“Thailand Future Talk เวทีดีเบตการเมืองเรื่อง ‘อนาคต’ ในเชิงสร้างสรรค์สำหรับวันพรุ่งนี้ที่เราเลือกได้” นอกจากจะมีการเก็บ Social Listening เสียงของประชาชน และ ChatGPT มาเป็นคำถามแล้ว ยังมีคำถามจากคนในวงการอาชีพครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อทำให้ตอบโจทย์เวทีดีเบตอย่างสร้างสรรค์ จากคำถามประชาชนถามสู่ตัวแทนพรรคการเมือง
จัดขึ้นโดย Future Trends, RAiNMaker, The Reporters, Creative Talk, Ad Addict, การตลาดวันละตอน, Ricco Wealth, Yell Advertising และ AomMoney ที่หวังให้เวทีนี้เป็นแรงผลักดันสู่การออกไปใช้เสียงของประชาชนต่อไป
ซึ่งตัวแทนเหล่าครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ที่ส่งคลิปคำถามเข้ามาในงาน ก็ถูกคัดสรรความหลากหลายสายมาอย่างดี เพราะมีบทบาทในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป เลยทำให้ได้คำตอบจากพรรคการเมืองหลาย ๆ มิติ นั่นก็คือ
- อาตี๋รีวิว (วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน)
- TAXBugnoms (ถนอม เกตุเอม)
- สำนักข่าว ThisAble.me (นลัทพร ไกรฤกษ์)
- capitalread.co (จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์)
- Digital Tips (มัณฑิตา จินดา)
- LDA: Ladies of Digital Age (สรานี สงวนเรือง)
- โอม ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องวง Cocktail
- Tarad.com (ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ)
- Mission To The Moon (รวิศ หาญอุตสาหะ)
และคำตอบถึงนโยบายการจัดการอย่างทั่วถึงในแต่ละอุตสาหกรรมของเหล่าตัวแทนพรรคการเมืองจะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน!
นโยบายการผลักดัน Creator หน้าใหม่ ทำให้แบรนด์ หรือระบบเศรษฐกิจไทยก้าวหน้า
โดย: วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว)
ตอบคำถาม: คุณณัฏฐ์ มงคลนาวิน ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย
– ผลักดัน Soft Power ให้ไประดับ Global
– สร้าง Hub Creator และสามารถแชร์ Resources ร่วมกันได้ เพื่อลดต้นทุนการสร้าง
– ผลักดันให้มีการประกวดในเวทีโลก เพื่อส่งออกศิลปะไทย
– ซัพพอร์ตครีเอเตอร์ให้สร้าง และขายได้ เพื่อให้มีเงินทุนสร้างสรรค์ผลงานต่อไป
ประเทศไทยควรใช้เทคโนโลยียังไง เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษี
โดย: TAXBugnoms
ตอบคำถาม: คุณวินท์ สุธีรชัย ตัวแทนพรรครวมไทยสร้างชาติ
– ใช้เทคโนโลยีเก็บภาษีที่ดิน นำแอปคนละครึ่ง เป๋าตังค์มาใช้ เพิ่มความโปร่งใส
– นำบล็อกเชนมาใช้ ป้องกันเงินไหลออกจากระบบ
– นโยบาย E-Factoring มีสัญญารัฐค้ำประกันเงินกู้ และดอกเบี้ยราคาถูกให้ SME
– บัตรสวัสดิการลุงตู่พลัส ที่เช็กตาม Data Base กับครอบครัวจริง ๆ ไม่ใช่คนเกษียณรอรายได้
แนวทางสนับสนุนคนพิการให้ทำงาน มีค่าแรง และสวัสดิการที่เหมาะสม
โดย: ThisAble.me – นลัทพร ไกรฤกษ์
ตอบคำถาม: คุณปรเมศวร์ กุมารบุญ ตัวแทนพรรคชาติไทยพัฒนา
– จัดให้มีวัฒนธรรมการทำงานแบบ Work From Anywhere 30% เพื่อจำกัดคนเดินถนน และเปิดโอกาสให้คนพิการสามารถทำงานได้ทุกที่ และมีส่วนลดเป็นภาษี
– มี Incentive ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับคนพิการ และทำงานได้จริง
มุมมองต่อวัฒนธรรมการอ่าน เข้ามาช่วยส่งเสริมตัวละครต่าง ๆ เช่น นักเขียน สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือ ไม่ให้ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว
โดย: Capitalread.co – จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์
ตอบคำถาม: คุณปริเยศ อังกูรกิตติ ตัวแทนพรรคไทยสร้างไทย
– นโยบาย “12 เดือน 12 อีเวนต์” ผลักดันงานหนังสือให้มากขึ้น และกระจายไปถึงจังหวัดอื่น ๆ
– ลดวัฒนธรรม “กองดอง” ที่ซื้อหนังสือมากองไว้แต่ไม่อ่าน
– ผลักดันพฤติกรรมการอ่าน สร้างแรงจูงใจทั้งจากหนังสือ และอ่านออนไลน์
– คัดกรองการอ่านในโลกออนไลน์ให้มีความน่าเชื่อถือ
แนวทางผลักดันนโยบายเกี่ยวกับ SME ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งสู้กับต่างประเทศได้ ไม่เหลื่อมล้ำ รู้เท่าทัน AI
โดย: Digital Tips – มัณฑิตา จินดา
ตอบคำถาม: คุณสาโรจน์ ซึ้งไพศาลกุล ตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ
– สร้าง Craftman Mindset ให้ทุกคนมีทัศนคติในการทำงานแบบที่ต้องการเก่งงานส และพัฒนาทักษะเชิงลึกไปเรื่อย ๆ
– มี Hard Innovations ที่จับต้อง และทุกคนเข้าถึงได้ แม้กระทั่งชุมชนไทย
– มีศูนย์การเรียนรู้ให้ทุกคน พัฒนาความสามารถ มีทักษะเชิงลึกในการทำงาน
แนวทางผลักดันความรู้ด้านการใช้เครื่องมือดิจิทัลให้กับคนรุ่นใหม่สร้างโอกาสให้ตัวเองได้
โดย: LDA สรานี สงวนเรือง
ตอบคำถาม: คุณศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย
– ลงทุนสร้างพื้นฐานใหม่ ให้ทุกคนเข้าถึงบล็อกเชน ทั้งภาคการเกษตร การส่งออก เพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพได้
– นโยบาย One Tablet per Child ให้เยาวชนมีอุปกรณ์เข้าถึงได้ เพื่อใช้ในการเรียนรู้
– สร้างแพลตฟอร์มการศึกษา Learn to Earn ที่สามารถสร้างโปรไฟล์ของเด็กแต่ละคนในระบบ และค่อยมีการแนะนำการศึกษาต่อไป ให้ระหว่างทางเยาวชนรู้คุณค่าของตัวเอง
– รวมถึงระบบ “Job Matching” เพิ่มโอกาสในการจ้างงาน เสนองาน และทำงานในสิ่งที่ชอบจากสิ่งที่เรียน มีความยืดหยุ่นทางการศึกษา
แผนการเปิดโอกาสคนที่ทำงานใน Creative Industry เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธศาสตร์ไปด้วยกัน
โดย: โอม Cocktail
ตอบคำถาม: คุณปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ตัวแทนพรรคก้าวไกล
– เปลี่ยนกระทรวงวัฒนธรรมให้เป็นกระทรวงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันตั้งแต่จุดเริ่มต้น
– เพิ่มงบประมาณส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 5,000 ล้าน ทั้งดนตรี ภาพยนตร์ และโฆษณา และศิลปวัฒนธรรมแขนงอื่น ๆ
– เชิญผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยกัน ทั้งสิ่งที่ไทย และทั้งโลกต้องการ โดยไม่มีรัฐบาลมาทำในตัวเป็นผู้ปกครอง
– ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการหาโอกาสเดินก้าวหน้าไปด้วยกัน เพราะควรเริ่มจากคนที่เข้าใจ และให้รัฐเป็นผู้ช่วยสนับสนุน
– สร้างโอกาสให้กับศิลปินเป็นคนส่งออกวัฒนธรรมแบบมีรายได้อุดหนุนจากรัฐบาล โดยที่ไม่มีรัฐบาลมาเคลมผลงานทีหลัง
คนไทยใช้บริการจากต่างประเทศเยอะ ทั้งซื้อโฆษณา ดูหนัง ฟังเพลง จะมีการบริหารกับการขาดดุลทางดิจิทัลที่มโหฬารนี้อย่างไร
โดย: Tarad.com – ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ
ตอบคำถาม: คุณพิสิฐ ลี้อาธรรม ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์
– แก้กฎหมายผู้ซื้อบริการต่างประเทศให้ไม่เอาเปรียบจนเกินไป โดยการเก็บภาษีนำเข้าให้เหมาะสม
– ตั้งกองทุน SME วงเงิน 300,000 ล้าน ให้มีทุนไปต่อยอดสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อทำให้บริการของไทยเป็นที่ต้องการของโลก
– จัดหาเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อเป็นตัวช่วยในการต่อยอดความสามารถและธุรกิจให้ยั่งยืน
– จัดหางานที่เหมาะสมกับประชากรที่เกษียณวัยแล้ว แต่ยังมีศักยภาพในการทำงานอยู่ เพื่อเพิ่มแรงงาน
ในอีก 10 ปีข้างหน้า อะไรคือ S-curve ที่ทำให้ประเทศไทยสำเร็จ และมีที่ยืนในเวทีโลก
โดย: Mission To The Moon – รวิศ หาญอุตสาหะ
ตอบคำถาม: คุณวรวุฒิ อุ่นใจ ตัวแทนพรรคชาติพัฒนากล้า
– ไทยจะใช้เทคโนโลยีนการผลิต ดีไซน์ และผลักดันภาคธุรกิจ E-commerce ให้เป็นการค้าหลักของโลก
– ให้ผู้ประกอบการไทยเป็นแพลตฟอร์มหลัก มีรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ เข้าใจแนวโน้มของโลก เพื่อไม่ให้ปิดกั้นโอกาสในการสร้างธุรกิจของ SME
– นำผลไม้ไทยมาเป็นสุราผลไม้ แข่งกับสก็อต วิสกี้ โซจู ทำให้เป็นสุราชั้นดีของโลก