โจทย์ทางศีลธรรม COVID-19 เป็นโอกาสของคนทำคอนเทนต์ได้แค่ไหน ? ควรช่วยสังคมหรือช่วยตัวเอง

โจทย์ทางศีลธรรม หรือ Ethical dilemma นั้นยากเสมอ และเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติ สำหรับ Ethical dilemma ในครั้งนี้เกิดขึ้นกับคนทำคอนเทนต์ หรือ Publisher แน่นอนว่าเกิดเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ โรคระบาด COVID-19 ทำให้เราต้องยกเลิกการเข้าสังคมและติดตามข่าวสารอยู่กับบ้าน ในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ ก็ได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า … แต่จริง ๆ แล้ว คนทำคอนเทนต์นั้นได้รับผลกระทบหรือเปล่า ?

ในบทความเรื่อง Publishers face difficult tradeoff in making coronavirus coverage free ได้พูดถึงกรณี Ethical dilemma ที่สำคัญของ Publisher โดยเฉพาะที่ใช้โมเดลการหารายได้แบบ Paywall หรือ Subscription ว่าในทางปกติแล้ว การที่ผู้คนอาศัยอยู่ที่บ้าน หรือทำงานจากบ้านนั้นทำให้ Traffic การใช้งานเว็บไซต์ต่าง ๆ สูงกว่าปกติ รวมถึงการติดตามข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้ว Traffic ที่เยอะขึ้น หมายถึงเงินที่มากขึ้นของ Publisher ด้วยเช่นกัน จากที่มาจากทั้งการโฆษณา หรือการจ่ายเงินเพื่ออ่านคอนเทนต์

Dilemma เกิดขึ้นเมื่อสิทธิในการรับรู้ข่าวสารเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในสังคมที่พัฒนา โมเดล Subscription หรือ Premium Content เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพของข่าวสารเนื่องจากช่วยให้ Publisher มีรายได้มากขึ้น และสามารถทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพมากขึ้น ลึกมากขึ้น หรือมีผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ในขณะเดียวกัน ยามเกิดวิกฤติ สิ่งที่เราต้องช่วยกันคือการกระจายข่าวสารหรือความรู้ที่ถูกต้อง ที่มีคุณภาพ ยิ่งเราบอกว่าเป็นสื่อคุณภาพเท่าไหร่ การที่คนสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่มีกระบวนการทางวารสารสนเทศอย่างดี ก็ช่วยให้สังคมมีความรู้

ในบทความ ยกตัวอย่าง Wall Street Journal ที่เปิด Section พิเศษเพื่อทำข่าวเรื่อง COVID-19 โดยเฉพาะ จากเดิมที่เราจะรู้จัก WSJ ในฐานะผู้ที่มี Paywall อันแข็งแกร่งแต่คนก็ยอมจ่ายเพราะการรายงานข่าวที่วิเคราะห์อย่างน่าสนใจ ส่วน The New York Times ก็นำคอนเทนต์ที่เป็น COVID-19 ออกจาก Paywall และรายงาน วิเคราะห์ ข่าวสารดังกล่าวให้ทุกคนเข้าถึงได้

จริง ๆ แล้วก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน Digiday บอกว่า WSJ ใช้โอกาสนี้ในการทำให้คนได้รู้ว่า WSJ ทำคอนเทนต์ดีแค่ไหน และดึง Traffic เข้าเว็บด้วยการเชิญชวนให้ผู้อ่าน แชร์บทความเหล่านี้ออกไปให้ได้มากที่สุด

STAT เว็บไซต์ด้าน Report และข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกด้านสุขภาพและวิทยาศาตร์จาก Boston Globe Media จากเดิมที่มีราคาในการอ่านสูงมาก (ออกแนวกึ่ง ๆ Journal ด้วยซ้ำ) ก็มาทำหน้า Report อัพเดทกรณี COVID-19 ให้ได้นำรางานไปใช้ฟรี ๆ เช่นกัน

แล้วในบริบทของสังคมไทยเกิดอะไรขึ้นบ้าง

กรณีอย่าง WSJ อาจจะไม่ค่อยเกิดขึ้นในไทย เพราะโมเดลการ Subscription หรือจ่ายเงินเพื่ออ่านไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก (เราเคยเขียนบทความเรื่อง หรือว่าเราผิดเองที่ทำให้คนดู มองว่าคอนเทนต์ควรเป็นของฟรี ? ) สำหรับสำนักข่าวในไทยที่ทำข่าวแบบมีคุณภาพตามหลักวารสารสนเทศ ก็ทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่ ในการเผยแพร่ความรู้ (แถมยังต้องต่อสู้กับเว็บข่าวไร้คุณภาพอีก)

เราได้เห็นความร่วมมือในการทำหน้าเว็บ เครื่องมือในการให้ความรู้ ซึ่งทุกคนทำเพื่อเผยแพร่ข่าวสารที่จำเป็นออกไปให้กับสังคมได้เร็วที่สุด ดังนั้นในบริบทของเมืองไทย กรณี dilemma นี้จึงไม่ค่อยเกิดขึ้นเท่าไหร่ และก็นับว่าเป็นเรื่องดีด้วยเช่นกัน ต้องขอบคุณทุก ๆ Publisher ไทยที่ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดีที่สุด เช่นการทำหน้าเว็บพิเศษขึ้นมา หรือหลาย ๆ กลุ่มที่พัฒนา Chatbot

ในขณะเดียวกัน กลุ่มของ Blogger สายอาหาร ก็ออกมาช่วยกันทำรีวิวร้านค้าที่ได้รับผลกระทบให้ฟรี โดยให้ส่งมาให้ทาง Blogger ออกมาประกาศช่วยรีวิวอาหารสำหรับร้านค้าที่ได้รับผลกระทบ และส่งทาง Delivery แทน

ประเด็นก็คือ กลุ่มของ Publisher เองก็รายได้ลดลงเช่นกัน จากธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาหรือ Event ต่าง ๆ ดังนั้นการช่วยเหลือก็ยังคงต้องเป็นไปตามกำลัง เนื่องจากหากธุรกิจ Publishing เกิดล้มขึ้นมาจริง ๆ โอกาสที่จะเกิด Domino Effect กระทบกับธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องพึ่งพา Publisher ก็มีอยู่เหมือนกัน ความยาก และ dilemma ในบริบทของสังคมไทย จึงอาจจะเป็นเรื่องการทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพราะนอกจากการแพทย์ ยา ชุดตรวจ COVID-19 แล้ว สิ่งที่สำคัญมากในยามวิกฤตินี้ก็คือข่าวสาร ความรู้ที่พึ่งพาได้ด้วยเช่นกัน และ Publisher, นักข่าว, นักสื่อสารในไทย ก็กำลังอยู่ในจุดที่เป็นที่พึ่งของสังคม

ย้อนกลับไปที่กรณีของ WSJ ทาง WSJ เองนับว่าเป็นหนึ่งในการปรับตัวที่น่าสนใจ เพราะการทำหน้าที่ที่ดีของตัวเอง ก็ยังทำให้ตัวเองได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน เช่นคนรู้จักมากขึ้น สร้างฐานผู้อ่าน ดังนั้นการมองว่า Publishing จะแย่ไหม เรามองว่าในวิกฤติยังมีโอกาสเสมอ และโอกาสนี้ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีหรือ ขัดแย้งกับ Ethical แต่อย่างใด ตราบใดที่เรายังทำหน้าที่ของเราได้ดี และไม่ได้เอารัดเอาเปรียบใคร

เพราะการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสที่ดี ต้องไม่สร้างวิกฤติใหม่ให้กับคนอื่นเช่นกัน (ก็มีตัวอย่างให้ดูกันในสังคมแล้ว เช่นเรื่องหน้ากาก)

 

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save