วันนี้ Epidemic Sound ได้สรุปถึง the 2024 Future of the Creator Economy Report ที่นำเสนอถึงอินไซต์ และไดนามิกของการเปลี่ยนแปลงในโลกคอนเทนต์ภายใน Creator Economy ปี 2024 ซึ่งจะมีทั้งการคาดการณ์ที่มีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในปีถัดไป ทั้งโอกาส และความท้าทายในอนาคต
โดยรีพอร์ตนี้จัดทำขึ้นมาจากแบบสำรวจของเหล่าครีเอเตอร์กว่า 1,500 คน ที่กำลังสร้างรายได้จากการทำคอนเทนต์ในปัจจุบัน และสามารถสรุปถึงอินไซต์ของแวดวงครีเอเตอร์แบบโกลบอลได้ ดังนี้
Key findings
- 54.9% ในปัจจุบันเป็นครีเอเตอร์แบบ full-time ในปีนี้เพิ่มขึ้น 3% จากในปี 2023 โดยมีการสร้างรายได้หลักมาจากการทำคอนเทนต์
- 84% เริ่มมีการใช้เครื่องมือ และฟีเจอร์จาก AI หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ มาช่วยในกระบวนการผลิตคอนเทนต์
- 77% รู้สึกว่าได้รับค่าตอบแทน หรือรายได้อย่างเหมาะสมจาก Monetization ของแพลตฟอร์ม เช่น YouTube เป็นแหล่งรายได้หลักถึง 28.6%
- 81.5% มีสร้างแบรนด์ดิงเป็นสินค้าของตัวเอง เพื่อให้คนจำจดได้มากขึ้น
- 83.7% เริ่มมีส่วนร่วมกับเพลง หรือดนตรีตามเทรนด์มากถึง 80% เพราะสามารถพากลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ มารู้จักได้
- 28.6% มี YouTube เป็นแหล่งรายได้หลัก รองลงมาคือ TikTok (18.3%) และ Facebook (16.5%)
- 65% กังวลว่าการแบน TikTok อาจจะส่งผลกระทบต่อโอกาสในการสร้างรายได้
- 49% มักจะใช้เวลากว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการผลิตคอนเทนต์ เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ และหาจุดมีส่วนร่วมของผู้ชม
- 38.9% มีรายได้จากการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์มานานกว่า 2-5 ปี
- 74.7% มักจะสร้างคอนเทนต์แบบวิดีโอ รองลงมา 51.1% เป็นคอนเทนต์จากภาพ, 47.7% คือคอนเทนต์จากข้อความ และอีก 42% เป็นคอนเทนต์จากเสียง
ซึ่งจากภาพรวมของอินไซต์ในวงการคอนเทนต์ครีเอเตอร์ตามรีพอร์ต ดูเหมือนว่าครีเอเตอร์จะมีประสบการณ์ในการสร้างรายได้ (Monetization) มากขึ้น พร้อมกับกลยุทธ์ที่จะทำให้ตัวเองอยู่รอดในวงการนี้ได้อย่างยาวนาน
Top Social Platform Monetization
ปี 2024 แพลตฟอร์มที่เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์เลือกในการหารายได้ เริ่มกลับมาที่ YouTube เพราะมีความมั่นคงมากกว่า เมื่อเทียบกับ TikTok กับข่าวที่กำลังจะโดนแบนในอเมริกา โดย YouTube กลับมานำที่ 28.6% ตามมาด้วย TikTok 18.3%, Facebook 16.5%, Instagram 11.8% และ X 6.3%
- 49.5%: Live Streaming
- 48.3%: Ad-revenue share programs
- 44% (-14% from 2023): Brand Sponsorship
- 42.6%: Paid subscriptions
- 39.3%: Affiliate Marketing
หากจัดอันดับแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับเหล่าครีเอเตอร์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจากทั้ง live streaming, ad-revenue, share programs หรือ paid subscriptions ก็ตาม
เมื่อเทียบสถิติระหว่างปี 2023 และ 2024 แล้ว การมีสปอนเซอร์ผ่านโฆษณาในคอนเทนต์นั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัดถึง 14% เพราะครีเอเตอร์ในยุคนี้ต้องการการมีอิสระในการทำคอนเทนต์ หรือนำเสนอไอเดียต่าง ๆ ที่มีความเป็นตัวตนมากขึ้นกว่าเดิม
แต่เหล่าครีเอเตอร์กว่า 58.3% 61.5% ที่รายงานในปี 2023 ก็มองว่าในปีนี้มีความท้าทายมากมายในการสร้างรายได้ เพราะมีอุปสรรค และความซับซ้อนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 73.1% เลือกที่จะมองสถานการณ์ท้าทายนี้ในเชิงบวก และคาดการณ์ว่าจะดีขึ้นในปีหน้า
Monetization Challenges
- 53.6%: การจำกัดยอด Reach และการเข้าถึงผู้ชมในคอนเทนต์
- 44.8%: มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ
- 39.9%: หาแบรนด์มาเป็นพาร์ตเนอร์ยากต่อการทำ sponsorship content
- 37.6%: อัลกอริทึมของแพลตฟอร์มมีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งจากความท้าทายทั้งหมด เป็นปัจจัยที่ทำให้ครีเอเตอร์หันไปสร้างแบรนด์ดิงจากตัวเองกันมากขึ้น และ 77% ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ดิงก็พบว่าได้รับค่าตอบแทนอย่างยุติธรรมในเรตราคาที่ประเมินเองได้ เพราะมาจากโปรแกรมสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มที่ทำอย่างสม่ำเสมอ
แต่อย่างไรก็ตามครีเอเตอร์กว่า 62.3% ก็ยังคงประสบปัญหาในการทำคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ หรือรายได้ที่ต้องการอยู่ จึงต้องปรับแนวทางคอนเทนต์จนกว่าจะเจอทางที่ใช่
ซึ่งครีเอเตอร์ 81.5% ได้สร้างแบรนด์ส่วนตัวของตัวเอง และต่อยอดหลายวิธีจนโตได้ และอีก 38.3% ก็มองว่าการสร้างแบรนด์ดิงเป็นของตัวเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญในยุคนี้ ทำให้กว่า 80.9% เริ่มที่จะลงทุนในการวิเคราะห์ Digital Marketing หรือเพิ่มทักษะด้านธุรกิจ เพื่อรองรับความเสี่ยง และการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม
Creator & Brand Collaborations
หากพูดถึงโอกาส และความท้าทายของครีเอเตอร์ในการคอลแลบกับแบรนด์ ครีเอเตอร์เองก็มีสิ่งที่ต้องการในการคอลแลบเช่นกัน
โอกาสที่ครีเอเตอร์ต้องการในการคอลแลบกับแบรนด์
- 51.4%: Brand value หรือสิ่งที่แบรนด์ให้คุณค่า สอดคล้องกับความเชื่อส่วนบุคคลของครีเอเตอร์
- 49.1%: มีอิสระในการครีเอทีฟ และควบคุมคอนเทนต์ที่จะผลิตได้
- 46.9%: แบรนด์ที่ร่วมงานด้วยจะต้องมีคุณภาพในเรื่องของโปรดักต์ หรือบริการ
- 42.3%: ค่าตอบแทน หรือผลประโยชน์ที่ได้รับร่วมกันต้องยุติธรรม
- 39.3%: การร่วมงานที่ส่งเสริมในการหากลุ่มเป้าหมาย หรือคอมมูนิตี้ใหม่ ๆ เพิ่ม
ความท้าทายที่ครีเอเตอร์ต้องเจอในการคอลแลบกับแบรนด์
- 47.8%: การขาดการสื่อสาร และความคาดหวังที่ชัดเจน
- 37.9%: การควบคุมที่มากเกินไป และไม่เปิดโอกาสให้สร้างสรรค์อย่างอิสระ
- 37.3%: การไม่เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย หรือสไตล์คอนเทนต์ของครีเอเตอร์
- 37.1%: การไม่ให้ค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรมสำหรับเวลา และความพยายามในการผลิตคอนเทนต์
- 33%: การขาดความโปร่งใส และการเจรจาที่เป็นธรรม
Music’s influence
ในยุคนี้นอกจากคอนเทนต์ที่ต้องใช้ความครีเอทีฟแล้ว การมีเพลง หรือดนตรีก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มยอดเอนเกจเมนต์ รายได้ และความเกี่ยวข้องต่าง ๆ ในคอนเทนต์ให้ดูสมูธมากขึ้น หรือใช้ในการสร้างมู้ด และโทนในคอนเทนต์ได้
แต่ครีเอเตอร์กว่า 50.7% ก็ประสบปัญหาเรื่องคอนเทนต์ถูกลบ ถูกปิดเสียง หรือระงับการเผยแพร่เพราะผิดเงื่อนไข และลิขสิทธิ์ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของลิขสิทธิ์เพลงด้วย
AI tools in content creation
ครีเอเตอร์กว่า 84% มีการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ AI ในการผลิตคอนเทนต์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า AI มีอิทธิพลมากแค่ไหนในอุตสาหกรรมตอนนี้ แต่ก็มีบางเครื่องมือที่การใช้งานลดลงในปีนี้ด้วย
- 46.5%: ซอฟต์แวร์ในการสร้างภาพ หรือวิดีโอ
- 32.8%: เครื่องมือเจนคำพูดให้กลายเป็นข้อความ
- 32.2%: แชตบอท หรือผู้ช่วยแบบ Virtual
- 32%: ผู้ช่วยในการแนะนำเกี่ยวกับการปรับแต่ง
โดยครีเอเตอร์ที่ใช้งานฟีเจอร์ และเครื่องมือ AI ก็เพื่อประหยัดเวลา 53.7%, เพิ่มปริมาณคอนเทนต์ 50.1% และลดต้นทุน 42.5% ซึ่งแม้จะมีข้อดีในการใช้งาน AI มากมาย แต่ครีเอเตอร์ 48.9% ก็ยังขาดความคิดที่จะริเริ่มในการใช้ และกังวลเรื่องการลอกเลียนแบบคอนเทนต์ 33% เลยทีเดียว
Creators’ Perspectives
นอกจากสถิติในเรื่องการทำคอนเทนต์ที่สำคัญแล้ว มุมมองต่อเรื่องของ TikTok ที่มีโอกาสโดนแบนได้ทุกเมื่อก็น่ากังวลสำหรับวงการนี้เช่นกัน เพราะกระทบต่อการสร้างรายได้โดยตรง อย่างที่ครีเอเตอร์กว่า 62.7% มองว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่มีบทบาทในโลกโซเชียลมีเดียตอนนี้
ซึ่งเหล่าครีเอเตอร์กว่า 66.7% ที่ทำคอนเทนต์บน TikTok ก็เตรียมหาช่องทางการสร้างรายได้ใหม่บนแพลตฟอร์มอื่น ในขณะที่อีก 40.0% วางแผนที่จะนำคอนเทนต์ที่ทำอยู่บน TikTok ไปปรับใช้บนแพลตฟอร์มอื่นเช่นกัน เพราะ 37.9% เชื่อว่าแพลตฟอร์มอื่นสามารถให้โอกาสแบบเดียวกับที่ TikTok มี
โดยสรุปจาก Creator Economy Report 2024 แล้วว่า เหล่าครีเอเตอร์ในวงการตอนนี้จะมีการเติบโต เรียนรู้ และเพิ่มทักษะเพื่อปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพึ่งพาตัวเองในการสร้างแบรนด์ดิง หรือการเรียนรู้แพลตฟอร์มใหม่ ๆ หาก TikTok ถูกแบนจริง
เพราะทุกคนเริ่มหันมาเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์เต็มตัวกันมากขึ้น เพราะมีอิสระ ได้ใช้ไอเดีย และเป็นตัวของตัวเองได้มากกว่างานประจำที่ถูกตีกรอบของสังคม ทำให้การแข่งขันของวงการนี้ไม่ได้แข่งกันว่าใครปังกว่าใคร แต่คนที่อยู่รอดอย่างเข้าใจได้นานกว่าจะเป็นผู้ชนะ
ที่มา: https://www.epidemicsound.com/blog/the-future-of-the-creator-economy-report-2024/