้ และมีสินค้า Merchandise เป็นของตัวเองนับเป็นอีกวิธีที่ใช้กันมานานแล้วไม่ว่าวงการไหน โดยเฉพาะใครที่สามารถสร้างแบรนด์ดิงให้กับตัวเองจนสามารถมี Merchandise ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืด หมวก หรือฮูด ก็ทำได้ แต่ต้องขายผ่านโมดูล Shopping บน YouTube และจ่ายเปอร์เซ็นต์ของกำไรให้กับ YouTube ด้วย
- หารายได้จาก Super Chat, Super Stickers, Super Thanks
ใครเป็นสายสตรีมเมอร์ หรือเน้นไลฟ์พูดคุยกับผู้ชมอยู่แล้ว การมีฟีเจอร์ Super Chat, Super Stickers, และ Super Thanks ด้วย จะช่วยให้ได้รับการซัพพอร์ตของผู้ชมเพิ่มเติมได้ เพราะพวกเขาจะจ่ายเงินระหว่าง ~30-10,000 บาทเพื่อสนับสนุนครีเอเตอร์ที่ตัวเองชอบ
ซึ่งแทนที่จะคอมเมนต์ด้วยข้อความเฉย ๆ แต่เป็นสติ๊กเกอร์ที่พินบนแชตแบบเห็นได้ชัดเจนแทน หรือ Super Thanks ที่ซื้อ และบริจาคได้ ผู้ชมก็จะสามารถโพสต์ความคิดเห็นแบบสีสันสดใส เน้นเห็นชัดแบบเคลื่อนไหวได้ด้วย
- Re-use คอนเทนต์มาลงใหม่
การรีโพสต์คอนเทนต์บน YouTube ได้ นับเป็นอีกทางอ้อมในการสร้างรายได้จากช่อง YouTube เช่น รีโพสต์คอนเทนต์เดิมบน YouTube Shorts หรือลงแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Instagram Reels และ TikTok แต่ต้องดูให้แน่ใจก่อนว่าคอนเทนต์นั้นสามารถเบลนอินกับแพลตฟอร์มอื่นได้ โดยไม่ซ้ำจนเกินไป
ซึ่งนี่เป็นเพียงการอ้างอิงจากการคำนวณรายได้ในอเมริกาเท่านั้น เพราะรายได้ที่ได้รับจาก YouTube จะต่างไปจากแต่ละภูมิภาค
แต่ถึงจะมีการคำนวณที่ต่างกันอย่างไร RAiNMaker ก็เชื่อว่าการสร้างรายได้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทคอนเทนต์ ความสม่ำเสมอ และการโฆษณาภายในคลิปบน YouTube แต่แน่นอนว่าทุกคนก็ต้องทดลองเพื่อหาวิธีสร้างรายได้ที่ดีที่สุดในแบบของตัวเองนะ
ที่มา: https://blog.hootsuite.com/how-much-does-youtube-pay-per-view/