ปัจจุบันแพลตฟอร์มสตอรีนับเป็นอีกแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากที่คนใช้กันเป็นประจำแทบทุกวัน จนแทบกลายเป็นส่วนของชีวิตประจำวัน อีกทั้งสตอรียังสามารถช่วงสร้าง Awareness ให้กับแบรนด์ได้อีกด้วย ช่วยเพิ่มยอดขาย และผู้ติดตามได้มากขึ้นอีกด้วย!
แต่ด้วยความที่สตอรีเป็นฟอร์แมตที่สามารถเลื่อนผ่านได้อย่างง่ายได้ และมีความยาวไม่มาก จึงจำเป็นที่จะต้องดึงความสนใจคนดูให้ได้ตั้งแต่แรกๆ โดยเฉพาะสตอรีที่เป็นโฆษณา เพราะหากไม่มีลูกเล่นที่น่าสนใจพอที่จะให้คนหยุดดูได้ ก็จะมีโอกาสที่คนจะเลื่อนผ่านได้ง่ายขึ้นไปอีกนั่นเอง
วันนี้ RAiNMaker เลยจะมาบอก Do and Don’t สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำสำหรับการทำโฆษณาบนสตอรี ทั้งบนอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กมาฝากกัน เพื่อนำไปปรับใช้ให้กลุ่มเป้าหมายทั้งเก่าและใหม่ได้มากขึ้น และเพื่อไม่ให้คนเลื่อนผ่านสตอรีของเรา
Do
สิ่งที่ควรทำ เพื่อให้การทำ Stories Ads ออกมาได้มีประสิทธิภาพที่สุด เป็นสิ่งที่เบื้องต้นควรนำไปปรับใช้ในการทำสตอรี ตั้งแต่ขนาดภาพที่ใช้ ไปจนถึงองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
เช็กขนาดให้ถูกต้อง
อันดับแรกต้องเช็กขนาดไฟล์ทั้งภาพ และวิดีโอที่จะลงให้ถูกต้อง เพื่อผลที่แสดงออกมาจะได้ดูพอดีกับแพลตฟอร์ม และไม่ดูแปลกเหมือนพยายามยัดลงในแพลตฟอร์ม โดยภาพและวิดีโอพื้นฐานสำหรับสตอรี คือ
- แนวตั้ง
- อัตราส่วน 9:16
- ขนาดอย่างต่ำ 500 x 889 px
- ไฟล์ภาพ JPG และ PNG
- ไฟล์วิดีโอ MP4 และ MOV
- ขนาดไฟล์ภาพไม่เกิน 30MB
- ขนาดไฟล์วิดีโอไม่เกิน 4GB
ดึงให้คนสนใจตั้งแต่เริ่ม
เนื่องจากหนึ่งสตอรีมีความยาวแค่ 15 วินาทีเท่านั้น และโอกาสในการปัดผ่านสตอรีนั้นค่อนข้างสูง จึงจำเป็นโดยการสร้างความแตกต่าง หรือความโดดเด่นตั้งแต่ต้นสตอรี อาจจะอิงกับเทรนด์ในช่วงนั้น ไม่ว่าจะเป็นเล่นกับสีประจำปี หรือสไตล์การจัด Layout สตอรี
มี Call-to-action
แน่นอนว่าการทำคอนเทนต์ เบื้องต้นควรจะมี Call-to-action อยู่แล้ว เพื่อที่จะได้ให้คนมีส่วนร่วม รวมถึงช่วยเพิ่มยอดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยอดการเข้าถึง ยอด Engagement ต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้โดยการใส่ลิงก์ Swipe up เพื่อไปยังเว็บไซต์ สำหรับแอคเคานต์ที่มีผู้ติดตาม 10,000 คนขึ้นไป หรือ Shop Now, Learn More เพื่อลิงก์ไปยังเว็บไซต์ หรือหน้าการซื้อสินค้าโดยตรง
นอกจากนี้การใส่ข้อเสนอ หรือโปรโมชันต่างๆ ยังสามารถช่วยดึให้คนหยุด และเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมตามแอคเคานต์ หรือลิงก์ที่เราใส่ไว้ได้อีกด้วย
ภาพและวิดีโอคุณภาพสูง
หากใช้ภาพ และวิดีโอคุณภาพต่ำกว่าที่แพลตฟอร์มกำหนดก็จะทำให้ผลที่แสดงออกมาไม่ชัด ทำให้ความน่าเชื่อถือลดลงไปอีก
ใช้ฟีเจอร์บนอินตาแกรมให้คุ้ม
อินสตาแกรมมีฟีเจอร์มากมายที่สามารถใช้ได้ เพื่อให้คนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น การติดสติกเกอร์
ใช้เป็น Story Telling ในการเล่าเรื่อง
สามารถเลือกการโพสต์สตอรีแบบ Carousel เพื่อโพสต์หลายสตอรีในครั้งเดียวต่อกัน สำหรับการเล่าเรื่องที่ยาวขึ้น เพื่อจะได้สื่อสารแบรนด์ออกไปเป็นเรื่องราวได้ดีกว่า
เลือกดนตรีประกอบให้เหมาะสม
หากต้องการให้มีดนตรีประกอบ ก็ควรเลือกให้เข้ากับแบรนด์ เข้ากับภาพ หรือวิดีโอ เพื่อคุมธีมให้ทุกอย่างไปในทางเดียวกัน เนื่องจากเสียงดนตรีก็จะกลายเป็นภาพจำให้กับแบรนด์ได้
เน้นภาพไม่เน้นเสียง
บางครั้งคนส่วนมากก็เน้นดูสตอรีแบบไม่ได้เปิดเสียง เนื่องจากจะดูในตอนที่เดินทาง เป็นต้น อีกหนึ่งทางเลือกในการโพสต์สตอรีแบบไม่เน้นเสียงก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็จะเหมาะกับสตอรีที่เป็นภาพนิ่งเท่านั้น
ข้อความสั้น กระชับ เข้าประเด็น
ปัจจุบันทางเฟซบุ๊กไม่ได้กำหนดว่าต้องมีตัวหนังสือ 20% ของภาพแล้วก็จริง แต่ด้วยความที่เป็นสตอรีที่มีเวลาจำกัด การยัดตัวหนังสือลงไปเยอะๆ ก็จะยิ่งทำให้ไม่น่าอ่าน และจับใจความได้ยาก โอกาสที่คนจะเลื่อนผ่านก็ยิ่งเยอะขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นควรเขียนข้อความเฉพาะใจความสำคัญ อ่านง่าย กระชับ
จัดวางองค์ประกอบให้ดี
การจัดวางองค์ประกอบทุกอย่างตั้งแต่การจัดวาง Layout ตัวอักษร การใช้สี การใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า รวมถึงการวางชื่อแบรนด์ หรือโลโก้ให้อยู่ในที่ๆ เห็นได้ชัดก็สำคัญ
เลือกวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
เลือกวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนในส่วนของการโปรโมตว่าต้องการยอด Reach หรือต้องการสร้าง Brand Awareness เพื่อที่จะได้ทำการโฆษณาตอบโจทย์ได้ตามวัตถุประสงค์
คอยติดตามวิเคราะห์ผลหลังโพสต์
สิ่งที่สำคัญอีกสิ่งก็คือการติดตามผล หลังจากที่โพสต์สตอรีไปแล้ว ต้องคอยนำผลมาวิเคราะห์ว่าสตอรีที่ทำการโฆษณาไปมีผลตอบรับเป็นยังไง เพื่อที่จะได้นำมาปรับใช้ และพัฒนาต่อไปในอนาคต
Don’t
สิ่งที่ไม่ควรทำ! หากทำแล้วจะพังมากกว่าปังแน่นอน เพราะฉะนั้นมาดูกันดีกว่าว่าอะไรที่ไม่ควรทำ จะได้ไม่ทำ
- ไฟล์ภาพหรือวิดีโอผิดขนาด
อย่างที่บอกว่าถ้าหากภาพ หรือวิดีโอไม่ตรงตามขนาดที่แพลตฟอร์มกำหนดก็จะเกิดเหตุการณ์ไฟล์เล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไปจนไม่พอดี ทำให้เกิดปัญหาภาพ หรือวิดีโอไม่ชัดตามมา
- ใส่ข้อความเยอะเกินไป
การใส่ตัวหนังสือมากเกินไปจะทำให้คนเลื่อนผ่านได้ง่าย เนื่องจากคนจะชอบดูอะไรที่ย่อยง่ายผ่านสตอรีมากกว่า หากตัวหนังสือมากเกินไปก็จะยากในการจับประเด็น
- ไม่มีอะไรเป็นจุดสนใจ
ถ้าเปิดมาด้วยอะไรเรียบๆ ที่ไม่มีการจัดองค์ประกอบอะไรให้สวยงาม หรือน่าสนใจ ก็จะมีโอกาสสูงมากที่คนจะไม่สนใจ และเลื่อนผ่าน
- ไม่มี Call-to-action
เพราะ Call-to-action คือ สิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้คนดูมีส่วนร่วมกับเรามากขึ้นนั่นเอง ถ้าไม่มีลิงก์เชื่อมไปที่อื่นก็จะทำให้คนไม่สามารถมี Engagement กับเราได้ และอาจไม่ได้เพิ่มยอดขาย
- ภาพและวิดีโอไม่ชัด
ถ้าภาพ หรือวิดีโอไม่ชัดแน่นอนว่าคงทำให้สตอรีไม่น่าดูแน่นอน นอกจากนั้นยังจะทำให้ความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์แบรนด์ดูลดลงอีกด้วย
- วิดีโอมีบทพูดเยอะเกินไป
หากวิดีโอมีบทพูด แต่ในคลิปมีบทพูดมากเกินไป อาจทำให้คนฟังรู้สึกเบื่อและกดเลื่อนได้ง่าย เนื่องจากสตอรีไม่ได้เหมาะที่จะเป็นแพลตฟอร์มที่จะอัดข้อมูลเนื้อหามากขนาดนั้นนั่นเอง ดังนั้นจึงควรย่อยข้อมูลให้เหลือแต่ประเด็นสำคัญในการสื่อสารไปถึงคนดู เพื่อให้ข้อมูลย่อยง่ายยิ่งขึ้น
- จัดองค์ประกอบภาพไม่ดี
ทั้งการจัดวาง Layout การจัดวางตัวหนังสือ การใช้สี หากจัดวางไม่เหมาะสมก็จะทำให้ภาพรวมออกมาดูไม่เป็นไปในทางเดียวกัน จับประเด็นไม่ถูกว่าสารต้องการจะสื่ออะไร
- เสียงประกอบวิดีโอไม่เข้ากับภาพ
การทำวิดีโอเสียงกับภาพต้องไปด้วยกัน หากเมื่อไหร่ที่ภาพกับเสียงไม่เข้ากัน คนดูจะขมวดคิ้วทันที แถมเสียงยังเป็นส่วนหนึ่งที่คนจดจำแบรนด์อีกด้วย ถ้าเลือกผิดเรียกว่าชีวิตเปลี่ยน
- ไม่ติดตามผลหลังโพสต์
ถ้าไม่ติดตามผลหลังโพสต์ แน่นอนว่าเราก็จะไม่รู้ฟีดแบ็กว่างานที่เราโพสต์ออกไปมันมีผลตอบรับดีมากน้อยแค่ไหน ก็จะทำให้การวาวงแผนในการทำงานต่อไปยากขึ้นนั่นเอง
ที่มา : Later